การสัมมนาในหัวข้อ “หนี้ครัวเรือนไทย แก้อย่างไรให้ยั่งยืน” ในงานมหกรรมการเงินกรุงเทพ ครั้งที่ 23 Money Expo 2023 Bangkok โดยมีผู้ร่วมสัมมนาได้แก่ นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
และ นายสุโชค พิมลกิตติกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายบริหารหนี้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด สรุปเนื้อหาสำคัญได้ดังนี้
8 รูปแบบการเป็นหนี้ของคนไทย
1. คนไทยเป็นหนี้เร็ว อายุ25-29 ประมาณ 4.8 ล้านคน เป็นหนี้แล้ว 58% และใน 58% พบว่า 25% เป็นหนี้เสีย โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และยานพาหนะ
2.คนไทยเป็นหนี้เกินตัว โดย 30% ของคนที่เป็นหนี้ มีหนี้มากกว่า 4 บัญชี และหนี้สูงกว่า 25 เท่าของรายได้
3. เป็นหนี้ด้วยการได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น เป็นหนี้เพราะเห็นโปรโมชัน 0% นาน 3 เดือนโดยไม่ทราบว่าต่อไปดอกเบี้ยจะขยับขึ้น
3.หนี้เพราะความจำเป็น เพราะมีเงินออมไม่พอไว้ใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
เป็นหนี้นาน คนที่อายุเกิน 60 ปี ยังมี
4. หนี้เฉลี่ยต่อคนสูงกว่า 4 แสนบาท
5. เป็นหนี้เสีย คนเป็นหนี้ทั้งหมด 82 ล้านบัญชี
6. เป็นหนี้เสีย 10 ล้านบัญชี และเกิดในช่วงโควิด 4.5 ล้านบัญชี โดยพบว่าอยู่ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยอยู่ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 70% นอนแบงก์ 20% และธนาคารพาณิชย์ 10%
7.เป็นหนี้ไม่จบสิ้น เนื่องจากหารายได้มาชำระหนี้ไม่พอกับจำนวนหนี้ที่มีอยู่
8. หนี้นอกระบบ โดยจากผลสำรวจของสถาบันวิจัย เศรษฐกิจ ป๋วยอึ๊งพากร พบว่า ครัวเรือน 4,600 ครัวเรือน มี 42% มีหนี้นอกระบบ เฉลี่ยครัวเรือนละ 5,400 บาท มาจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่สามารถกู้เงินในระบบได้
มาตรการแก้หนี้ของธปท. ในปัจจุบัน
1. การแก้หนี้เดิม เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว การขยายเวลาการจ่ายขั้นต่ำ ทางด่วนแก้หนี้
2. การเพิ่มหนี้ใหม่อย่างมีคุณภาพ เช่น การปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ ไม่โฆษณากระตุ้นให้มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สถาบันการเงินต้องให้ข้อมูลกับลูกค้าอย่างครบถ้วนเพื่อไม่ให้เป็นหนี้เรื้อรัง สถาบันการเงินต้องปล่อยสินเชื่อตามความเสี่ยงของลูกค้า
ทางรอดของคนเป็นหนี้เสีย
ผู้ที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 120 วัน มีอายุไม่เกิน 70 ปี มียอดหนี้รวมกันไม่เกิน 2 ล้านบาท สามารถเข้าร่วม คลินิกแก้หนี้ BySAM เพื่อจัดการหนี้ค้างชำระจากสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และบัตรเครดิต จากหลายสถาบันการเงินได้ในที่เดียว
แก้หนี้อย่างไรให้ยั่งยืน
ฝั่งลูกหนี้ : ต้องเริ่มจากตัวเอง ด้วยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ รู้จักการมีวินัยทางการเงินโดยเริ่มจากการทำบัญชีรายรับรายจ่าย การกล้าที่จะเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อให้กระบวนการแก้หนี้เป็นไปได้อย่างราบรื่น
ฝั่งเจ้าหนี้/ภาครัฐ : ต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วนเพื่อทำให้ประชาชนมีรายได้ที่ไม่ใช่จากการให้เปล่า ขณะที่การลบข้อมูลเครดิตของลูกหนี้จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสียหายเนื่องจากเจ้าหนี้จะไม่เห็นประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้ นอกจากนี้เจ้าหนี้ยังต้องมีความจริงใจเต็มใจที่จะช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อให้ได้หนี้อย่างครบวงจรและยั่งยืน
Source: การเงินธนาคาร
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you