ธนาคารเคลื่อนไหวแล้ว ‘ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก-ตรึงดอกเบี้ยเงินกู้’

หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ 0.75% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี ล่าสุด สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) และธนาคารพาณิชย์ เริ่มออกมาเคลื่อนไหวแล้ว

เริ่มจากธนาคารออมสินที่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 6 เดือน ในอัตรา 0.15% เงินฝากประจำ 12 เดือน ปรับขึ้น 0.20% ส่วนเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน ปรับขึ้น 0.30%
นอกจากนี้ ยังประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR MOR และ MRR) ไว้ให้นานที่สุด เพื่อช่วยลูกค้ารายย่อย ผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่มเปราะบาง ทั้งหมดนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. 2565 เป็นต้นไป
ตามด้วยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ให้ได้นานที่สุด อย่างน้อยถึงสิ้นปี 2565 ก่อนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.15-0.25% ต่อปี ในปี 2566
ฝั่งธนาคารพาณิชย์ก็เริ่มขยับตัวแล้วเหมือนกัน เริ่มจาก ธนาคารไทยเครดิต บริษัทในกลุ่มไทยประกันชีวิต ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำแบบยกแผง
โดยออกแคมเปญพิเศษ เงินฝากประจำพิเศษ 17 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.70% ต่อปี เปิดบัญชีขั้นต่ำ 70,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อราย เปิดรับฝากตั้งแต่ 10-31 ส.ค. 2565 หรือจนกว่ายอดฝากของโครงการจะครบ 2,700 ล้านบาท
รองลงมา เงินฝากประจำพิเศษ 15 เดือน ดอกเบี้ย 1.45% ต่อปี เปิดบัญชีขั้นต่ำ 100,000 บาท รับฝากสูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อราย
ส่วนเงินฝากประจำปกติ ธนาคารฯ ก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน ทั้งเงินฝากประจำทันใจ ระยะเวลา 12 เดือน ขึ้นดอกเบี้ยเป็น 1.40% ต่อปี จุดเด่นจ่ายดอกเบี้ยทันทีตั้งแต่วันฝาก
เงินฝากประจำ 18 เดือน ดอกเบี้ย 1.50% ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือน ดอกเบี้ย 1.35% ต่อปี เงินฝากประจำ 9 เดือน ดอกเบี้ย 1.20% ต่อปี และเงินฝากประจำ 6 เดือน ดอกเบี้ย 1.05% ต่อปี
ส่วนเงินฝากระยะสั้น ได้แก่ เงินฝากประจำ 8 เดือน และเงินฝากประจำ 6 เดือน ให้ดอกเบี้ยสูงสุด 1.20% และ 1.05% ต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย แม้ยังไม่มีประกาศเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก หรือความชัดเจนเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ แต่มีการออมแคมเปญวันแม่ด้วยโปรแกรมเงินฝากประจำพิเศษ
เงินฝากประจำซีเนียร์ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 0.99% ต่อปี ไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก สำหรับผู้มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่เปิดบัญชี
เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 2.5 ล้านบาท รับดอกเบี้ยรายเดือน โดยโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดรับฝากระหว่างวันที่ 1-31 ส.ค. 2565
ตามด้วยแบงก์ใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ แม้ไม่มีประกาศเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเช่นกัน แต่ยืนยันว่าจะยังให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
ทั้งการพิจารณาปรับลดยอดผ่อน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ให้ระยะเวลาปลอดหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย โอนทรัพย์ชำระหนี้ ให้สินเชื่อใหม่ และการขยายวงเงินบัตรเครดิตจาก 1.5 เท่าเป็น 2 เท่าของรายได้ต่อเดือน
นอกจากนี้ยังมีการรวมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่ไม่มีหลักประกัน (Debt Consolidation) อีกด้วย
ส่วนสมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก ออกมายืนยันว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อชะลอผลกระทบกับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง กลุ่มที่อยู่ระหว่างการปรับตัวให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
รวมถึงความเหมาะสมทั้งฝั่งของลูกค้าเงินฝากและเงินกู้ จังหวะ และขนาดของการปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดแรงกดดันของเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ไม่ให้เกิดการสะดุดของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ และประชาชน
และนี่คือธนาคารที่มีความเคลื่อนไหวหลังแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย ส่วน SFIs และธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ คาดว่าจะทยอยประกาศความชัดเจนออกมาหลังจากนี้
Source: Workpoint Today

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"