พิพัฒน์’เคเคพี ชี้ หากรัฐบาลจะเสพติดการขาดดุล ก่อหนี้เพิ่ม หวั่น เร่งหนี้สาธารณะพุ่ง อนาคตลงยาก เชื่อหากรัฐบาลใหม่ ทำตามนโยบาย- การขาดดุลการคลังไม่ได้เพิ่มขึ้น จะช่วยกระจายเศรษฐกิจ มากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) โพสต์ข้อความผ่าน 'เฟสบุ๊ค' ว่าท่ามกลางภาวะที่รัฐมีแต่วาระที่อยากใช้เงินเพิ่มขึ้น แล้วความยั่งยืนทางการคลังจะเป็นอย่างไร?
เรากำลังจะมีรัฐบาลใหม่กันแล้ว ทั้งพรรคหลักพรรคร่วมมีการนำเสนอนโยบายที่หลากหลาย ล้วนแล้วแต่พูดถึงเม็ดเงินค่อนข้างมาก เม็ดเงินที่พูดถึงกันขนาดนี้ จะกระทบฐานะการคลังของประเทศขนาดไหน
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เราไม่สามารถพูดถึงการใช้เงิน โดยไม่พูดถึงแหล่งเงินที่จะเอามาจ่าย เวลามีคนบอกว่าอยากจะเอาเงินมาใช้ในโครงการใหม่ที่ไม่ได้ทำมาก่อน คงต้องถามก่อนว่าจะเอาเงินจากไหนมาจ่าย
ยกตัวอย่าง ถ้าเราดูนโยบายของพรรคก้าวไกลที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล นโยบายที่ใช้เงินมากที่สุดคือ นโยบายรัฐสวัสดิการ ที่ต้องการจัดหาสวัสดิการให้แก่ การศึกษา เด็ก ผู้พิการ จนถึงผู้เกษียณอายุ
นโยบายนี้คาดว่าจะใช้เงินมากถึง 6.5 แสนล้านบาท! ปัญหาสำคัญคือจะเอาเงินจากไหนมาจ่าย
พรรคก้าวไกลวางแผนว่า ภายในปีที่สี่ จะตัดงบประมาณบางส่วน (เช่น ลดงบทหาร ลดงบประมาณที่ไม่จำเป็น) และจะเพิ่มรายได้จากนโยบายภาษีใหม่ เช่น ภาษีความมั่งคั่ง ,ภาษีที่ดินรูปแบบใหม่ และ ,ขึ้นอัตราภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทใหญ่ ซึ่งน่าจะลดรายจ่ายและหารายได้ เพียงพอสำหรับการใช้เงินใหม่ 6.5 แสนล้านต่อปี
ถ้าทำได้ตามแผนจริง และการขาดดุลการคลังไม่ได้เพิ่มขึ้น แผนนี้จะเป็นการ “กระจายเศรษฐกิจ” มากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่มีสองปัญหาสำคัญ คือ หนึ่ง การเพิ่มรายจ่ายทำได้ไม่ยากนัก การตัดงบและขึ้นภาษีอาจจะทำได้ไม่ง่ายนัก และสองด้วยโครงสร้างประชากรที่กำลังเปลี่ยนไป จำนวนผู้สูงอายุและจำนวนผู้รับผลประโยชน์จากระบบสวัสดิการจะเพิ่มขึ้นในขณะที่จำนวนคนจ่ายภาษีจะลดลง การขาดดุลอาจจะสูงขึ้นในอนาคต แม้แผนจะไม่เพิ่มการขาดดุลในระยะแรกก็ตาม
ความยั่งยืนทางการคลัง
การประเมินว่าฐานะการคลังว่ามีความ “ยั่งยืน” หรือไม่ และน่ากังวลหรือไม่ คนส่วนใหญ่มักสนใจตัวชี้วัดที่สำคัญอันนึงคือ "สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP"
ถ้าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP มีโอกาสจะเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ จะทำให้ตลาดและนักลงทุนกังวลต่อสถานะของรัฐบาลได้
เราลองคาดการณ์สัดส่วนหนี้จากสมมุติฐานเศรษฐกิจแบบง่ายๆ เช่น ในอีกสิบปีข้างหน้า ถ้าเราคาดว่า GDP จะโตได้เฉลี่ย 3% เงินเฟ้อเฉลี่ย 1.5% ดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2%
และที่ผ่านมาดูเหมือนว่า รัฐบาลจะเสพติดการดุล❗
เราขาดดุลการคลังก่อนคิดรายจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 2% ต่อ GDP มาเกือบทุกปี
ภายใต้สมมุติฐานเฉลี่ยง่าย ๆ แบบนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เราจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จากประมาณ 61% ต่อGDP ในปัจจุบัน เป็น 68% ในอีกสิบปี (ในขณะที่กรอบวินัยทางการคลังของเราเพิ่งยกขึ้นจาก 60% มาเป็น 70% หลังโควิด)
แต่ถ้าเราขาดดุลมากกว่านี้ ดอกเบี้ยขึ้นสูงกว่านี้หรือ เศรษฐกิจโตช้ากว่านี้ มีโอกาสที่หนี้สาธารณะจะไปอยู่ในแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเอาลงได้ยาก
สรุป แม้สถานการณ์ปัจจุบันหนี้สาธารณะยังไม่น่าห่วงมากนักในระยะสั้น แต่เราก็อยู่ในภาวะที่ไว้วางใจไม่ได้ และด้วยภาระการคลังที่กำลังจะเพิ่มขึ้นจากโครงสร้างประชากร เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มโตช้าลง และความจำเป็นในการใช้จ่ายด้านอื่นๆ
อาจจะไม่ผิดถ้าจะบอกว่าเราอยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญ และภาคการคลังกำลังเป็นข้อจำกัดที่จะบีบไม่ให้รัฐทำทุกอย่างได้อย่างใจ
โจทย์สำคัญของรัฐบาลในภาวะเช่นนี้คือเราจะปรับตัวเพื่อรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ในภาวะที่รัฐมีวาระที่อยากใช้เงินเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
เช่น คงต้องคิดถึงการลดขนาดของรัฐ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หาฐานรายได้ใหม่ หรือขึ้นภาษีและหาทางปฏิรูปเศรษฐกิจที่จะยกระดับของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี และเราคงไม่อยากเห็นภาคการเงินของรัฐบาลอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you