การสั่งห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ชิปของบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ไมครอน เทคโนโลยี ในบางภาคส่วนธุรกิจ ซึ่งประกาศเมื่อวันอาทิตย์ (21 พ.ค.) ที่ผ่านมา คือสิ่งที่เตือนความจำอย่างที่สุดว่า มีความเสี่ยงที่กำลังเผชิญต่ออุตสาหกรรมชิปทั่วโลก ขณะที่สิ่งนี้กระตุ้นให้ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น
มีการมองว่า การขยับตัวของจีนที่ต่อต้านบริษัทไมครอน ซึ่งเป็นผู้ผลิตหน่วยความจำ (memory) รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ เป็นการตอบโต้ต่อความพยายามของสหรัฐฯ ในการจำกัดจีนในการเข้าถึงเทคโนโลยีหลัก การแบนของจีนต่อไมครอนเพิ่งจะมาถึงเพียง 1 วันหลังการประชุมกลุ่ม G7 ที่บรรดาชาติมั่งคั่งเห็นชอบร่วมกันว่า พวกเขามองหาการที่จะ “ลดความเสี่ยง ไม่ใช่การแยกออก” จากจีน และขณะที่สหรัฐฯ กดดันชาติพันธมิตรให้เข้าร่วมในการจำกัดการส่งออกอุปกรณ์ชิปให้กับจีน
ไมครอน ซึ่งผลิต DRAM และ NAND หรือชิปที่เป็นแฟลชเมมโมรี่ เป็นผู้ผลิตชิปของสหรัฐฯ รายแรกที่ตกเป็นเป้าหมายของจีน หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศมาตรการควบคุมการส่งออกหลายชุดเมื่อปีที่แล้วเพื่อที่จะขัดขวางชิปบางประเภทและเทคโนโลยีการผลิตชิปซึ่งได้มีการนำมาใช้เพื่อเสริมความก้าวหน้าของประสิทธิภาพทางการทหารของจีน
ขณะที่การขยับตัวของจีนอาจส่งผลให้คู่แข่งหลักของไมครอนได้รับประโยชน์ ซึ่งก็คือบริษัท ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ และบริษัท SK Hynix ของเกาหลีใต้ในระยะสั้น นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นได้ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งอุตสาหกรรม ขณะที่บริษัทต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นซึ่งจะกระทบกับการลงทุนและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ด้านนายคิม ซุนวู นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ เมอริทซ์ กล่าวว่า นโยบายการโต้ตอบแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน จะทำให้การตัดสินใจลงทุนของผู้ผลิตชิปทั้งหมดมีความยากลำบาก บริษัททั้งหลายจะต้องหาที่อยู่ของทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายขาย มันจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าถ้าหากฝ่ายผลิตและฝ่ายขายอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่ทว่า สิ่งนี้จะทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็น 2 ด้าน
เพียงไม่กี่วันก่อนการแบน ไมครอนได้ประกาศแผนที่จะลงทุน คิดเป็นมูลค่าสูงสุดถึง 5 แสนล้านเยน (หรือเทียบเท่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในญี่ปุ่น ในเทคโนโลยีรังสีอัลตราไวโอเลตแบบปลายสุด ทำให้กลายเป็นผู้ผลิตชิป รายแรกที่นำเอาเทคโนโลยีผลิตชิปที่ก้าวหน้านี้มายังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังต่อสู้อย่างหนักเพื่อที่จะพยายามทำให้อุตสาหกรรมชิปอยู่รอดและประคองตัวต่อไปได้ ขณะที่สหรัฐฯ กำลังกระตุ้นชาติพันธมิตรอย่างหนักให้ทำงานร่วมมือกันเพื่อที่จะโต้ตอบบริษัทชิปของจีนรวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอีกด้วย
ไมครอน ซึ่งสามารถทำรายได้ราว 11% ของรายได้ทั้งหมดจากการขายชิปให้กับจีนแผ่นดินใหญ่ในปีงบประมาณล่าสุด กล่าวว่า บริษัทกำลังเฝ้ารอการร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทางการจีน โดยที่ไม่ได้แสดงความเห็นใด ๆ ว่าการตัดสินของจีนจะส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนของบริษัท ไมครอน ในญี่ปุ่นด้วยหรือไม่
ด้านนายชางฮาน ลี รองประธานสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของเกาหลีใต้ กล่าวว่า มันจะต้องมีการลงทุนล่วงหน้าในจำนวนเงินที่มากมหาศาลเพื่อที่จะเป็นผู้ผลิตชิป และจะต้องใช้เวลา 5 ปี, 10 ปี กว่าที่จะถึงจุดคุ้มทุน ดังนั้น การเปลี่ยนสิ่งที่สามารถพยากรณ์ได้ไปสู่การเสี่ยงอันตรายจะทำให้การลงทุนเกิดความยากลำบาก และกล่าวต่ออีกว่า ในระยะยาวแล้ว สิ่งนี้จะไม่ช่วยให้ใครได้ประโยชน์
Source: ข่าวหุ้น
เพิ่มเติม
- US lawmaker demands action against Chinese chip firm CXMT after Micron
Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you