ตั้งการ์ดให้พร้อม รับมือโลกแบ่งขั้ว

สถานะของประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐฯ ยักษ์ใหญ่ของโลกกำลังถูกสั่นคลอนจากเหตุการณ์ระหว่างประเทศ หลายครั้งหลายครา กลายเป็นรอยร้าวของโลกที่ชัดเจนขึ้นทุกวัน
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน

เดินทางไปเยือนซาอุดิอาระเบียในช่วงปลายปี 2565 ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ ชนิดตบหน้าประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ที่ได้เดินทางมาเยือนซาอุดิอารเบียในช่วงกลางปี 2565 จนเกิดการเปรียบเทียบว่าเป็นการต้อนรับที่แตกต่างอย่างลิบลับ จีนยัง ไม่หยุดแค่นั้น เมื่อเดือนที่ผ่านมาได้ เดินหน้าใช้ความสัมพันธ์ทางการฑูต เข้าไปเป็นกาวใจให้กับอิหร่านและซาอุดีอาระเบียที่ขัดแย้งมายาวนานให้สามารถสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันได้อีกครั้ง อันสร้างความประหลาดใจให้ชาวโลก
แต่ก็ใช่ว่าสหรัฐฯ จะยอมให้ถูกท้าทายอยู่เพียงฝ่ายเดียว ในอีกด้านหนึ่งการไปมาหาสู่กันระหว่างผู้นำไต้หวันและสหรัฐฯ ทั้งการเดินทางไปเยือนไต้หวัน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น และล่าสุดในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ไช่ อิง-เหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน ก็ได้เดินทางไปพบกับเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ที่แคลิฟอร์เนียเช่นกัน การเหยียบจมูกเสือครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับจีน และเพิ่มดีกรีความตึงเครียดระหว่างจีน สหรัฐฯ และไต้หวันเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อย
ขณะที่ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียยูเครนที่ยืดเยื้อมานานกว่า 1 ปี ก็ยังไม่มีทีท่าสิ้นสุด เราได้เห็นมหาอำนาจโลกเริ่มแบ่งฝักแบ่งฝ่ายชัดเจน ระหว่างสหรัฐอเมริกา - สหภาพยุโรป ที่สนับสนุนยูเครน กับอีกฝั่งหนึ่งคือ จีน อินเดีย และชาติพันธมิตร ในตะวันออกกลางที่เป็นพันธมิตรของรัสเซีย สงครามไม่เพียงสร้างผลกระทบ ทั้งในเรื่อง ของการสูญเสียชีวิต ยังส่งผลกระทบทาง เศรษฐกิจ ห่วงโซ่การผลิตรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลไปทั่วโลก
สำนักเศรษฐกิจสำคัญของโลกได้ประเมินความเสี่ยงที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจโลกในปีนี้ โดยให้น้ำหนักกับเรื่องของเงินเฟ้อเป็นอันดับ 1 แต่ปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ลำดับ ถัดมาคือเรื่องของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) นี้เอง
ก่อนหน้านี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF คาดการณ์ว่าการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของโลกจะสูญหายไป 1.5% ซึ่งการค้าโลกที่ถูกแบ่งเป็น 2 ขั้วนี้ได้สร้างความเสียหายเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ภูมิภาคเอเชียอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงเป็น สองเท่า หรือมากกว่า 3% ของ จีดีพีเนื่องจากภูมิภาคเอเชียมีการบูรณาการเข้ากับห่วงโซ่คุณค่าโลก (Global Value Chains - GVC) มากขึ้น
ขณะที่ ประธานธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี มองว่า ความขัดแย้งของ 2 ขั้วอำนาจนี้เองจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลก อ่อนแอและภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงต่อเนื่องโดยอ้างถึงข้อมูลในอดีตว่า "ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูง อยู่เสมอ" โดยเฉพาะระบบห่วงโซ่อุปทานต้องแบ่งแยกด้วยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เงินเฟ้อจะปรับขึ้นไปที่ 5% ในเวลาอันใกล้และ 1% ในระยะยาว
แน่นอนว่าความขัดแย้งระหว่างขั้วอำนาจของโลกและสงครามรัสเซีย-ยูเครนย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าโลก โดยองค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าในปี 2566 การค้าโลกจะขยายตัว 1.7% ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายตัว 2.7% และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีการขยายตัว 2.6%
การแยกขั้วทางเศรษฐกิจ (Decoupling) ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทั้งด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี มีการคาดการณ์ว่า อาจนำพาโลกเข้าสู่สงครามเย็นยุคใหม่ ที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากสงครามในอดีต ที่แน่ๆ ความขัดแย้งของสองประเทศมหาอำนาจย่อมส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิตและการค้าโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราได้เห็นข่าวที่รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้าม เจ้าตลาดชิปอย่าง Nvidia และ AMD ไม่ให้ ส่งออกชิปไปยังประเทศจีน ส่งผลกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ รวมถึงภาพของห่วงโซ่การผลิต ที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปจากการย้ายฐานการผลิต ของธุรกิจในสหรัฐฯ ที่เลือกถอนจากประเทศจีนมาตั้งฐานการผลิตที่เวียดนามแทน
ขณะที่รัฐบาลจีนเองดูเหมือนจะไม่ให้น้ำหนักกับความพยายามกีดกันของสหรัฐฯ มากนัก หากแต่ได้มองข้ามช็อตไปไกล ด้วยการประกาศให้ความสำคัญกับการผลักดันความเป็นผู้นำเทคโนโลยีของโลก พยายามพัฒนารากฐานด้านเทคโนโลยีสุดล้ำด้วย ตัวเอง และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการสร้าง นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ที่ได้กล่าวในการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 20 ช่วงปลายปี ที่ผ่านมาไม่เพียงย้ำถึงความมุ่งมั่นในการรวมไต้หวันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแผ่นดินใหญ่ เท่านั้น เขายังเน้นย้ำเรื่องการพัฒนา
เศรษฐกิจ รวมถึงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของจีนในระยะข้างหน้าด้วย จึง ไม่แปลกใจที่เราจะได้เห็นรัฐบาลและผู้นำจีน พยายามออกไปสร้างความสัมพันธ์กับ ประเทศเล็กๆ ทั้งในละตินอเมริกา หรือในเอเชีย เพื่อเข้าถึงแหล่งแร่หายาก (Rare Earth) ที่จะใช้ในการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เพราะจีนทราบดีว่า จะช่วยรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ-จีนได้
ในความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้านี้เอง ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ประเมินว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI หรือ Quantum Computing เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่ด้วยประเทศไทยเอง ภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม จึงยังไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก
ไม่เพียงการค้าและการลงทุน สหรัฐฯ ยังถูกจีนท้าทายในแง่ของบทบาททางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์ที่เป็นสกุลเงินหลักของโลกอาจจะเสียพื้นที่ตลาดการชำระเงินโลกให้กับสกุลเงินหยวนในอนาคต หลังจากที่รัฐบาลจีนมีนโยบายที่จะผลักดันเงินสกุลหยวนไปสู่การเป็นสกุลเงินหลักของโลก ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเริ่มเห็นบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้นในช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่รัสเซียหันมาใช้หยวนเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 1 ใน 3 ทีเดียว
ล่าสุด สมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก หรือ สวิฟต์ (SWIFT) ได้รายงานว่า เงินหยวนได้กลายเป็นสกุลเงินที่ใช้มากที่สุดสำหรับการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนในจีน แซงหน้า ดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2566 จากการที่จีนได้ใช้เงินหยวนซื้อสินค้าโภคภัณฑ์จากรัสเซียเพิ่มขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา และได้ใช้เงินหยวนเกือบทั้งหมดในการซื้อน้ำมัน ถ่านหิน และโลหะบางประเภท แทนการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากรัสเซียแล้วยังมีอีกหลายประเทศที่ยอมรับเงินหยวนเป็นสกุลเงินเพื่อการชำระสินค้าและบริการโดยตรง ปัจจุบันธนาคารกลางของจีนได้เซ็นสัญญาร่วมกับกลุ่มธนาคารกลางใน 40 ประเทศ/ภูมิภาคทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนเงินตรากันโดยตรงระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนเป็น สกุลเงินกลางอย่างดอลลาร์และยูโรก่อน ขณะที่ประเทศไทยเอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็มีแผนผ่อนคลายข้อจำกัดให้กับสถาบันการเงินและลูกค้าในการใช้บาท-หยวน ในการทำธุรกรรมชำระสินค้าและบริการได้ภายในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้เงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้น และเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อต้องอยู่ในวงล้อมการห้ำหั่นของประเทศยักษ์ใหญ่ เราควรจะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งได้อย่างที่เรียกว่า "อยู่เป็น" ไม่หลงไปในอยู่ในวงล้อมของสงคราม ซึ่งบทความเรื่อง DEGLOBALIZATION กับเศรษฐกิจไทย ในวารสารพระสยาม ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มีนาคม 2566 ที่เขียนโดย ดร.ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการ อาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้แนวทางการรับมือว่าไทยควรเพิ่มสัดส่วนของการส่งออกสินค้าไทยในตลาดโลก เพื่อชดเชยอัตราการขยายตัวที่ต่ำของการค้าโลก ด้วยการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทย ในตลาดโลก รวมถึงการหา Product Champion ใหม่ๆ สร้างความยั่งยืนของการท่องเที่ยวต่างประเทศ ช่วยชดเชยการชะลอตัวของการส่งออกสินค้ารวมถึงการกระจายความเสี่ยงไปสู่การส่งออกบริการอื่นๆ ที่ใม่ใช่การท่องเที่ยว เช่น บริการด้านการเงิน บริการด้านไอที และการให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
และข้อสุดท้ายที่น่าสนใจคือ ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส ใช้โอกาสของแนวโน้มการแตกออกของห่วงโซ่การผลิตโลกในการดึงดูดการลงทุนจากทั้งสองขั้วความ ขัดแย้ง ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ด้วยการ เป็นพันธมิตรกับทั้งสองประเทศ
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนกระทบต่อเงินเฟ้อ และ มาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ กระทบต่อมูลค่าการค้าโลกให้มีแนวโน้มชะลอ ตัวลง โดยระหว่างปี 2551-2564 การค้าโลก ขยายตัวเฉลี่ย 4.2% ต่อปีลดลงจากช่วงปี 2541-2550 ที่เติบโตได้ 9.9% และ มองไปข้างหน้าแล้ว ยังไม่เห็นแนวโน้ม การค้าโลกจะกลับเติบโตสูงกว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้ ซึ่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการค้าโลกที่ชะลอลง น่ากลัวกว่า ผลกระทบที่เกิดจากอัตราเงินเฟ้อโลกค่อนข้างมาก
การแบ่งขั้วมหาอำนาจโลกเวลานี้ มองเผินๆ อาจจะเห็น 2 ขั้วอำนาจหลัก แต่มีการคาดการณ์กันว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นโลกมีมากกว่า 2 ขั้ว หรือ Fragmentation แบ่งแตกแยกย่อยออกไป แต่ไม่ว่าจะกี่ขั้วก็ตาม ภาคธุรกิจควรติดตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ รับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที
Source: กรุงเทพธุรกิจ
เพิ่มเติม
- We are not decoupling’: G-7 leaders agree on approach to ‘de-risk’ from China :

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"