‘สศช.’ เตือนรับมือพายุเศรษฐกิจ แนะเสริมแกร่งซัพพลายเชน - สร้างรายได้เพิ่ม

สศช.หวั่นเศรษฐกิจ “สหรัฐ-ยุโรป” ถดถอยเร็วกว่าคาด สัญญาณขึ้นดอกเบี้ยแรง บริษัทใหญ่ทยอยลดคน เตือนไทยตั้งรับ 3 พายุเศรษฐกิจ แนะเร่งสร้างซัพพลายเชนในประเทศให้แกร่ง พร้อมมุ่งสร้างรายได้เพิ่มเข้าประเทศ

เศรษฐกิจโลกมีปัจจัยเสี่ยงเข้ามากระทบเพิ่มมากขึ้น จึงนำมาสู่แนวโน้มชะลอตัวทั้งในสหรัฐและยุโรป ซึ่งสร้างความกังวลต่อการที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
นิยามของเศรษฐกิจถดถอยที่อ้างอิงจากสำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (The National Bureau of Economic Research : NBER) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐที่กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอย่างเป็นทางการโดยให้นิยามภาวะเศรษฐกิจถดถอยว่า ภาวะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ กระจายตัวทุกภาคเศรษฐกิจนานกว่า 3 เดือน ซึ่งสะท้อนจากการหดตัวของจีดีพีรายได้ที่แท้จริง การจ้างงาน การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการค้าปลีกค้าส่ง
สถานการณ์การดังกล่าวทำให้ไทยกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบเศรษฐกิจไทย ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่มาเร็วขึ้น รวมถึงสถานการณ์สงครามที่ยืดเยื้อและยังมีผลต่อราคาน้ำมัน และปัญหาอัตราเงินเฟ้อของไทยที่ทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.กำลังจับตาดูสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐและยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าและตลาดที่สำคัญของไทยที่กำลังได้รับผลกระทบเศรษฐกิจหลายด้าน โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งสหรัฐเพิ่งประกาศตัวเลขเงินเฟ้อที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี ขณะที่ยุโรปมีปัญหาเศรษฐกิจต่อเนื่องมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ส่งผลให้ราคาอาหารและพลังงานสูงขึ้นมากและกระทบอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเช่นกัน
เตือนรับมือ3พายุเศรษฐกิจ
ทั้งนี้สถานการณ์ที่เงินเฟ้อเพิ่มสูงในแต่ละประเทศได้พยายามหาทางแก้ปัญหา เช่น การใช้เครื่องมือนโยบายทางการเงินแก้ไขสถานการณ์ โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสู้ปัญหาเงินเฟ้อ แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ เมื่อขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจะทำให้ต้นทุนของประชาชนและภาคเอกชนสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัญหาอีกด้านของเศรษฐกิจและมีความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยเร็วกว่าที่คาด และหากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาอีกเท่ากับเศรษฐกิจของไทยต้องเผชิญกับมรสุม 3 ลูกที่เข้ามาพร้อมกัน ประกอบด้วย
1.เงินเฟ้อสูง โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.2565 ขยายตัว 7.66% รวม 6 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัว 5.61%
2.ผลกระทบจากสงครามที่ยืดเยื้อ ที่ยังส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งน้ำมันและสินค้าอื่นที่ราคาสูงขึ้น
3.ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งเดิมคาดว่าความเป็นไปได้ของเศรษฐกิจถดถอยจะเกิดขึ้นในช่วง 12-16 เดือนข้างหน้า แต่ขณะนี้มีความกังวลกันว่าปัญหาเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรปจะมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ทั้งในสหรัฐและในยุโรป
"ขณะนี้เริ่มเห็นการที่บริษัทขนาดใหญ่ไม่รับคนเพิ่ม รวมถึงมีการปลด และลดคน ลงเพื่อลดค่าใช้จ่าย เป็นสัญญาณว่ามีการเตรียมตัวที่จะรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น”
สร้างความเข้มแข็งภายใน
นายดนุชา กล่าวว่า การรับมือปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยในทางปฏิบัติไทยต้องเตรียมการในรูปแบบเดียวกับการรับมือวิกฤติและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นหลายเรื่องในปัจจุบันและอนาคต โดยพยายามสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ ลดการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกลงในส่วนที่ไทยพึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศได้
นอกจากนี้ ในระยะ 1-2 ปีนี้ ควรเร่งดึงการลงทุนจากภายนอกตามแผนการสร้างซัพพลายเชนในประเทศให้แข็งแรงก่อนจะเกิดปัญหาวิกฤติภายนอกที่กระทบเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า การลงทุนสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าที่ลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกที่จะกระทบการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"