หลังการเกิดของรัฐอิสราเอลโดยการร่วมมือระหว่าง อังกฤษ นายทุนธนาคารร็อธไชลด์และอเมริกา ทำให้ชาวอาหรับรู้สึกเหมือนถูกปล้นดินแดนไปให้ชาวยิว จึงร่วมกันต่อต้านกันหลายครั้ง
... ปี 1950 สองปีหลัง "สงครามอาหรับกับอิสราเอล1948" "อียิปต์" โดยกามาล นัสเซอร์ ปิดช่องแคบติราน ที่เป็นทางออกทะเลด้านที่เชื่อมกับทะเลแดงของอิสราเอล หวังปิดเส้นเลือดและประตูบ้านอิสราเอล
... และในปี 1956 อิสราเอลส่งทหาร รุกรานคาบสมุทรซีนายของอียีปต์เอาคืน เพื่อบีบและต่อรองที่อียีปต์ปิดช่องแคบติราน อิสราเอล และอิสราเอลต้องขอความช่วยเหลือจากทหารสหประชาชาติที่เอาใจชัดเจน จน "อียิปต์" ต้องเปิดทางช่องแคบติรานให้เรืออิสราเอลเดินได้
... ผ่านมาปี "สงครามหกวัน" 1967 ระหว่างวันที่ 5-10 มิถุนายน ที่ประเทศอาหรับรอบข้าง เช่น อียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย อิรัก และ เลบานอน ร่วมกันเปิดสงครามกับอิสราเอล สงครามครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนหลายอย่างที่รุนแรง เพราะเป็นครั้งแรกที่ "อิสราเอล" เริ่มรุกราน "เยรูซาเลมตะวันออก" ( ที่เป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงค์ ) ของจอร์แดน รวมทั้งคาบสมุทรซีนายของอียิปต์อีกครั้งแบบชั่วคราว แต่ที่ยังยึดยาวมาจนถึงปัจจุบัน ก็คือ ยึดเอา "เวสต์แบงค์" และ "กาซ่า" จากจอร์แดนมาอย่างถาวร รวมทั้งยึดเอา "ที่ราบสูงโกลัน" จาก "ซีเรีย" มาอย่างถาวรเช่นกัน โดยอิสราเอลได้รับการช่วยเหลืออย่างดีจากอเมริกา
... จากนั้นปี 1973 "สงครามยม คิปปู" หรือสงครามในเดือนรอมาดอนของชาวยิวเดือนตุลาคม ที่ "อียิปต์กับซีเรีย" นำและมีพันธมิตรร่วมมาขึ้น เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน อิรัก ลิเบีย แอลจีเลีย ตูนีเซีย โมร็อคโค ตูนีเซีย คิวบา โดยมี "โซเวียตรัสเซีย" หนุนหลังอยู่ ได้ทำสงครามกับ "อิสราเอล" ที่มี "อเมริกา" หนุนหลังอยู่ อีกครั้งหนึ่ง สงครามนี้นำความสูญเสียมากมายมาสู่ชาวอาหรับ "ชาวปาเลสไตน์" ในเวสต์แบงค์ 300,000 คนต้องย้ายหนีอพยพจากบ้านตัวเอง จากการกวาดล้างของชาวยิว และ "ชาวซีเรีย" 100,000 คนต้องอพยพหนีจาก "ที่ราบสูงโกลัน" บ้านตัวเองเช่นกัน ที่ถูกชาวยิวไล่ออกไป จากนั้นมาทั้งสองส่วนนี้ อิสราเอลก็ยึดยาว ไม่คืนให้อีกเลย สร้างความโกรธแค้นให้ชาวปาเลสไตน์และซีเรียอย่างมาก
... สงครามในปี 1973 นั้นชาวอาหรับเสียชีวิตไปมากถึง 20,000 คน ขณะที่ทหารอิสราเอลเสียชีวิตน้อยกว่ามาก แค่ 1,000 คน
... ชาวอาหรับจึงเปลี่ยนแผนใช้น้ำมันเป็นอาวุธแทนลดการผลิตและส่งออกน้ำมันไปประเทศที่สนับสนุนอิสราเอลในการทำสงคราม ซึ่งเป้าหมายใหญ่คือ "อเมริกา" และบริวารเช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา เนเธอร์แลนด์
... เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้อเมริกาสะดุดไปทั้งประเทศ น้ำมันขาดแคลน และแพงขึ้นมาก ตลาดหุ้นตกต่ำ เศรษฐกิจสะดุด คนตกงานมาก ประชาชนเดือดร้อนเพราะไม่มีน้ำมันใช้ เหมือนว่าอาหรับจะแก้แค้นได้ตกจุดและได้ผลกว่าการทำสงครามที่สมรภูมิอีก
... ราคาน้ำมันพุ่งจาก 3 ดอลล่าร์เป็น 12 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ทั่วโลกกระทบหนัก
... ญี่ปุ่นเริ่มมีการเคลื่อนไหว อยากเป็นเอกเทศทางนโยบายต่างประเทศ ไม่ขึ้นกับอเมริกา ขณะที่นาโต้ก็เริ่มมีรอยร้าวและแตกแยก
... 19 มกราคม 1974 เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ของอเมริกา ต้องบินไปที่อิสราเอลเพื่อเจราจาต่อรองให้อิสราเอลถอนทหารออกจากคาบสมุทรซีนายและที่ราบสูงโกลัน จากนั้นมาก็เจรจาต่อรองกันมาจนสำเร็จในเดือนมีนาคม 1974 กลุ่มโอเปกและชาติอาหรับ จึงเริ่มหยุดการคว่ำบาตรทางน้ำมัน
https://en.m.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Yom_Kippur_War
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Six-Day_War
Cr.Jeerachart Jongsomchai
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman