การภาวะ Short squeeze เกิดขึ้นกับหุ้นของ GameStop ทำให้ตลาดหุ้นปั่นป่วนครั้งใหญ่ ทำให้ราคาหุ้นของ GameStop ที่อาการร่อแร่พุ่งขึ้นมาถึง 190 เท่าจาก 2.57 มาอยู่ที่เกือบ 500 เหรียญสหรัฐทำให้นักลงทุนมืออาชีพในกลุ่มเฮดจ์ฟันด์เสียหายอย่างหนัก
และการซื้อขาย 140% ของหุ้น GameStop เกิดจากการขายชอร์ต
การภาวะ Short squeeze คือการที่ราคาหุ้นที่ทำท่าแย่ๆ จู่ๆ ก็พุ่งขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว หุ้นพวกนี้ปกติจะถูกการขายชอร์ต (Short selling) หรือการซื้อในราคาสูงแล้วขายในราคาต่ำแล้วฉวยโอกาสทำกำไรจากช่วงที่ซื้อขายนั้น แต่การขายช็อร์ตมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียแบบไม่ได้อะไรเลยสูงมากหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น หุ้นของ GameStop ถูกนักลงทุนเฮดจ์ฟันทำการขายช็อร์ตเพื่อทำกำไรเพราะแนซโน้มของบริษัทมไม่ดีมาหลายปีแล้ว ใครจะเชื่อว่าจู่ๆ จะมีกลุ่มคนมาซื้อหุ้นแบบมืดฟ้ามัวดินจนราคามันพุ่งเป็นพันเปอร์เซนต์ เมื่อเป็นแบบนี้พวกขายชอร์ตจึงหงายหลังไปตามๆ กัน
แต่ประเด็นก็คือปรากฎการณ์ GameStop ทำให้ราคาหุ้นของมันเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วโดยไม่ได้อิงกับพื้นฐานตลาด คล้ายกับการปั่นราคาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก นั่นคือเหตุการณ์ Tulip mania หรือ โรคคลั่งทิวลิป
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ปี 1636 มาถึงทุกวันนี้ก็ครบ 385 ปีพอดิบพอดี
ขณะที่ราคาหุ้นของ GameStop พุ่งขึ้นมาถึง 1,625% ตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 แต่เมื่อ 385 ปีก่อนนักลงทุนปั่นราคาของดอกทิวลิปพุ่งขึ้นมา 1,000% ในช่วงทศวรรษที่ 1630 สิ่งที่ต่างกันระหว่างสองเหตุการณ์นี้คือ GameStop เป็นการสวนกลับช็อร์ตเซลหุ้นด้วยจุดประสงค์ที่แปลกประหลาดที่สุด ส่วน Tulip mania เป็นเกิดจากความโลภและความลนลานตามราคาของดอกทิวลิป
ขณะที่สาเหตุของการขายชอร์ตกรณี GameStop ยังคลุมเครือและมีหลายสาเหตุ แต่กรณีของ Tulip mania เกิดจากความหลงไหลในดอกทิวลิปก่อน จากนั้นเพราะราคาที่สูงขึ้นเพราะความต้องการสูงขึ้นมันจึงถูกฝช้เป็นสินทรัพย์การลงทุน จนในที่สุดราคาของมันก็ถูปั่นไปเรื่อยๆ
ความล้ำค่าของดอกทิวลิปในยุคนั้นมีเรื่องเล่ากันว่า "นานมาแล้ว กระทาชายนายหนึ่งเดินทางไปหาความมึนเมา ที่ร้านสุราเล็กๆ อันเป็นสถานที่รวมตัวของคนเกือบทั้งเมืองในช่วงค่ำ ก่อนที่เรื่องจะจบลงที่ความไร้สติเพราะฤทธิ์สุรา ชายผู้นี้กลับทำเรื่องที่ไร้สติยิ่งกว่า เมื่อฉวยเอาเหง้าดอกทิวลิปใกล้ๆ มือขึ้นมาฝานเป็นชิ้นๆ ด้วยสำคัญผิดคิดว่าเป็นหัวหอม แต่แท้จริงแล้วมันคือเหง้าดอกทิวลิปราคาหลายพันเหรียญสหรัฐ ที่เจ้าของร้านเตรียมนำขึ้นประมูล ชีวิตของชายขี้เมาผู้น่าสงสารจึงต้องจบลงในตะราง รอจนกว่าจะมีเงินมาไถ่ถอนหนี้ที่เกิดจากการสวาปามเหง้าทิวลิปโดยไม่รู้ตัว!"
อาจเป็นเรื่องเล่าขานที่ฟังเหลือเชื่อ ถ้าเหง้าทิวลิปหัวหนึ่งอาจมีราคาดังทอง แต่แม้จะเป็นเรื่องเล่าจริง อย่างน้อยมันก็เป็นภาพสะท้อนที่ดีของเนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 17 ห้วงเวลาที่คนทั้งประเทศกำลังบ้าคลั่งกับการเป็นเจ้าของเหง้าทิวลิปราคาแพงเสียยิ่งกว่าแพง ปรากฏการณ์นั้นได้รับการขนานนามว่า Tulip mania หรือ โรคคลั่งทิวลิป อันเป็นกรณีศึกษาภาวะฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก
แน่นอน ชาวโลกอาจรู้สึกได้ถึงความโปรดปรานในดอกไม้ชนิดนี้ของประชาชนชาวแดนกังหันลมอยู่ก่อนแล้ว แต่หลายท่านคงไม่ทราบว่า ก่อนที่ดอกไม้ชนิดนี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์คู่เนเธอร์แลนด์ มันเคยสร้างความปั่นป่วนให้คนทั้งประเทศ เมื่อแรกนำเข้าสู่ดินแดนแห่งนี้ จากตุรกี อันเป็นต้นกำเนิดเมื่อปี 1593
ความที่ต้องนำเข้าจากถิ่นไกลโพ้น กอปรกับรูปลักษณ์อันแปลกตา ทำให้ ดอกทิวลิป กลายเป็นของสะสมล้ำค่าของประดาชนชั้นสูงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหง้าที่ติดเชื้อโรค "โมเซอิก" ซึ่งจะทำให้ สีของกลีบดอกมีรูปลักษณ์คล้ายเปลวเพลิง เหง้าทิวลิปที่ทุกวันนี้แทบไร้มูลค่า จึงกลายเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง และนับเป็นการริเริ่มหันเห "มูลค่าจริง" ของดอกไม้ประเภทหนึ่ง สู่ "มูลค่าเทียม" ที่จะกลายเป็นหายนะต่อมา
จากปริมาณที่น้อยนิด ทำให้พ่อค้าหัวใสหลายรายเริ่มมีความคิดที่จะปั่นราคาเหง้าดอกทิวลิปให้สอดคล้องกับความต้องการที่มีอย่างไม่จำกัด ซึ่งสัมฤทธิผลอย่างง่ายดาย เมื่อราคาดอกทิวลิปพันธุ์เด่นๆ ที่แตะระดับหลายร้อยฟลอรินส์ (ค่าเงินของเนเธอร์แลนด์ขณะนั้น) อยู่แล้ว ถูกปั่นจนมีราคาเป็นหลายพัน บางพันธุ์ถูกปั่นราคาจนมากกว่าเดิมถึง 20 เท่า!
หากไม่เห็นภาพ ขอให้พิจารณาจากราคาแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า หรือ บาร์เตอร์ ของเหง้าดอกทิวลิปที่มีราคาแพงเกือบสูงสุดนามว่า "อุปราช" ซึ่ง 1 เหง้าสวยๆ ต้องแลกมาด้วย ข้าวสาลี 4 ตัน, ข้าวไรย์ 8 ตัน, เตียงนอน 1 หลัง, วัว 4 ตัว, หมู 8 ตัว, แกะ 12 ตัว, อาภรณ์อย่างดี 1 ชุด, ไวน์ 2 ถัง, เบียร์ 4 ตัน, เนย 2 ตัน, เนยแข็ง 1 พันปอนด์ และเครื่องเงิน 1 ชุด รวมแล้วมีมูลค่าในปัจจุบันถึง 40,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 1.6 ล้านบาท)
ด้วยสนนราคาถึงขนาดนี้ มิพักจะเอ่ยถึงพันธุ์ "เซมเพอร์ เอากุสตุส" ที่เพียงเหง้าหนึ่ง อาจซื้อเมืองได้ทั้งเมืองด้วยซ้ำ!
เมื่อราคาของเหง้าดอกไม้ธรรมดาๆ แพงจนกลายเป็นสินทรัพย์ชั้นยอด ผู้คนจากชั้นต่างๆ ของสังคมจึงถูกดึงดูดเข้าสู่วังวนของความโลภ ตลาดหุ้นหลายแห่งผุดขึ้นทั่วเมืองสำคัญของประเทศ ไม่เว้นแม้แต่เมืองเล็กๆ ไกลปืนเที่ยง ยังเปลี่ยนร้านสุราเป็นตลาดค้าหลักทรัพย์กับเขาด้วย
ในชั่วพริบตา ยาจกกลายเป็นเศรษฐี และเศรษฐีกลายอภิมหาเศรษฐี จากการเก็งกำไรผ่านการซื้อขายเหง้าทิวลิปเพียงไม่กี่ครั้ง!
เนเธอร์แลนด์ในขณะนั้นเปี่ยมไปด้วยความคึกคัก ทุกผู้ทุกนาม ต่างเฝ้าฝันถึงความมั่งคั่ง หลายคนขายบ้าน และสินทรัพย์ที่หามาได้ทั้งชีวิต เพื่อเป็นเจ้าของเหง้าดอกทิวลิปเพียงเหง้าเดียว
แต่กฎหนึ่งของการเก็งกำไรและภาวะฟองสบู่ที่ยังใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ก็คือ ผู้ที่อยู่รอดและเสวยความร่ำรวยมีเพียงพวก เงินฉลาด (Smart Money) ที่เก็งกำไรในระดับบนสุดของตลาดหลักทรัพย์ เท่านั้น ส่วนบรรดาแมลงเม่าทั้งหลายได้เพียงลิ้มรสความสุขชั่วครู่ และรอวันฟองสบู่แตกอย่างน่าสลดใจ โดยไม่ทันตั้งตัว!
และเวลานั้นมาถึงในปี 1637 หลังจากที่ทิวลิปพุ่งขึ้นสูงสุด บรรดาเงินฉลาดทั้งหลาย ต่างพร้อมใจกันเทขายดอกทิวลิปในทันที ทันใด ทำให้ราคาเหง้าทิวลิปที่แพงลิบลิ่ว ดิ่งฮวบอย่างน่าใจหาย บางพันธุ์ไร้ราคาไปโดยปริยาย ที่ดีกว่าอาจเหลือมูลค่าเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น
ในชั่วพริบตา มหาเศรษฐีกลายเป็นยาจก และยาจกหลายคนต้องหาทางออกด้วยการจบชีวิต อีกหลายร้อยคนต้องหิวโซ เพราะไม่อาจใช้เหง้าทิวลิปไร้มูลค่าเพื่อประทังชีวิต
รัฐบาลดัตช์พยายามมองดูห่างๆ เมื่อฟองสบู่แตกโพละ แต่ในที่สุดต้องกระโจนเข้ามากู้เศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพินาศ ด้วยการจัดคณะกรรมการไกล่เกลี่ย และขออำนาจศาลสั่งให้การซื้อขายบางช่วงถือเป็นโมฆะ เพื่อให้บรรดาเงินฉลาดและแมลงเม่าทั้งหลายพบกัน ครึ่งทาง แต่มาตรการแล้วมาตรการเล่า กลับเยียวยาเศรษฐกิจของประเทศเพียงเล็กน้อย และแดนกังหันลมต้องพบกับความบอบช้ำไปอีกนานนับปี
โชคร้าย ที่มนุษย์เรียนรู้จากประวัติศาสตร์น้อยมาก เพราะเพียงไม่นานอีกเพื่อนร่วมโลกกับชาวดัตช์ ต้องพบกับภาวะฟองสบู่อีกหลายระลอก ต่างกรรมต่างวาระกัน ตั้งแต่ฟองสบู่หุ้นเซาท์ซีของอังกฤษ ฟองสบู่สหรัฐยุคทศวรรษที่ 1920 หรือแม้แต่การทำช็อร์ตเซลจนบางคนรวยเละในช่วงวิกฤตการเงิน 2007 - 2008
ตอนนี้ GameStop มีราคาหุ้นที่เรียกได้ว่า "แพงเว่อร์" แถมมันยังเกิดจากการลงทุนแบบแปลกๆ มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายว่าทำไมนักลงทุนถึงสนใจหุ้นของบริษัทที่ทำท่าจะไม่รอด และหุ้นของบริษัทนี้ถูกทำช็อร์ตเซลโดยนักลงทุนเฮดจ์ฟันด์มาระยะหนึ่งแล้ว
บ้างก็ว่านักลงทุนในโซเชียลมีเดีย (เริ่มจาก Reddit) ไม่มีอะไรทำจึงใช้เงินเก็บมาตลอดปีที่ถูกกักตัวเพราะล็อคดาวน์รวมถึงเงินช่วยเหลือของรัฐบาลมาลงทุนเล่นๆ บ้างก็ว่าเพราะดอกเบี้ยมันต่ำเกือบศูนย์ บางก็ว่าเพราะการปั่นของเอลอน มัสก์ บ้างก็ว่าเป็นกลุ่มคนที่เกลียดนักลงทุนกระหายเลือด จึงรวมตัวกันถล่มเฮดจ์ฟันด์ด้วยการทำ Short squeeze ซะเลย
แต่มันเป็นเหตุผลไม่อิงกับพื้นฐานตลาด วันหนึ่งเมื่อตลาดไม่เหลือใครให้ซื้ออีก เราจะมารอดูกันว่า GameStop จะมีจุดจบเหมือน Tulip mania หรือไม่
Source: Posttoday
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you