“คลองปานามา คือการยุให้แยกประเทศปานามา​ จากโคลอมเบีย โดยอเมริกา”

... “คลองปานามา” หรือ Panama Canal เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรก

และแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี คศ 2008

... "แนวความคิดในการขุดคลองปานามา" มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างครั้งแรกในปี คศ1880 โดยบริษัทสัญชาติ "ฝรั่งเศส" ภายใต้การบริหารของนายแฟร์ดินองด์ เดอ เลสเซ็ปส์ แต่ก็ล้มเหลวไป มีคนงานกว่า 21,900 คนเสียชีวิต มักมีสาเหตุจากโรคระบาด ( มาลาเรียหรือไข้เหลือง ) และดินถล่ม จนกระทั่ง “อเมริกา” เข้ามาดำเนินงานต่อ โดยมีผู้เสียชีวิตราว 5,600 คน จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1914 นับเป็นหนึ่งในโครงการวิศวกรรมที่ใหญ่ที่สุดและยากลำบากที่สุดที่เคยมีมา

… ย้อนหลังไปก่อนนั้น จากการประสบความสำเร็จของการสร้าง "คลองสุเอซ" ( คลองสุเอซเริ่มสร้างในเดือนเมษายน ปี 1859 แล้วเสร็จในเดิอนพฤศจิกายน ปี 1869 ) "รัฐบาลกรานโคลอมเบีย" ได้ให้สัมปทานกับนักผจญภัยชาวฝรั่งเศสชื่อ ลูเซียง นโปเลียน โบนาปาร์ต ไวส์ ในการขุดคลองซึ่งจะเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทรในบริเวณ “จังหวัดปานามา” และเขาได้ขายสัมปทานต่อให้กับบริษัทฝรั่งเศสที่บริหารโดยนายแฟร์ดีนอง เดอ เลสเซป ซึ่งดำเนินการขุดคลองปานามาในทันที

… เมื่อวันที่ 1 มกราคม คศ 1880 บริษัทฝรั่งเศสได้ทำงานอย่างรีบเร่งโดยขาดการศึกษาที่เพียงพอทั้งทางด้านภูมิประเทศและอุทกวิทยา อีกทั้งโรคภัยไข้เจ็บในภูมิอากาศเขตร้อนที่คนงานก่อสร้างคลองต้องเผชิญทั้งโรคไข้เหลืองและมาลาเรีย คร่าชีวิตคนงานเป็นจำนวนมากและทำให้การก่อสร้างไม่คืบหน้าเท่าที่ควร เป็นเหตุให้คนงานต่างหวาดกลัวและหนีกลับฝรั่งเศสในปี คศ 1883 บริษัทฝรั่งเศสที่ได้สัมปทานไม่สามารถทำงานต่อได หลังจากที่บริษัทของนายเดอเลสเซปล้มละลายต้องขายโครงการขุดคลองทอดตลาดไป

... “อเมริกา” ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการขุดคลองครั้งนี้ เนื่องจากในตอนที่อเมริกาได้ทำ "สงครามกับสเปนในปี คศ 1898" เห็นว่าการเดินทางระหว่างฝั่งตะวันตกกับตะวันออกเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ ถ้ามีคลองลัดย่นระยะทางการเดินทางของเรือรบและเรือขนส่งยุทธสัมภาระได้ก็จะเป็นผลดีอย่างยิ่งในการป้องกันประเทศ รัฐบาลจึงเห็นความสำคัญในจุดนี้

... “การแยก ปานามาจากโคลอมเบีย” เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤศจิกายน 1903 ด้วยการจัดตั้ง “สาธารณรัฐแห่งปานามา” เป็นอิสระจากสเปนในปี คศ1821 และปานามาได้ประกาศรวมตัวกับ “สมาพันธ์กรานโคลอมเบีย” โดยเชื่อมโยงกับส่วนที่เหลือของประเทศทางตอนใต้ ที่คือประเทศโคลัมเบียในปัจจุบันอย่างเหนียวแน่น แต่นานไป ความที่อยู่ห่างไกลทางภูมิศาสตร์จาก “รัฐบาลในเมืองโบโกตาของโคลอมเบีย”และขาดการเชื่อมต่อทางบกกับส่วนที่เหลือของ Gran Colombia ทำให้ “ปานามา” มักเป็นจังหวัดที่มีการลุกฮือก่อกบฏโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิกฤตการณ์ปานามาในปี 1885 “ ซึ่งเป็นการแทรกแซงของกองทัพเรือ “อเมริกา” อย่างชัดเจน

... ซึ่งสาเหตุที่ “อเมริกา” เข้ามายุแยง แยกปานามาจากโคลอมเบีย ก็เพื่อผลประโยชน์จาก “คลองปานามา”

… โดยก่อนนั้น “อเมริกา” ได้เจรจากับ “รัฐบาลกรานโคลอมเบีย” ( ตอนนั้นยังไม่แยกกัน ) ว่า หากอเมริกาลงทุนขุดคลองแล้วก็ “ขอให้อเมริกาเช่าพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อดำเนินการควบคุมการเข้าออกของเรือที่ผ่านคลอง” แต่การตกลงเรื่องราคาค่าเช่าที่ไม่ลงตัว “รัฐบาลกรานโคลอมเบีย” ไม่ตกลงกับรัฐบาลอเมริกา ซึ่งขณะนั้นเกิดมีข่าวออกมาว่า “ชาวจังหวัดปานามากลัวว่าโคลอมเบียจะไม่แบ่งผลประโยชน์ให้เท่าที่พวกตนควรได้” จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นและประกาศตัวเป็นประเทศเอกราช ซึ่ง “อเมริกา” เองได้รับรองการเป็นเอกราชของ “ปานามา” และยังได้ช่วยไม่ให้โคลอมเบียยกกองทหารเข้ามาปราบปรามชาวปานามา จนในที่สุดอเมริกาได้ทำสัญญากับปานามา

... ในปี คศ 1903 โดยปานามายกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นระยะทางกว้าง 10 กิโลเมตร ตลอดแนวทางที่อเมริกาจะขุดคลอง และรัฐบาลอเมริกาเป็นผู้ดำเนินการบริหารเป็นสิทธิขาดตลอดไป โดยอเมริกาจะจ่ายเงินตอบแทนให้ปานามาเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านดอลลาร์ และจะให้เป็นประจำทุกปี อีกปีละ 250,000 ดอลลาร์ ส่วนอเมริกาก็ได้จ่ายเงินให้แก่ “โคลอมเบีย” เป็นเงิน 25 ล้านดอลล่าร์ในปี ค.ศ. 1921 และรัฐบาลโคลอมเบียรับรองความเป็นเอกราชของปานามาในสนธิสัญญาธอมสัน-อูรูเตีย

... โดย “อเมริกา” เป็นประเทศแรกที่ยอมรับความเป็นอิสระของสาธารณรัฐที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่อย่าง “ปานามา” และได้ส่งกองทัพเรืออเมริกา เพื่อป้องกันไม่ให้ “โคลอมเบีย” ทำการยึดครองดินแดนในช่วงวันแรกของประเทศใหม่ เพื่อแลกกับบทบาทในการปกป้องปานามา และเพื่อสร้างคลองได้รับสัญญาเช่าบนที่ดินรอบคลอง ที่ต่อมาเรียกว่า “คลองปานามา” ซึ่งต่อมาได้คืนส่งกลับไปปานามาภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา Torrijos–Carter ที่ระบุว่า “อเมริกา” จะคืนการครอบครอง "คลองปานามา" ในปี 1999 หลังจากที่ครอบครองมาตั้งแต่ ปี 1903 รวมเป็นเวลา 96 ปี

คลิก

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"