ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยแพร่บทความเรื่อง "บทบาทของนโยบายการเงินเมื่อประสิทธิผลในการดูแลเงินเฟ้อลดลง" ผ่านในรายงานนโยบายการเงินฉบับล่าสุดว่า ประเทศไทยใช้กรอบนโยบายการเงินที่กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น
(flexible inflation targeting หรือ FIT) มาตั้งแต่ปี 2543 เพื่อดูแลเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งช่วยให้เงินเฟ้อ ของไทยมีเสถียรภาพไม่เคลื่อนไหว สูงเกินเป้าหมายได้อย่างดี
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างเศรษฐกิจโลก และไทยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในทศวรรษที่ผ่านมาทำให้พลวัตเงินเฟ้อ มีแนวโน้มต่ำลง อีกทั้งเสถียรภาพของระบบการเงินทวีความสำคัญมากขึ้นหลังเกิดวิกฤติการเงินช่วงปี 2551 ที่มีต้นตอจากการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินของสหรัฐ ด้วยพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนไปและ เสถียรภาพระบบการเงินที่มีความสำคัญมากขึ้น ทำให้ธนาคารกลางส่วนใหญ่ที่ใช้กรอบ เป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) ต้องเผชิญกับความท้าทายและข้อจำกัด ในการดำเนินนโยบายการเงินมากขึ้น
แม้ประสิทธิผลของนโยบายการเงิน ในการดูแลเงินเฟ้อลดลงในช่วงที่เงินเฟ้อต่ำ แต่เสถียรภาพด้านราคายังเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน เนื่องจาก
1.อัตราเงินเฟ้อที่สูงหรือต่ำเกินไป จะส่งผลกระทบต่อการวางแผนการออมและการลงทุน ซึ่งกระทบต่อกิจกรรมในระบบเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชน
2.การดูแลเสถียรภาพด้านราคาสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของนโยบายการเงินที่ในระยะยาวจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อเท่านั้น แต่จะไม่มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ณ ระดับศักยภาพ ดังนั้นการใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายสำคัญในการดำเนินนโยบายการเงินจึงยังเหมาะสม และการดูแลให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพยังเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงิน
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยควรพิจารณากำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อให้เหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มต่ำลงจากอดีต โดยเป้าหมายเงินเฟ้อที่เหมาะสมไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไป จนกระทบต่อประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายการเงิน นอกจากนี้ เป้าหมายอัตราเงินเฟ้อควรมีความยืดหยุ่น เพื่อให้ ธปท. สามารถดูแลเสถียรภาพด้านอื่น ควบคู่กันได้
โดย 1.ความเหมาะสมของเป้าหมายเงินเฟ้อในปัจจุบัน กนง. ให้พิจารณาข้อดีและข้อเสียของการกำหนดเป้าหมาย ณ ระดับอัตราเงินเฟ้อต่างๆ รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินอย่างรอบด้าน และเห็นว่าแนวทางการปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อจากระดับปัจจุบันในช่วงที่เหมาะสมจะช่วยทำให้เป้าหมายสอดคล้องกับพลวัตเงินเฟ้อของไทยในบริบทใหม่ที่มีแนวโน้มต่ำกว่าอดีตจากปัจจัยเชิงโครงสร้างเป็นสำคัญ
ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่นโยบายการเงินจะผ่อนคลายมากเกินไป และลดโอกาส ที่เงินเฟ้อจะต่ำกว่ากรอบเป้าหมายที่ ไม่เหมาะกับบริบทปัจจุบัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางหลายประเทศได้ปรับลด เป้าหมายเงินเฟ้อ เพื่อให้เป้าหมายสอดคล้องกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น ธนาคารกลางเกาหลีใต้ และธนาคารกลางนอร์เวย์
ทั้งนี้ แนวทางการปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อดังกล่าวอาจยังไม่เหมาะสมสำหรับช่วงปี 2562 เมื่อพิจารณาจากปัจจัยระยะสั้น และระยะยาว โดยระยะสั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสาธารณชนอาจชะลอการใช้จ่ายหากประเมินว่า นโยบายการเงินจะลดการผ่อนคลายลงอย่างมีนัยในระยะต่อไปจากการปรับลดเป้าเงินเฟ้อ ซึ่งอาจทำให้เงินเฟ้อคาดการณ์ปรับลดลง
สำหรับระยะยาวที่ต้องคำนึงถึง คือ ขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อรับมือกับวิกฤติในอนาคตอาจมีน้อยลง เนื่องจากการปรับลดเป้าเงินเฟ้อลงจะทำให้วัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นไม่สูงเช่นในอดีต ตามการคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลาง ที่ปรับลดลง ดังนั้นการคงเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.5% บวกลบ 1.5% ยังเป็นระดับ ที่เหมาะสมสำหรับระยะปานกลางและสำหรับปี 2562 ซึ่งจะเอื้อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจสอดคล้องกับศักยภาพของเศรษฐกิจไทย
ขณะที่ค่าความยืดหยุ่นของเป้าหมายเงินเฟ้อ 1.5% ยังเหมาะสมกับศักยภาพเศรษฐกิจไทย ในขณะที่ค่าความยืดหยุ่นของเป้าหมายเงินเฟ้อ 1.5% ยังเหมาะสม ในการรองรับความผันผวนที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในอนาคตเบี่ยงเบนออกจาก ค่ากลางของเป้าหมายในระยะสั้นได้
สำหรับการพิจารณากำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อในอนาคต ธปท. จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อพลวัตและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า รวมถึงการประเมินข้อดีข้อเสีย เพื่อให้การกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินในระยะต่อไปมีความเหมาะสมและเอื้อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.แนวทางการปรับเป้าหมายเงินเฟ้อ ให้เหมาะสมกับกรอบ FIT ในการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อควรมีความยืดหยุ่นพอที่ จะเอื้อให้ กนง. สามารถให้น้ำหนักในการดูแลเสถียรภาพด้านอื่นควบคู่ไปกับเสถียรภาพด้านราคาได้ โดยอาจพิจารณารูปแบบของเป้าหมายเงินเฟ้อแบบอื่น เช่น การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเฉพาะขอบบน การกำหนด เป้าหมายเงินเฟ้อเป็นแบบช่วง รวมทั้ง อาจทบทวนพันธกิจในการดูแลเสถียรภาพด้านราคาที่มองไปในระยะปานกลางมากขึ้น เช่นเดียวกับธนาคารกลางในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงิน ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น
Source: กรุงเทพธุรกิจ
- แถลงข่าวรายงานนโยบายการเงินไตรมาส 4 ปี 2561
-รายงานนโยบายการเงินไตรมาส 4: ฉบับเดือนธันวาคม 2561
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/