แบงก์กอดสภาพคล่อง ท่วม 4.83 ล้านล้าน

แบงก์รอเศรษฐกิจฟื้นครึ่งปีหลัง ระวังเงินไหลออก กอดสภาพคล่องท่วม 4.83 ล้านล้านบาท คาดทั้งปีเงินฝากโต 10.6% ชี้ทุกธนาคารเน้น “เพิ่มพอร์ตลงทุนบอนด์รัฐบาล-ปล่อยกู้ธปท.และถือเงินสด” บริหารต้นทุน หลายค่ายเซฟดอกเบี้ยจ่ายตํ่าแค่ 0.25% ต่อปี

การระบาดของโควิด-19 ที่กระจายไปทั่วโลก ทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศหันมาใช้นโยบายดอกเบี้ยตํ่า เพื่อบรรเทาผลกระทบส่งผลให้ดอกเบี้ยในระบบธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงด้วย ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ และดอกเบี้ยเงินฝาก แม้ช่วงแรกจะทำให้ประชาชนหันไปถือเงินสดมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง แต่ภาพรวมยังพบว่า สภาพคล่องยังไหลเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์จากยอดเงินฝากที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ผู้บริหารงานวิจัยกลุ่มงานวิจัย บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แนวโน้มเงินฝากปี 2563 คาดว่า จะอยู่ที่ประมาณ 14.6 ล้านล้านบาท จากสิ้นเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 14.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.5% หากเทียบไตรมาส 2 ปีนี้กับปีก่อน ดังนั้นช่วงที่เหลือจนถึงสิ้นปี มีโอกาสเติบโต 10.6% จากที่ขยายตัว 3.9% ณ สิ้นปีก่อน
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับสถานการณ์ที่มีความรุนแรง(Liquidity Coverage Ratio: LCR) ซึ่งเป็นการประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิใน 30 วันพบว่ามียอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่อง 4.835 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 3.730 ล้านล้านบาท และหากเทียบอัตราส่วน LCR ครึ่งปีนี้และช่วงเดียว กันปีก่อนอยู่ที่ 183.19% และ 180.5% ตามลำดับ และหากพิจารณาอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากรวมตั๋วแลกเงิน(บีอี)หรือL/D Ratioอยู่ที่ 92.82% ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 97.92%โดยยังเงินฝากเพิ่มขึ้นทั้งไตรมาส1ต่อเนื่องไตรมาส 2
“จากอัตราส่วน LCR ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงความแข็งแกร่งในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ขณะที่ L/D Ratio ที่ลดลงสะท้อนว่า ธนาคารพาณิชย์ยังเก็บสภาพคล่องโดยไม่ปล่อยกู้ ทำให้ยังเห็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากในเดือนมิถุนายน เพราะมีการปรับลดดอกเบี้ยลงในไตรมาส 2 ขณะที่แบงก์เองไม่แข่งขันระดมเงินฝากหลังครบกำหนดแคมเปญพิเศษ เพราะพยายามควบคุมต้นทุนด้วย แม้ดอกเบี้ยในตลาดจะปรับลดลงก็ตาม”
ด้านนายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคาร ทหารไทยหรือTMB Analyticsกล่าวว่า สถานการณ์สภาพคล่อง เริ่มต้นปี 2563 มีสินทรัพย์สภาพคล่องราว 4.03 ล้านล้านบาท แต่หลังการระบาดของโควิด-19 ประชาชนหันมาถือเงินสดในมือแทนการฝากเงินอย่างเห็นได้ชัด ทำให้สินทรัพย์สภาพคล่องทั้งระบบหายไปบางส่วนและเริ่มไหลกลับก่อนล็อคดาวน์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกองทุนหุ้น กองทุนพันธบัตร ทำให้เงินฝากในระบบเติบโตต่อเนื่อง และสูงถึง 4.83 ล้านล้านบาทในเดือนมิถุนายน
ส่วนสัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อสินทรัพย์ทั้งหมดทยอยปรับเพิ่มอย่างเห็นได้ชัดจากต้นปี 19.7% มาอยู่ที่ 21.6%(ณ สิ้นเดือนมิถุนายน) ขณะที่ส่วนอัตราส่วน LCR อยู่ที่ 183% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 สอดคล้องกับอัตราส่วน L/D Ratio ของธนาคารขนาดใหญ่ ซึ่งก่อนเกิดโควิด-19 เดือนมีนาคม L/D Ratio ยังอยู่ในภาวะปกติ ส่วนใหญ่จะเกิน 95% บางแห่งอาจจะเกิน 100% แต่หลังจากมีนาคมจะเห็น L/D Ratio ลดลงตามการชะลอปล่อยสินเชื่อของธนาคาร สะท้อนการเก็บรักษาสภาพคล่อง ทำให้สินทรัพย์สภาพคล่องทั้งระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งบางธนาคารแม้จะมีเงินฝากไหลเข้าสูง แต่ยังปล่อยสินเชื่อน้อย
ส่วนการบริหารสภาพคล่อง เพื่อรักษาต้นทุนนั้น เนื่องจากปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ มีเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากสะสมทรัพย์หรือ CASA ประมาณ 60% ของเงินฝากรายย่อยทั้งระบบ โดยเงินฝากรายย่อยทั้งระบบมี 7 ล้านล้านบาท ดังนั้น CASA จำนวน 4 ล้านล้านบาท จึงมีต้นทุนเงินฝากอยู่ที่ 0.25% ต่อปี
“ภาพรวมสภาพคล่องยังท่วมแบงก์ เนื่องจากมีเงินไหลเข้าต่อเนื่อง ซึ่งแบงก์ไม่จำเป็นต้องแข่งขันระดมเงินฝาก แต่เน้นรักษาสภาพคล่อง เพื่อสร้างเสถียรภาพระบบการเงิน และส่วนใหญ่เน้นบริหารสภาพคล่องแบบเดิม แต่อาจจะเพิ่มพอร์ตลงทุนในบอนด์รัฐบาลหรือปล่อยกู้แบงก์ชาติ และอาจจะถือเงินสดประมาณ 8% ของสินทรัพย์สภาพคล่อง โดยลดการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแบงก์ที่มีสัดส่วน CASA สูงจะบริหารต้นทุนได้ง่ายกว่าแบงก์ที่มีสัดส่วน CASA ตํ่า เพราะปัจจุบันบางแบงก์มีสัดส่วน CASA 60-70% ของเงินฝากทั้งระบบ ดังนั้นแบงก์ที่มีสัดส่วน CASA มากต้นทุนเงินฝากก็ไม่ถูกกดดันมาก”
สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลัง เชื่อว่า ภาพรวมธนาคารพาณิชย์ยังเน้นรักษาสภาพคล่องส่วนเกินดีกว่าปล่อยให้ขาดสภาพคล่อง เพราะหากเศรษฐกิจฟื้น หรือตลาดหุ้น หรือตลาดพันธบัตรฟื้นสภาพคล่องอาจจะโดนกดดันจากเงินฝากไหลออก ดังนั้น ตอนนี้ทุกคนรอดูท่าที ขณะที่เป้าสินเชื่อแต่ละธนาคารไม่สูงนักส่วนใหญ่เพียงประคองให้ไปได้ ซึ่งสินเชื่อรายใหญ่ที่ไม่สามารถออกหุ้นกู้ก็หันมาใช้บริการสินเชื่อแบงก์ในช่วงที่ผ่านมา แต่แนวโน้มหากตลาดหุ้นกู้กลับมาดีมีเสถียรภาพมากขึ้นสินเชื่อรายใหญ่อาจจะหันไปออกหุ้นกู้โดยเฉพาะเมื่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในการออกหุ้นกู้ตํ่าลง
Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

คลิก

----------------------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"