“เงิน”มีหน้าที่ทำงานหนักให้เรา (ตอนที่ 3) ความเสี่ยงสูง – ผลตอบแทนสูง – ลงทุนอย่างไร?

ทุกท่านคงคุ้นเคยกับประโยคนี้ “การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาก่อนลงทุน” และเชื่อมั่นว่านักลงทุนทุกท่านที่ตัดสินใจที่จะเริ่มทำการลงทุน พร้อมจะรับความเสี่ยง ดิฉันอยากทำความเข้าใจก่อนว่า “ความเสี่ยง”

นั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่จากการลงทุนเท่านั้น หากท่านออมเงิน เก็บไว้ในบัญชีเงินฝากธนาคารก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ประการแรกหากมีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท แล้วเกิดวิกฤตจนธนาคารปิดตัวลง เงินฝากของคุณได้รับการรับประกันเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะเปิดไว้ต่างธนาคาร ประการที่สองคือ เงินเฟ้อ คิดง่ายๆ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ประมาณ 1%-2% ต่อปี แต่เงินเฟ้อมีการผันผวนสูงกว่าเฉลี่ยเงินเฟ้อของไทยอยู่ปีละ 3% หากดูประวัติย้านหลัง 10 ปีบางช่วงเงินเฟ้อของไทยก็พุ่งสูง 5%-10% เพียงค่าสองข้อนี้ เงินสะสมของคุณก็มีความเสี่ยงในการลดค่า หรือสูญค่าในระยะยาวแล้ว

ดิฉันเห็นด้วยว่า “นักลงทุนควรศึกษาก่อนลงทุน” ก่อนจะศึกษาดิฉันแนะนำให้สำรวจตัวเองก่อนว่า “รับความเสี่ยงได้เท่าไหร่” วิธีสำรวจก็ง่ายมากๆเลย แค่คุณถามตัวเองว่า เงินก้อนนี้ที่คุณจะทำการลงทุน คุณจะยอมสูญเสียได้มากแค่ไหน? แต่ไม่ควรตอบว่าไม่ต้องการสูญเสียเลย ถ้าคำตอบเช่นนี้คุณไม่เหมาะที่จะเข้ามาทำการลงทุนในตลาดการเงินเลย และเงินของคุณก็จะลดค่าตามที่ดิฉันได้อธิบายเบื้องต้น เช่น รับความสูญเสียได้ต่ำ 5%-10% รับความสูญเสียได้ปานกลาง 10%-20% และรับความสูญเสียได้สูง มากกว่า20% อีกทั้งนักลงทุนหนึ่งคนอาจจะมีพอร์ตการลงทุนที่มีความเสี่ยงหลากหลาย เช่น รับความเสี่ยงได้สูง แต่คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนแต่ในสินทรัพย์ความเสี่ยงสูงทั้งหมด อาจมีการผสมผสานกับความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงต่ำ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงเลือกการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อ “บริหารความเสี่ยง” ด้วยตัวคุณเอง

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินนั้นมีมากมาย เริ่มตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำมาก จนความเสี่ยงสูงมาก แต่ดิฉันแนะนำให้ทุกท่านสร้างพื้นฐานที่ดีสำหรับชีวิตตนเองให้เพียงพอต่อความจำเป็นก่อน นั้นคือ การปกป้องความสามารถในการสร้างรายได้ของตนเอง รวมถึงภาระหนี้สินในกรณีที่เราไม่สามารถส้รางรายได้ และการรักษาพยาบาลตั้งแต่อาการป่วยเล็กน้อย จนโรคร้าย อีกทั้งต้องสำรองเงินสำหรับค่าใช้-จ่ายจำเป็น และฉุกเฉินด้วย หลังจากนั้นคุณจะสามารถเริ่มจะลงทุนด้วยความสุขอย่างแท้จริง ดิฉันจะแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์ทางการเงินง่ายด้วยความเสี่ยง 3 ระดับ ได้แก่
1. ความเสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากประจำ(แบบปลอดภาษี), ตราสารหนี้ต่างๆ (พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วคลัง, ตั๋วสัญญาใช้เงิน, หุ้นกู้), สลากออมสิน, ทองคำแท่ง และกองทุนรวมที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น โดยภาพรวมผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องถือครองในระยะเวลานาน

2. ความเสี่ยงปานกลาง เช่น ตราสารทุน (หุ้นสามัญ, หุ้นบุริมสิทธิ, ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ฯลฯ) และกองทุนต่างๆ ที่ลงทุนในหุ้น,อสังหาริมทรัพย์,หุ้นตัวเล็ก ฯลฯ

3. ความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นปั่น, ตราสารอนุพันธ์ (Future โกลด์ฟิวเจอร์, Option, Tfex), Forex, Digital Options และดิจิตอลเคอเรนซี่ เป็นต้น

โดย นิรมล นิตย์นิธิพฤทธิ์ (นักวิเคราะห์การเงิน, Olymp Trade)

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"