ปธน.ไบเดน ประกาศยืนยันการตัดสินใจถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยืนยันจุดยืนการเดินหน้าถอนกำลังทหารสหรัฐฯ ออกจากอัฟกานิสถาน ในระหว่างการแถลงความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กลุ่มตาลิบันเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกรุงคาบูลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

ในการแถลงผ่านสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศในวันจันทร์ ปธน.ไบเดน กล่าวว่า ภารกิจของกองทัพสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานนั้น “ไม่เคยเป็นเรื่องของการช่วยสร้างชาติ” และกล่าวว่า ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายที่นำพาให้ทหารสหรัฐฯ ต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศนี้ กลับขยายผลเป็นวงกว้างออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียงด้วย
ผู้นำสหรัฐฯ ยังยอมรับด้วยว่า การที่กลุ่มตาลิบันมีชัยชนะในการยึดพื้นที่ต่างๆ ทั่วอัฟกานิสถานนั้น เกิดขึ้น “อย่างเงียงสงบกว่าที่คาดไว้” พร้อมย้ำว่า การสั่งการให้ทหารสหรัฐฯ เข้าสู้รบในกรณีนี้เป็นสิ่งที่ผิด เพราะแม้แต่กองกำลังอัฟกันเองยังไม่คิดจะจับอาวุธขึ้นมาสู้ด้วยซ้ำ
กองกำลังสหรัฐฯ ได้เข้าไปประจำการในอัฟกานิสถานเป็นเวลาเกือบ 20 ปี ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีสหรัฐฯ 4 คน จนกระทั่ง ปธน.ไบเดน ประกาศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า จะเริ่มถอนกำลังกลับภายในสิ้นเดือนสิงหาคม โดยไม่สนใจคำแนะนำของเพนตากอนให้คงกองกำลังบางส่วนไว้ด้วย
ในวันจันทร์ สมาชิกกลุ่มกบฏตาลิบันออกตระเวนพื้นที่รอบกรุงคาบูล หลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี อัชราฟ กานี สำเร็จเมื่อ 24 ชั่วโมงก่อนหน้า ขณะที่ พลเรือนชาวอัฟกันนับพันพากันไปยังสนามบินเพื่อหาทางออกนอกประเทศ เพราะความกลัวว่า การกลับมาคืนสู่อำนาจของกลุ่มกบฏนี้จะทำให้การเดินทางออกนอกอัฟกานิสถานเป็นไปได้ยาก ก่อนที่ การบินพลเรือนอัฟกานิสถานออกแถลงการณ์ในช่วงเช้าวันจันทร์ว่า พื้นที่สนามบินสำหรับพลเรือน “ถูกปิดไปอย่างไม่มีกำหนดเปิด” แล้ว
และในระหว่างการประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินัดฉุกเฉินในวันจันทร์ เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) อันโตนิโอ กูเทอเรซ กล่าวว่า “ทั่วทั้งโลกกำลังจับตาดู” สถานการณ์ในอัฟกานิสถาน ในช่วงเวลาสำคัญเช่นนี้ พร้อมเรียกร้องให้กลุ่มตาลิบัน “ใช้ความยับยั้งชั่งใจให้มากที่สุด” เพื่อปกป้องชีวิตของชาวอัฟกันและเปิดทางให้มีการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปสู่ผู้ที่เดือดร้อนได้
รายงานข่าวระบุว่า ประชาขนราว 18 ล้านคนในอัฟกานิสถาน หรือครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศนี้ อยู่ในภาวะยากแค้นและต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ก่อนที่จะเกิดการยึดอำนาจของตาลิบันเสียอีก และสถานการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นยิ่งทำให้เกิดความกลัวว่า อาจจะเกิดหายนะวิกฤตด้านมนุษยธรรมขึ้นได้ในไม่ช้า
ขณะเดียวกัน ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้ง 15 ประเทศ ออกแถลงการณ์ร่วมกันที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการต่อสู้ทั้งหมด และให้มีการจัดตั้ง “รัฐบาลชุดใหม่ ที่มาจากการพูดคุยเจรจาที่เปิดทางให้ทุกฝ่ายเข้ามีส่วนร่วม เพื่อให้ได้ฝ่ายปกครองที่มีความสามัคคี ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และเป็นเป็นตัวแทนของทุกฝ่าย อันรวมถึงการมีสมาชิกเป็นผู้หญิงอย่างมีนัยสำคัญและเท่าเทียมกันด้วย”
อย่างไรก็ตาม รัสเซีย และ จีน แสดงท่าทีที่มีลักษณะไม่กดดันตาลิบันมากนัก โดย วาสสิลี เนเบนเซีย เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำองค์การสหประชาชาติกว่าว่า “ไม่มีเหตุผลที่จะต้องตื่นตระหนก” และ “จุดสำคัญก็คือ ทุกฝ่ายต้องหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดในกลุ่มพลเรือนให้ได้” ขณะที่ เกิง ช่วง อุปทูตจีนประจำองค์การสหประชาชาติ กล่าวต่อที่ประชุมว่า “สถานการณ์ในอัฟกานิสถานนั้นกำลังก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอยู่” และว่า จีนขอเคารพต่อจิตวิญญาณและทางเลือกของประชาชนชาวอัฟกัน

**********
ไบเดนแถลงครั้งแรกหลังคาบูลแตก ยันคิดถูกแล้วถอนทัพ อัดทหารอัฟกันไม่ยอมสู้ : โจ ไบเดน ยืนยัน ทำถูกแล้วที่ถอนทหารจากอัฟกานิสถาน แม้จะถูกวิจารณ์ว่าทำผิดพลาดจนตาลีบันยึดกรุงคาบูลสำเร็จ เขายังกล่าวโทษกองทัพอัฟกันว่าไม่ยอมต่อสู้ด้วยตัวเองด้วย
สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กลุ่มติดอาวุธตาลีบันประกาศชัยชนะ หลังจากพวกเขายึดการควบคุมเมืองหลวงกรุงคาบูลได้สำเร็จ และประธานาธิบดี อัชราฟ กานี หลบหนีออกนอกประเทศ กลายเป็นฉากจบอันเลวร้าย ที่สะท้อนถึงความล้มเหลวของปฏิบัติการทางทหารของกองกำลังนานาชาตินำโดยสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน ที่ดำเนินมานานเกือบ 20 ปี
กลุ่มตาลีบันเริ่มการบุกโจมตีพื้นที่ต่างๆ ของอัฟกานิสถาน หลังจากสหรัฐฯ เริ่มถอนกองกำลังทหารครั้งสุดท้าย โดยตาลีบันยึดเมืองสำคัญได้อย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความตกตะลึงให้ผู้สังเกตการณ์หลายคน เนื่องจากบางพื้นที่ตาลีบันสามารถชิงไปได้โดยไม่เกิดการต่อสู้ด้วยซ้ำ เช่นเดียวกับที่กรุงคาบูล
ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ผู้กำลังถูกโจมตีอย่างหนักว่าตัดสินใจผิดพลาดที่ถอนทหารออกมาตอนนี้ เดินทางกลับถึงทำเนียบขาวในวันจันทร์ที่ 16 ส.ค. 2564 หลังจากไปพักผ่อนที่แคมป์ เดวิด ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในอัฟกานิสถานเป็นครั้งแรกในรอบเกือบสัปดาห์
ไบเดนยอมรับว่า การลพังทลายของรัฐบาลอัฟกานิสถานและการกลับมายึดการควบคุมของตาลีบัน เกิดขึ้นเร็วกว่าที่รัฐบาลสหรัฐฯ คาดเอาไว้มาก แต่เขายังคงยืนกรานว่า การตัดสินใจยุติปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานที่ดำเนินมานานเกือบ 20 ปี เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว และภารกิจของสหรัฐฯ ไม่ใช้การสร้างประเทศ พร้อมกับกล่าวโทษรัฐบาลอัฟกัน ที่ตาลีบันกลับมากุมอำนาจอีกครั้ง
“ผมขอยืนยันหนักแน่นนการตัดสินใจของผม หลังจากผ่านมา 20 ปี ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์อันเจ็บปวดว่า ไม่เคยมีช่วงเวลาที่ดีในการถอนกองทัพสหรัฐฯ” ไบเดนแถลงที่ห้องตะวันออกของทำเนียบขาว “เพราะเหตุนั้น เราถึงยังอยู่ที่นั่น เราเห็นความเสี่ยงชัดเจน เราวางแผนสำหรับทุกความเป็นได้ที่จะเกิดขึ้น แต่ผมก็สัญญามาตลอดว่าผมจะพูดตรงๆ กับชาวอเมริกัน ความจริงก็คือ เรื่องนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราคาดไว้มาก”
ไบเดนเสริมว่า ผลประโยชน์ที่สหรัฐฯ สนใจในอัฟกานิสถานคือการป้องกันการโจมตีก่อการร้ายในแผ่นดินสหรัฐฯ ซึ่งภารกิจนั้นสำเร็จลุล่วงแล้ว และเขาคัดค้านคำสั่งของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ในปี 2552 ที่ให้เสริมกำลังทหารในอัฟกานิสถานเพิ่มอีกหลายพันนาย สมัยที่เขาเป็นรองประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังกล่าวโทษกองทัพอัฟกานิสถานที่ไม่ยืนหยัดต่อสู้กับการบุกสายฟ้าแลบของตาลีบัน นอกจากนั้น ผู้นำอัฟกันก็สมควรถูกกล่าวโทษด้วย “แล้ว มันเกิดอะไรขึ้น? ผู้นำทางการเมืองอัฟกานิสถานยอมแพ้และหนีออกจากประเทศ” ไบเดนกล่าว “กองทัพอัฟกันพังทลาย บางครั้งไม่ได้พยายามจะต่อสู้ด้วยซ้ำ ถ้าจะมีเหตุผลอะไรสักอย่าง พัฒนาการที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตอกย้ำว่าการยุติการมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถานตอนนี้ เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง”
“กองทัพอเมริกันไม่สามารถ และไม่ควรต้องต่อสู้ในสงครามและเสียชีวิตในศึกที่กองทัพอัฟกันไม่ยอมที่จะต่อสู้ด้วยตัวเอง”
นายไบเดนย้ำด้วยว่า เขาได้รับสืบทอดข้อตกลงกับตาลีบัน ซึ่งเจรจาภายใต้การบริหารของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งให้สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานภายในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และตอนนี้เขาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 4 แล้วที่ต้องรับผิดชอบในสงครามอันยาวนานที่สุดของอเมริกา และเขาจะไม่ส่งต่อความรับผิดชอบนี้ไปให้ประธานาธิบดีคนที่ 5
“ผมจะไม่ชี้นำชาวอเมริกันในทางที่ผิด โดยอ้างว่า การอยู่ในอัฟกานิสถานต่อไปอีกสักพักจะช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรได้”
นายไบเดนบอกด้วยว่า ภายในไม่กี่วันข้างหน้า กองทัพสหรัฐฯ จะเริ่มให้ความช่วยเหลือในการอพยพชาวอัฟกันที่ได้รับสิทธิ์ตามวีซ่าเข้าเมืองพิเศษ (special immigration visa : SIV) พร้อมกับครอบครัวไปยังสหรัฐฯ ขณะที่การรับผู้อพยพจะถูกขยายให้ครอบคลุมชาวอัฟกันที่มีความเสี่ยงซึ่งทำงานให้กับสถานทูตสหรัฐฯ, องค์กรเอ็นจีโอของสหรัฐฯ และสื่อของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ หนึ่งในประเด็นที่รัฐบาลไบเดนถูกโจมตีมากที่สุดคือการอพยพผู้ถือวีซ่า SIV ล่าช้า โดย ส.ส.และหน่วยงานต่างๆ เรียกร้องให้อพยพคนกลุ่มนี้มานานหลายเดือนแล้ว อย่างไรก็ตาม ไบเดนอ้างว่า เหตุผลที่ไม่ดำเนินการเร็วกว่านี้เป็นเพราะ ชาวอัฟกันบางคนไม่อยากออกไปจนกว่าสถานการณ์จะเลวร้ายจริงๆ และกล่าวโทษรัฐบาลอัฟกันว่า ไม่ต้องการให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ เพื่อเลี่ยงวิกฤติความเชื่อมั่น
ไบเดนยืนยันด้วยว่า สหรัฐฯ บอกกับกลุ่มตาลีบันอย่างชัดเจนแล้วว้า หากพวกเขาโจมตีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หรือขัดขวางปฏิบัติการของสหรัฐฯ อเมริกันจะตอบโต้อย่างรวดเร็วและรุนแรง
Source: ไทยรัฐออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"