นิสัยการลงทุนที่ดี นักลงทุนทุกคนควรมี

ความรู้การลงทุนเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็น แต่นิสัยการลงทุนที่ดีเป็นอีกปัจจัยพื้นฐานที่จะช่วยให้การลงทุนประสบความสำเร็จในระยะยาว นิสัยการลงทุนแต่ละนิสัยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น การออมก่อนใช้ทีหลัง ช่วยให้มีเงินออมพร้อมเปลี่ยนไปเป็นเงินลงทุน

ส่วนการกระจายการลงทุนหรือการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีค่าทำเนียมต่ำ ก็ช่วยให้เงินลงทุนสร้างผลตอบแทนจนบรรลุเป้าหมายการเงินในระยะยาวได้ หากไม่มีนิสัยที่ดีก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงิน การสร้างนิสัยการลงทุนที่ดีเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ดังนั้นต้องหมั่นปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 อาจเป็นจุดเริ่มต้นการลงทุนของใครหลายคน หรืออาจเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนที่มีอยู่ในตลาดมาก่อนแล้ว ความรู้เป็นทั้งพื้นฐานและสิ่งสำคัญเพื่อการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ การลงทุนก็เป็นอีกองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญไม่แพ้กัน นิสัยการลงทุนที่ถูกต้องและมีวินัยจะช่วยนำไปสู่การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ นิสัยที่ดีในการลงทุนนักลงทุนควรมีอะไรบ้าง

1.ใช้จ่ายน้อยกว่ารายรับ

นิสัยแรกที่นักลงทุนทุกคนควรมีก็คือ การใช้จ่ายน้อยกว่ารายรับ ไม่ใช่เพียงแค่ควบคุมการใช้จ่ายแต่ต้องวางแผนและควบคุมการก่อหนี้ ซึ่งจะเป็นภาระการเงินแต่ละเดือนในอนาคต ในทางกลับกันถ้ามีรายจ่ายมากกว่ารายรับต้องลดหนี้ที่มีอยู่ จากนั้นก็กลับมาเริ่มนิสัยออมก่อนใช้ทีหลัง และวางแผนการใช้จ่ายให้น้อยกว่ารายรับ รับรองเลยแต่ละเดือนจะมีเงินเหลือให้ออมและลงทุนได้อย่างแน่นอน

2. ออมก่อน ใช้ทีหลัง

เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่มีการออมเงินตั้งแต่วินาทีที่เงินเดือนถูกโอนเข้าบัญชีแล้ว นั่นก็คือการหักเงินสะสมในประกันสังคมแต่มันไม่เพียงพอ ดังนั้นต้องอย่าลืมวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดี เพื่อบริหารให้เงินออมเหลือมากยิ่งขึ้น

การออมก่อนใช้ทีหลัง ช่วยให้นักลงทุนมีเงินลงทุนทั้งสำหรับการลงทุนหรือใช้ยามฉุกเฉิน โดยเป็นนิสัยแรกที่นักลงทุนต้องมี นอกจากเป็นการส่งเสริมนิสัยการออมแล้วยังช่วยให้ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย ถ้าขาดคุณสมบัติข้อนี้ไปการลงทุนที่ประสบความสำเร็จแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย

3. มีเงินสำรองฉุกเฉินเคียงคู่แผนเกษียณ

ในช่วงสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ อุบัติเหตุ การถูกเลิกจ้าง และอีกหลายเหตุการณ์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายยากที่จะคาดเดาได้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินอย่างแน่นอน การมีเงินทุนสำรองยามฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิด ซึ่งนักวางแผนการเงินมืออาชีพแนะนำให้มีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6-12 เดือน
และควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วย เผื่อไว้ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนงานกระทันหันซึ่งอาจใช้เวลาหางานใหม่นานขึ้น และต้องคำนึงถึงสิทธิประโยชน์จากนายจ้างที่หายไปจากการว่างานด้วย อย่างเช่นประกันสุขภาพ เมื่อวางแผนสำหรับเงินฉุกเฉินซึ่งเป็นเป้าหมายการเงินระยะสั้นเรียบร้อยแล้ว ก็ไปกันต่อที่แผนการเงินระยะยาวที่มีความจำเป็นคือวางแผนเกษียณ เริ่มจากประมาณอายุขัยและคำนวณเงินที่ต้องใช้แต่ละเดือนหลังเกษียณ เพื่อตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเปรียบเทียบกับการออมเงินในปัจจุบันว่าเพียงพอต่อแผนการเกษียณหรือไม่ สุดท้ายหมั่นทบทวนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ

4. กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์

หลายคนอาจเริ่มเปลี่ยนเงินออมในแต่ละเดือนจากบัญชีฝากไปสู่การลงทุนที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่นกองทุนรวม หุ้น ซึ่งช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเงินได้เร็วขึ้น แต่ "การลงทุนมีความเสี่ยง" เป็นประโยคที่นักลงทุนได้ยินการจนเคยชินตาสะท้อนความจริงในตลาดการเงินได้เป็นอย่างดี
แต่ถ้าเรากลัวความเสี่ยงจนไม่ลงทุนอะไรเลยก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำส่วนทางภาระค่าใช้จ่ายแบบนี้ "การกระจายการลงทุน" เป็นแนวคิดที่ง่ายแต่มีประสิทธิภาพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้พอร์ตขาดทุนอย่างหนัก จนส่งผลต่อเป้าหมายการเงินซึ่งจะเห็นผลดีในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงหรือในช่วงที่เกิดวิกฤต

5. เลือกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีค่าทำเนียมต่ำ

เมื่อกระจายการลงทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พอร์ตการลงทุนก็จะประกอบไปด้วยหลากหลายสินทรัพย์ เช่น หุ้นในประเทศ กองทุนหุ้นต่างประเทศ กองทุนตราสารหนี้ และเงินสด "ผลตอบแทนเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่ค่าทำเนียมเป็นสิ่งที่ต้องเสียอย่างแน่นอน" เป็นประโยคที่ต้องนึกถึงตลอดก่อนการตัดสินใจที่จะลงทุน "ค่าธรรมเนียม" เป็นสิ่งที่เราต้องสนใจก่อนเลือกลงทุน เพราะการเลือกลงทุนในสินทรัพย์เดียวกันแต่ค่าทำเนียมสูงกว่า ทำให้นักลงทุนสูญเสียผลตอบแทนไปโดยไม่จำเป็น

6. มีผู้แนะนำการลงทุนที่ไว้ใจได้

การมีผู้ที่คอยให้คำแนะนำการลงทุนในช่วงเริ่มต้นอาจจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า ถ้าเราต้องเจอกับตลาดขาลงในช่วงวิกฤติ หรือราคาสินทรัพย์ในพอร์ตร่วงอย่างหนักแบบลำพัง
ดังนั้น ผู้แนะนำนอกจากช่วยแนะนำทิศทางการเงินตามเป้าหมายแล้ว ยังช่วยเป็นทั้งเพื่อนและกำแพงกั้นระหว่างนักลงทุนและตลาดในเวลาที่ไม่ดีอีกด้วย

7. ใช้สวัสดิการสูงสุดที่มีจากนายจ้าง

เป็นนิสัยของนักลงทุนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนภาพไม่ได้ สวัสดิการด้านการเงิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

เงินออม : ประกอบไปด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสวัสดิการที่ส่งเสริมให้มีการลงทุนระยะยาวเพื่อเลี้ยงชีพช่วงเวลาว่างานหรือเกษียณ อย่างไรก็แล้วแต่การกระจายการลงทุนและปรับสัดส่วนสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ได้รับเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด

ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต : เป็นสวัสดิการที่มีความสำคัญที่สุดก็ว่าได้ ถ้าเจ็บป่วยหรือมีความจำเป็นต้องรักษาพยาบาลก็ควรใช้สวัสดิการดังกล่าวอย่างเต็มที่ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะในช่วงที่ข้ารักสาพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

การใช้สวัสดิการจากนายจ้างให้ตรงกับความต้องการ จะช่วยให้นักลงทุนมีเงินลงทุนสำหรับการใช้ชีวิตมากขึ้น และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนเพิ่มเติมได้อีก ถ้าใครเริ่มสร้างพฤติกรรมที่ดีทั้ง 7 อย่างนี้จนเป็นนิสัย ควบคู่ไปกับการหาความรู้การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถก้าวหน้าขึ้นมาเป็นนักลงทุนที่รอดพ้นทุกวิกฤต และประสบความสำเร็จในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"