ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง โดยเฉพาะในประเทศที่การ์ดตก การบังคับใช้ มาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ต้นตอของ โรคโควิด-19 ยังคงเป็นเรื่องจำเป็น รวมถึงการรักษาระยะห่าง
และพยายามออกไปอยู่ในที่ชุมชนให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ จึงทำให้ไลฟ์สไตล์ของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนไป เปิดโอกาสให้ธุรกิจการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในอินเดีย ที่มีพลเมืองมากมายมหาศาล เติบโต อย่างก้าวกระโดดไม่แพ้จีน
บรรดาบริษัทสัญชาติสหรัฐและอินเดียจึงพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจระบบการจ่ายเงินทางออนไลน์ที่ขยายขอบเขตครอบคลุมมากขึ้นในอินเดีย ซึ่งถือเป็นตลาดจ่ายเงินออนไลน์ขนาดใหญ่สุดของโลก
ล่าสุด ธนาคารทุนสำรองอินเดีย หรือธนาคารกลางอินเดีย มีแผนสร้าง ระบบการจ่ายเงินแบบใหม่ โดยมีบริษัท 6 แห่งร่วมทุน รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ ด้านอีคอมเมิร์ซอย่าง อเมซอน ดอท คอม และบริษัทสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค ที่เตรียมยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการแล้ว
เมื่อเดือนก.พ.2563 ธนาคารกลางอินเดีย ประกาศแผนเชื้อเชิญผู้สนใจ ให้ยื่นใบสมัครเพื่อรับใบอนุญาต่อตั้ง New Umbrella Entity (เอ็นยูอี) ซึ่ง ภายใต้เอ็นยูอีนี้ บริษัทต่างๆ สามารถสร้างและบริหารระบบจ่ายเงินรายย่อยทั่วประเทศได้
ธนาคารกลางอินเดีย กำหนดเส้นตายสำหรับการยื่นใบสมัครพร้อมยื่นรายละเอียดเกี่ยวกับแผนธุรกิจได้จนถึงปลายเดือนมี.ค.2564 ผู้ที่จะได้ใบอนุญาต จะเป็นผู้ที่ได้รับ ความไว้วางใจให้รับผิดชอบในเรื่องกว้างๆ รวมถึง วิธีการชำระหนี้ มาตรฐาน การดำเนินงานด้านต่างๆ และการพัฒนาเทคโนโลยี
แม้ยังไม่มีการประกาศรายชื่อบริษัท ที่สนใจอย่างเป็นทางการจากธนาคารกลางออกมา แต่ขณะนี้มี 6 บริษัทที่สนใจเข้าร่วม คือ กลุ่มบริษัทรีไลแอนซ์ ซึ่งเน้นดำเนินธุรกิจ ด้านพลังงานแต่ปัจจุบัน กำลังขยายธุรกิจไปยังกลุ่มค้าปลีก กำลังร่วมมือกับกูเกิล กลุ่มบริษัทสืบค้นข้อมูลชั้นนำของโลก และเฟซบุ๊ค บริษัทสื่อสังคมออนไลน์ ให้บริการการจ่ายเงินทางออนไลน์
วอทส์แอพ ผู้ให้บริการแอพรับส่งข้อความฟรีสำหรับไอโฟนและสมาร์ทโฟน อื่นๆ ของเฟซบุ๊ค มีผู้ใช้งานในอินเดีย 400 ล้านคน ก็ให้บริการชำระเงินบนมือถือด้วย ขณะที่ไอซีไอซีไอ แบงก์ และเอซิส แบงก์ ซึ่งจะเป็นหุ้นส่วนกับกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีอย่างอเมซอน เป็นธนาคารเอกชนรายใหญ่อันดับสองและสามในอินเดีย
เจ้าหน้าที่ของเอซิส แบงก์ เปิดเผยกับสื่อท้องถิ่นว่า การร่วมทุนของพวกเขา เพื่อให้บริการด้านนี้ เป็นการรวมตัวของ กลุ่มธนาคารที่ก่อตั้งมาช้านานที่มีประสบการณ์หลายสิบปีและเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านฟินเทค พร้อมทั้งอ้างว่า การร่วมทุนครั้งนี้ มีข้อได้เปรียบเพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากและมีเครือข่ายการจ่ายเงินขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม บรรดาบริษัทให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารสัญชาติสหรัฐรายใหญ่ๆ ไม่สามารถเข้าไปดำเนินธุรกิจในจีนได้ เพราะปัญหาการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลปักกิ่ง และปัญหาอื่นๆ แต่สามารถลงทุนในอินเดียได้ โดยคาดว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลจะขยายตัว อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊คและกูเกิล ทำงานร่วมกับรีไลแอนซ์ เป็นหุ้นส่วน ขอใบอนุญาตเอ็นยูอี และทั้งสองบริษัท ยังถือหุ้นในบริษัทด้านโทรคมนาคมในเครือของรีไลแอนซ์ด้วย
บรรดาบริษัทในประเทศเองก็เล็ง ที่จะขยายธุรกิจการจ่ายเงินของตัวเอง ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยการยื่นขอใบอนญาตเอ็นยูอี อย่างกรณีเพย์ทีเอ็ม สตาร์ทอัพยูนิคอร์นด้านอีคอมเมิร์ซและ การจ่ายเงิน ที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ และเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจให้บริการจ่ายเงิน ในอินเดีย จะจับมือกับบริษัทโอลา ผู้ให้บริการ เรียกรถรับจ้างและหุ้นส่วนรายอื่นๆ โดย "วิชัย เชการ์ ชาร์มา" ประธาน คณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)เพย์ทีเอ็ม บอกว่า การร่วมทุนครั้งนี้เป็นตัวแทนของธุรกิจให้บริการการจ่ายเงินทุกรูปแบบ
ในอินเดียนั้น "บริษัทเนชั่นแนล เพย์เมนท์ คอร์ป ออฟ อินเดีย" (เอ็นพีซีไอ) ซึ่งมีบริษัทการเงินเข้าร่วมกว่า 60 แห่ง บริหาร"ยูนิฟายด์ เพย์เมนท์ส์ อินเทอร์เฟซ" ระบบการจ่ายเงินทางออนไลน์ระหว่างธนาคาร
"เอซีไอ เวิลด์ไวด์" บริษัทซอฟต์แวร์ระดับโลกที่ให้บริการโซลูชั่นการชำระเงินแบบเรียลไทม์ ระบุว่า จำนวนการจ่ายเงิน แบบเรียลไทม์ในอินเดียเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์มีมูลค่า 25,500 ล้านดอลลาร์ ในปี 2563 ถือเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก สูงกว่าจีนที่มีการทำธุรกรรมคิดเป็น มูลค่า 15,700 ล้านดอลลาร์
"เจเรมี วิลมอท" ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเอซีไอ เวิลด์ไวด์ กล่าวว่า "การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตอกย้ำถึงความสำคัญของระบบชำระเงินดิจิทัล รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระบบชำระเงินที่แข็งแกร่ง เป็นการย่นย่อการปรับใช้นวัตกรรม ที่คาดไว้ช่วง 10 ปี ให้เหลือเพียงปีเดียว และทำให้พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร แม้หลังจากที่วิกฤติผ่านไป ประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินดิจิทัลที่แข็งแกร่งจะสามารถรับมือ กับสถานการณ์ดังกล่าวได้ดีกว่าประเทศ ที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม"
ด้าน"ซามูเอล เมอร์แรนท์" หัวหน้า นักวิเคราะห์ฝ่ายระบบชำระเงินของ "โกลบอลดาต้า" กล่าวว่า การชำระเงิน แบบเรียลไทม์ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นทั่วโลก และโดยมากแล้วหลายประเทศมุ่งเน้น ใช้งานส่วนของการชำระเงินระหว่างบุคคล (P2P)
แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของ บริษัทให้บริการด้านการจ่ายเงินแบบ เรียลไทม์ในอินเดีย ก็เพิ่มแรงกดดันแก่ระบบดั้งเดิมที่มีอยู่ โดยธนาคารกลางของอินเดีย ระบุเมื่อปี 2562 ว่า ในสถานการณ์ที่ระบบการจ่ายเงินของประเทศดำเนินการ โดยบริษัทไม่กี่แห่ง กำลังสร้างความวิตกกังวล มากขึ้นในประเด็นต่างๆ รวมถึง ขีดความสามารถ ด้านการแข่งขัน และผลกระทบทาง เศรษฐกิจ
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you