ธุรกิจฟินเทคในไทยเติบโต อย่างเข้มแข็ง ผู้ประกอบการชี้บุคลากรเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เข้าข่าย ขาดแคลนระดับวิกฤติ แนะรัฐออกมาตรการส่งเสริมโปรแกรมแลกเปลี่ยนหรือ พาร์ทเนอร์ชิพกับต่างประเทศ ด้าน"เอ็นไอเอ"
ระบุผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพการเงินมีศักยภาพสูง ต้องการทักษะระดับสากล
ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม "ฟินเทค" หรือ ไฟแนนเชียล เทคโนโลยี โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาได้รับการผลักดันและพัฒนาอย่างมากจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Regulatory sandbox การออกข้อบังคับและอื่นๆ ตลอดจนการบ่มเพาะทักษะความรู้อย่างเข้มข้นให้กับบุคลากรสายนี้ ส่งผลให้ระบบนิเวศด้านฟินเทคในไทยเติบโตชัดเจน
นางสาวชญานิษฐ์ ศรีนาคอ่อน ซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัท ฟินสตรีท จำกัด กล่าวว่า"ฟินสตรีท" แพลตฟอร์มบริหารจัดการหนี้สิน เป็นสตาร์ทอัพกลุ่ม ฟินเทคได้รับทุนอุดหนุนจากโครงการ "แปลงเทคโนโลยีเป็นทุน" ภายใต้การสนับสนุนในโครงการนวัตกรรมแบบเปิด ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือเอ็นไอเอ นอกจากเงินทุนแล้วยังมีการบ่มเพาะทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเงิน และแมทชิ่ง ก่อเกิดเป็นระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง
ผู้ร่วมก่อตั้ง "ฟินสตรีท" เป็น ผู้ที่อยู่ในสายงานธนาคารมาก่อน ทำให้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่ก็ยังต้องการบุคลากรทั้งในสายการเงินและเทคโนโลยีอีกมาก เพราะปัญหาการบริหารจัดการการเงินมีอยู่ทั่วโลก ไม่ได้จำกัดเฉพาะประเทศไทย จึงเตรียมจะขยายนำร่องไปเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม
"นิยามของ "ฟินเทค" กว้างมากมีทั้งเพย์เมนท์ คริปโตเคอร์เรนซี และนวัตกรรมการเงินอื่นๆ มีความต้องการกำลังคนในด้านนี้อีกมาก ซึ่งคนในประเทศมีไม่พอ อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น นอกจากการบ่มเพาะทักษะบุคลากรในประเทศ เราอาจทำโปรแกรม แลกเปลี่ยน หรือพาร์ทเนอร์ชิพกับต่างประเทศ เพื่อที่จะทำให้สตาร์ทอัพสายนี้เดินหน้าได้เร็วขึ้น เหมือนหลายประเทศที่มีโปรแกรมลักษณะนี้”
"ฟินสตรีท"ช่วยบริหารหนี้
สำหรับ "ฟินสตรีท" เกิดจากการมองเห็นปัญหาหนี้ของคนไทย ประกอบกับรายงานการศึกษา "มุมมองใหม่หนี้ครัวเรือนไทยผ่าน บิ๊กดาต้า" โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ระบุ คนไทยมากถึง 1 ใน 3 มีภาระ หนี้สิน โดยเฉพาะกลุ่มอายุระหว่าง 23-35 ปีเป็นหนี้มากที่สุด และมี แนวโน้มจะมีปัญหาไปจนกระทั่งหลังเกษียณ สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการขาดความรู้ทางการเงินในระดับวิกฤติของคนไทย
"เราต้องการให้คนไทยมีความรู้ด้านการเงินมากขึ้นจึงเริ่มจากการนำเสนอบทความการเงินบนเฟซบุ๊ค โดยย่อยเนื้อหาที่ยากให้เข้าใจง่าย ตามมาด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ บริการให้คำปรึกษาในรูปแบบแชทบอท สามารถหาแนวทางแก้หนี้ให้กับผู้ใช้ได้อย่างตรงจุด”
เครือข่ายแบ็คอัพเข้มแข็ง
นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรม แห่งชาติ กล่าวว่า ผู้ประกอบการ สายฟินเทคเข้ามารับการบ่มเพาะจากหน่วยงานภาครัฐไม่มาก เพราะโดยพื้นฐานแล้วกลุ่มนี้มีศักยภาพความพร้อมสูง สามารถพึ่งพาตัวเอง ได้มากพอสมควร ส่วนความต้องการหลักคือ เงินทุนก้อนโต ทำให้ มุ่งสร้างความร่วมมือกับนักลงทุนในลักษณะ B2B เป็นหลัก พร้อมกันนี้ยังมีเครือข่ายที่เข้มแข็งอย่าง "สมาคมฟินเทค ประเทศไทย" ทำหน้าที่เป็น กระบอกเสียงและแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ประกอบการ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำหน้าที่ดูแลได้ดีใน การร่วมมือกันทำแพลตฟอร์มสำหรับกฎระเบียบใหม่ๆ
ดังนั้น การบ่มเพาะเพิ่มทักษะและขีดความสามารถไม่ใช่สิ่งที่ สตาร์ทอัพสายการเงินเหล่านี้ ต้องการจากภาครัฐ เพราะทักษะ เหล่านี้ต้องเป็นสากล แต่สิ่งที่ ต้องการจากภาครัฐคือ สปอนเซอร์ และการรีจิสเตอร์ตัวเองเข้ามาในระบบเพื่อให้แบรนด์ของตนเป็นที่รู้จักในวงการ
อย่างไรก็ตาม ยังมีเยาวชน กลุ่มมัธยม และมหาวิทยาลัยที่สนใจทางด้านการเงิน แม้จะเป็นจำนวนไม่มาก แต่ถือเป็นกลุ่มที่มีความแอคทีฟ ทางเอ็นไอเอจึง มีโปรแกรมบ่มเพาะเยาวชนที่ สนใจด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็น โครงการอินเทิร์นชิป ให้ไปเรียนรู้กับพี่ๆ ในสายฟินเทค หรือโครงการพัฒนาดีเวลลอปเปอร์ ซึ่งจะเน้นทักษะ ไปจนถึงการสร้างงาน เพราะ เปรียบเสมือนเป็นเวทีให้ สตาร์ทอัพมาช้อปเยาวชนไป ร่วมงานด้วย
สะพานเชื่อมคนกับแหล่งงาน
ใน 2 ปีที่ผ่านมา สัดส่วน การลงทุนในระดับประเทศเปลี่ยนจากกลุ่มโทรคมนาคมมาเป็นกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะการลงทุนด้านฟินเทคและนำเทคโนโลยีบล็อกเชน และเอไอมาใช้เป็นกลยุทธ์ด้านการเงิน ไม่เพียงแค่ลงทุนในไทยแต่รวมถึงต่างประเทศ เห็นได้ จากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทยรวมถึงธนาคารของรัฐ เริ่มขยับมาลงทุนและใช้เทคโนโลยีฟินเทค อย่างจริงจัง
"เอ็นไอเอช่วยสร้างระบบนิเวศที่เป็นตัวประสานที่ดีให้กับ ทุกฝ่าย ดึงทุกฝ่ายมารู้จักและ คุยกัน เกิดความเชื่อมั่น และ เดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น จากเดิมที่ไม่มีใครรู้จักใคร ดังนั้น เราจึง ทำหน้าที่เสมือนเป็นสะพาน เชื่อม มาคุยกับเรา แล้วสปินออฟออกไป”
Source: กรุงเทพธุรกิจ
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
สนับสนุนข่าวโดย ICMarkets
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/