รัฐบาลเวียดนามต้องเผชิญกับการต่อต้าน จากการยื่นร่างกฎหมายเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งหลายคนกลัวว่าจะถูกครอบงำโดยบริษัทต่างๆของจีน นักลงทุนของจีนกำลังกว้านซื้อธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ และทรัพยากรต่างๆทั่วโลก ตั้งแต่ทวีปยูเรเซียไปจนถึงแอฟริกา ทั้งอเมริกาเหนือและใต้ แต่ยังคงมีความเสี่ยงของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนในรูปแบบเช่นเดียวกับสหรัฐหรือไม่
การประท้วงของเวียดนามเริ่มขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ด้วยการโจมตีบริษัทของจีนและบริษัทที่จีนครอบครองทั่วประเทศ ตั้งแต่ฮานอยทางตอนเหนือไปจนถึงกรุงโฮจิมินฮ์ซิตี้ในทางตอนใต้ ซึ่งในบางพื้นที่มีการใช้ความรุนแรง อย่างการบุกรุกเข้าไปในอาคารสำนักงานของจีน การปล้น หรือการวางเพลิง และการโจมตีพนักงานบริษัทของจีน ซึ่งความวุ่นวายโกลาหลนำไปสู่การจับกุมผู้ประท้วงในหลายเมือง
การชุมนุมส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามได้เรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติเลื่อนการประกาศใช้ร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยร่างดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งเขตการลงทุนพิเศษในสามจังหวัดของเวียดนาม และบนเกาะ Phu Quoc โดยอนุญาตให้สิทธิพิเศษด้านภาษี และธุรกิจต่างชาติสามารถเช่าพื้นที่ได้นานถึง 99 ปี
ฝ่ายที่คัดค้านร่างกฎหมายเกรงว่าร่างกฎหมายดังกล่าว อาจนำไปสู่การที่ประเทศถูกธุรกิจจีนเข้าครอบงำ
นายเซอร์เก้ ซานาโคเอฟ ประธานศูนย์รัสเซีย-จีน สำหรับเอเชีย-แปซิฟิกศึกษา กล่าวว่า ปัญหาอะไรก็ตามที่อาจอยู่เบื้องหลังเรื่องการประท้วงนี้ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดิ้นรนต่อสู้ระดับโลกในด้านการตลาดและอิทธิพลที่ใหญ่กว่า
เวียดนามต้องเผชิญกับผลกระทบจากความเจริญด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของจีน ในขณะที่ยุโรป จีนได้อัดฉีดเงินลงทุนในส่วนการลงทุนจากต่างชาติมากกว่า 100 พันล้านยูโร ตั้งแต่ปี 2010 ด้วยกว่าร้อยละ 60 ของเงินลงทุนเหล่านี้ กระจุกตัวอยู่ที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมของ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ การลงทุนของจีนในประเทศต่างๆในแถบยุโรปตอนกลางและตะวันออกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าสองเท่า ด้วยระบบ 16+1 ระหว่างจีนและ 11 ประเทศสมาชิกอียู และประเทศที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกอียูอีก 5 ประเทศ ซึ่งนำไปสู่การค้าขายที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
รัฐบาลจีนได้เริ่มขยับขยายเศรษฐกิจในเอเชียมากขึ้นเช่นกัน ด้วยการลงทุนกว่าหลายหมื่นล้านในเอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย และอีกหลายหมื่นล้านในเอเชียตะวันตก ตะวันออกกลาง และตุรกี โดยล่าสุดธนาคารการลงทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานเอเชียจีนได้ก่อตั้งขึ้นในความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียที่มีญี่ปุ่นและสหรัฐเป็นตัวหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม การค้าขายและการลงทุนของจีนไม่ได้ถูกต้อนรับในทุกที่ เช่นที่เห็นได้ชัดในความสัมพันธ์กับสหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น เช่นเดียวกับเวียดนาม ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ยังได้พบกับข้อกังวลจากความร่วมมือที่มากเกินไปกับจีน ท่ามกลางความหวาดกลัวว่าจีนจะเข้ามาวุ่นวายกับกิจการภายในประเทศ
https://sputniknews.com/analysis/201806171065489535-china-global-economic-expansion-analysis/
RONIN500(Admin Nidnoi) แปลโดย นิดหน่อย : หมี CNN
บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman