สามวงรอบของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ DIGITAL ECONOMY

วงรอบแรก ธุรกิจต่างๆเริ่มที่จะโดนบีบให้เปลี่ยนแปลงองค์กรของตนไปสู่ DIGITAL ECONOMY เนื่องจากมองเห็นแล้วว่าถ้าไม่เปลี่ยนแปลงจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันตลอดไป และต้องออกจากตลาด

เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลไม่เพียงช่วยลดต้นทุนของบริษัท ทั้งต้นทุนคงที่ ต้นทุนแปรผัน และต้นทุนในการขยายกิจการ รวมถึงสามารถบันทึกข้อมูลต่างๆของลูกค้า และยังใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อทำตลาด หรือสร้างตลาดของสิ้นค้าใหม่ขึ้นมา จึงสามารถพัฒนาสินค้า หรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกันด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และความเสี่ยงที่ต่ำกว่าจกเกิดเป็น ecosystem โดยสินค้า หรือบริการที่เพิ่มขึ้นมาจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อกับสินค้า หรือบริการหลักของกิจการ ทำให้ต้นทุนของผู้ใช้บริการสูงขึ้นมากในการที่จะเปลี่ยนใจไปใช้สินค้า หรือบริการของบริษัทอื่น ecosystem ก็จะกลายเป็นสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้บริษัทได้สูงขึ้นอย่างมาก ใช่ช่วงนี้ผู้บริโภคก็จะสามารถเข้าถึงสินค้า และบริการได้ง่ายขึ้นในราคาที่ถูกลง บริษัทที่สามารถฉวยโอกาสนี้ไว้ได้ก็จะเติบโตอย่างรวดเร็ว สิ่งที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญ

วงรอบที่สอง

เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า บริษัทไหนที่สามารถไปสู่ DIGITAL ECONOMY ได้และไม่สามารถทำได้ ลักษณะเด่นของ DIGITAL ECONOMY คือ กำจัดขอบเขตเส้นแบ่งของประเภทธุรกิจ กำจัดขอบเขตเส้นแบ่งของประเทศ(ข้อจำกัดในการทำธุรกิจประเภทกฏหมาย) และสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก ทำให้ธุรกิจดั้งเดิมโดยแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ บริษัทแบบดั้งเดิมก็จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นโดยเข้าไปลงทุนในธุรกิจอื่นที่ตนเองไม่ถนัด โดยเลือกอุตสาหกรรมที่คิดว่าจะไม่โดนผลกระทบจาก เทคโนโลยีมากนัก หรือยังไม่โดน ทำให้อุตสาหกรรรมเหล่านี้มีการแข่งขันที่สูงมากขึ้น และกดดันถึงกำไรสุทธิของบริษัทในอุตสาหกรรม หรืออาจถึงกับต้องปิดกิจการ ส่วนผลกระทบต่อคนทั่วไปคือ การว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้น เงินเฟ้อต่ำ ความแต่ต่างทางด้านรายได้จะห่างกันสูงมาก และมีแนวโน้มจะคงอยู่ยาวนานมากๆหรือตลอดไป เนื่องจากจำนวนบริษัทจะมีจำนวนน้อยลง และแต่ละบริษัทก็จ้างคนจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับปัจจุบัน

วงรอบที่สาม

จะมีบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลก ไม่กี่บริษัทที่จะมีส่วนแบ่งการตลาดของทั้งโลกมากกว่า 40 % ในแต่ละอุตสาหกรรม คนส่วนมากอาจะโดนตัดออกจากสมการทางเศรษฐศาสตร์ โดยที่เราไม่เป็นหนึ่งในต้นทุนการผลิต และเราก็ตกงานไม่มีเงินมีชีวิตอยู่โดยการรอรับสวัดดิการจากรัฐแทน เนื่องจากการพัฒนาคนเพื่อที่จะให้สามารถทำงานได้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 20 ปี และมีความสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ไม่เกิน 40 ปี รวมทั้งประสิทธิภาพในการส่งต้องความรู้ความสามารถแก่กันก็ต่ำมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ ส่วนคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่มีใครรู้อายุขัยของมัน และมันยังสามารถเรียนรู้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องพักผ่อน จึงเป็นไปไม่ได้เลยว่ามนุษย์จะสามารถแข่งขันกับคอมพิวเตอร์ได้ในอนาคต

สิ่งที่ผมคิดว่าทุกๆคนพอที่จะทำได้ในการเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงคือ การประหยัด อดออม ไม่มีหนี้สิน ถ้าจำเป็นต้องมีก็มีในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะต่อในเราพัฒนาตนเองอยู่เสมอก็ไม่แน่ว่าจะเพียงพอที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลง

ปล. บนความนี้เป็นแค่ความคิดเห็น และสมมติฐานของผู้เขียนเพียงอย่างเดียว

ADMIN สรธร # SORATHORN WATTANAMALACHAI #DINOTECH5.0

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"