หัวใจของรถยนต์ไฟฟ้าคือแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน แต่แบตเตอรี่ประเภทนี้บริหารจัดการได้ยากเมื่อเสื่อมสภาพ และอาจกลายเป็นมลพิษในอนาคต แทนที่ก๊าซคาร์บอนที่หายไป ดังนั้นลองมารู้วิธีจัดการแบตเตอรี่จากผู้ผลิตรถยนต์กัน
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเจ้าปัญหา
ปัจจุบันแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าแทบทุกคันเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไออน ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้กันทั่วไป เพราะแบตเตอรี่เหล่านั้นประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ แต่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนค่อนข้างอันตรายหากจะแกะชิ้นส่วนออกมาใช้งานใหม่จริง ๆ เนื่องจากอาจเกิดการระเบิดได้
นอกจากนี้หากเทียบระหว่างความเป็นแบตเตอรี่ด้วยกัน แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ายังมีขนาด และน้ำหนักที่มากกว่าแบตเตอรี่รถยนต์ดั้งเดิมหลายเท่าตัว ก็ยิ่งเป็นการยากที่จะแยกไปรวมไว้ที่ใดที่หนึ่ง ถ้าจะให้อธิบายง่าย ๆ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเป็นลิเธียมไอออนเหมือนแบตเตอรี่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และต้องถูกนำไปจัดการโดยวิธีเฉพาะ
ยิ่งการสนับสนุนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มยุโรป เพราะต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2030 จะมีรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มประเทศยุโรปถึง 30 ล้านคัน และหากแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพ ก็คงเป็นการยากที่จะจัดการแบตเตอรี่เหล่านี้
Nissan นำแบตเสื่อมสภาพมาใช้ในโรงงาน
ตัวอย่างแรกในการบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าคือ Nissan ที่นำแบตเตอรี่เสื่อมสภาพของรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Leaf ที่ขายได้มากกว่า 5 แสนคัน มาใช้กับหุ่นยนต์ในโรงงานเพื่อใช้เป็นตัวส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ ไปให้กับพนักงานเพื่อใช้ผลิตรถยนต์ต่อไป
นอกจากนี้ในปี 2050 Nissan ยังเตรียมพัฒนาระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพ โดยไม่จำเป็นต้องส่งมาที่โรงงานเพื่อใช้ส่งไฟให้หุ่นยนต์อีกต่อไป ทั้งยังทำให้แบตเตอรี่เหล่านั้นกลับมาใช้งานใหม่ได้จริง ถือเป็นหนึ่งในนโยบายองค์กรไร้มลพิษ และไม่ทิ้งขยะทางเทคโนโลยีไว้บนโลกนี้
สำหรับนโยบายองค์กรไร้มลพิษภายในปี 2050 ของ Nissan ยังมีการพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีต้นทุน และประสิทธิภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับพัฒนาเทคโนโลยี e-Power เพื่อจูงใจผู้บริโภคมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ก่อนที่ตั้งแต่ปี 2030 เป็นต้นไป Nissan จะจำหน่ายแต่รถยนต์ไฟฟ้าแบบต่าง ๆ เท่านั้น
นอกจากนี้ในปี 2050 Nissan ยังเตรียมพัฒนาระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพ โดยไม่จำเป็นต้องส่งมาที่โรงงานเพื่อใช้ส่งไฟให้หุ่นยนต์อีกต่อไป ทั้งยังทำให้แบตเตอรี่เหล่านั้นกลับมาใช้งานใหม่ได้จริง ถือเป็นหนึ่งในนโยบายองค์กรไร้มลพิษ และไม่ทิ้งขยะทางเทคโนโลยีไว้บนโลกนี้
สำหรับนโยบายองค์กรไร้มลพิษภายในปี 2050 ของ Nissan ยังมีการพัฒนาแบตเตอรี่ให้มีต้นทุน และประสิทธิภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับพัฒนาเทคโนโลยี e-Power เพื่อจูงใจผู้บริโภคมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ก่อนที่ตั้งแต่ปี 2030 เป็นต้นไป Nissan จะจำหน่ายแต่รถยนต์ไฟฟ้าแบบต่าง ๆ เท่านั้น
ปัจจุบันกลุ่ม Volkswagen ทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเกือบ 10 รุ่น ทั้งของแบรนด์ตัวเอง และทำภายใตแบรนด์ย่อยเช่น Porsche และ Audi โดยในปี 2030 ทาง Volkswagen ตั้งเป้าว่า ยอดขายครึ่งหนึ่งขององค์กรต้องมาจากรถยนต์ไฟฟ้าล้วน 20% และจะมีรถยนต์ไฟฟ้าทำตลาดกว่า 75 รุ่นในปี 2029
สรุป
นอกจากการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษแล้ว การขจัดแบตเตอรี่เสื่อมสภาพก็เป็นอีกหัวใจในการลดมลพิษเช่นกัน เพราะหากปล่อยปะละเลยเรื่องนี้ ความฝันในการลดมลพิษก็คงไม่ถึงฝัน ผ่านการมีแบตเตอรี่ลิเธียมที่เสื่อมสภาพกองอยู่เต็มไปหมด
โดย Tangsiri
Source: Brandinside.asia
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you