แห่พักหนี้แสนล. ซอฟต์โลนคืนชีพธุรกิจ

รมว.ท่องเที่ยวคาด พ.ร.ก.ซอฟต์โลนใหม่ คลอด 9 เม.ย. เชื่อปลดล็อกเงื่อนไข ช่วยผู้ประกอบการท่องเที่ยว เข้าถึงแหล่งเงิน ส่วนสายการบินแห้ว เงื่อนไขไม่ตอบโจทย์ ลุ้นซอฟต์โลนเอ็กซิมต่อ แบงก์เผยผล Survey ลูกค้าสนใจ "พักทรัพย์ พักหนี้" ร่วม 1 แสนล้านบาท เชื่อวงเงิน 3.5 แสนล้านรองรับพอ

ความคืบหน้ามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 23 มีนาคม ที่เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการฟื้นฟู) วงเงินรวม 3.5 แสนล้านบาท ภายใต้ 2 มาตรการหลักคือ 1.สินเชื่อฟื้นฟู วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท และ 2. โครงการ พักทรัพย์ พักหนี้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งอยู่ในขั้นตอนออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จะนำเสนอเข้าวาระการประชุมครม.ในต้นเดือนเมษายนนี้
พรก.คลอด 9 เม.ย.
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า รัฐบาลคาดว่า จะออกพ.ร.ก.ซอฟต์โลนใหม่ ได้ในวันที่ 9 เมษายนนี้ โดยมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในครั้งนี้ มีการผ่อนคลายในเรื่องที่จะทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ แตกต่างจากซอฟต์โลนที่ออกมาก่อนหน้านี้
"ซอฟต์โลนครั้งใหม่นี้ ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ต้องลงมาช่วยเหลือผู้ประกอบการท่องเที่ยวอย่างจริงจังก่อนออกซิเจนจะหมด ซึ่งไม่เพียงช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่องเที่ยว รวมถึงรถเช่า ร้านอาหาร ที่จะเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างโรงแรมใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าถึงซอฟต์โลนที่ผ่านมาได้ เพราะต้องการกู้เกิน 500 ล้านบาท ซึ่งในประเด็นนี้ ผมได้หารือส่วนตัวกับทางนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ก็จะมีการขยายวงเงินกู้ให้ และมีการหารือการขอซอฟต์โลนเป็นรายบุคคลก็ทำได้ เพราะธุรกิจไม่ว่าจะรายใหญ่หรือรายเล็กล้วนได้รับผลกระทบจากโควิด-19" นายพิพัฒน์กล่าว
นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ)กล่าวว่า ธุรกิจโรงแรมต่างรอให้รัฐบาลออกพ.ร.ก.ซอฟต์โลน ซึ่งจะมีทั้งเรื่องสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและโครงการ พักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อช่วยธุรกิจฝ่าวิกฤติโควิด-19 เนื่องจากผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ต่างประสบปัญหาการ ขาดสภาพคล่อง เพราะไม่มีรายได้ แต่แบกรับค่าใช้จ่ายมากว่า 1 ปีแล้ว
ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขของซอฟต์โลนใหม่ที่จะออกมานี้ ทางเอกชนกำลังรอดูว่า จะมีการปลดล็อกเรื่องที่เคยเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเบื้องต้นเท่าที่ทราบจากเดิมที่ระบุว่า เจ้าของรวมธุรกิจต่างๆ แล้วจะยื่นกู้ได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ก็เปิดให้แต่ละธุรกิจยื่นกู้ไม่ได้เกิน 500 ล้านบาทต่อบริษัท รวมถึงการให้บรรษัทประสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาช่วยค้ำได้เพิ่มขึ้น
คาดสินเชื่อฟื้นฟูฮอต
สำหรับความสนใจเข้ารับความช่วยเหลือดังกล่าวคาดว่า ผู้ประกอบการต้องคิดว่า จะเลือกซอฟต์โลน หรือเข้าโครงการ พักทรัพย์ พักหนี้ ซึ่งถ้าธุรกิจไม่ไหวจริงๆ ทางออกในการเข้าโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ก็ช่วยได้ดีกว่าไปขายกิจการให้ต่างชาติ และถูกกดราคาลง ขณะเดียวกัน ในกลุ่มธุรกิจที่ยังคิดว่าพอสู้ได้ ระหว่างรอการเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวในปีหน้า กลุ่มนี้จะเลือกแนวทางการขอซอฟต์โลนมากกว่า
ทั้งนี้เนื่องจาก โครงการพักทรัพย์ พักหนี้ จะมีความเสี่ยงในอนาคตว่า เจ้าของจะมีศักยภาพในการหาเงินมาซื้อโรงแรมคืนหรือไม่ ท่ามกลางการท่องเที่ยวที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและมีเรื่องของโควิดระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละรายต้องประเมินสถานะของตัวเอง เพราะขณะนี้ธุรกิจต้องการเงิน เพื่อใช้เป็นสภาพคล่องเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ธุรกิจบางส่วนที่ปิดกิจการชั่วคราวไปเป็นเวลานาน ก็มีความต้องการซอฟต์โลน เพื่อกลับมาดำเนินธุรกิจใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะในภูเก็ต ที่รัฐบาลผลักดันภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ 1 กรกฎาคมนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วไม่ต้องกักตัว
7 สายการบินแห้ว
นายกฤษ พัฒนสาร เลขาธิการสมาคมสายการบินประเทศกล่าวว่า แม้การออกซอฟต์โลนใหม่ของรัฐบาลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ออกมาบอกว่า ไม่ได้ปิดกั้นธุรกิจสายการบินให้มาเข้าร่วมโครงการ แต่เมื่อดูรายละเอียดในเงื่อนไขแล้วพบว่า ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจการบิน เนื่องจากธุรกิจสายการบินส่วนใหญ่ไม่ได้มีสินทรัพย์เหมือนโรงแรม เครื่องบิน สำนักงาน ก็ใช้วิธีการเช่า คาร์โก้ ก็ไม่มีได้จำนวนมาก ส่วนวงเงินซอฟต์โลน ก็ได้ไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อธุรกิจ ที่เหมาะสมธุรกิจเอสเอ็มอีมากกว่า
ดังนั้นขณะนี้ทั้ง 7 สายการบินเอกชนของไทย ก็ยังคงต้องรอความชัดเจนเรื่องที่ขอซอฟต์โลน ที่ขอวงเงินรวมกัน 1.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาสายการบินได้หารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) รวมถึงธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ซึ่งรอทางกระทรวงการคลังพิจารณาในเรื่องนี้อยู่
แหล่งข่าวจากสมาคมธนาคารไทยระบุว่า กระบวนการ ออกพ.ร.ก.ครั้งนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมและแลกเปลี่ยนความเห็นกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งที่สถาบันการเงินเสนอไปยังธปท.ก็ได้รับการรับฟังและถ้ารูปแบบโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ออกมาตามที่ได้หารือและตกลงกันไว้ ธนาคารสมาชิกทุกแห่งจะรู้สึกสบายใจ แต่ก็รอลุ้นว่า พ.ร.ก.จะได้รับเห็นชอบตามที่ได้ตกลงกันหรือไม่ ซึ่งหลังครม.เห็นชอบแล้ว ยังมีขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งน่าจะได้รับการอนุมัติโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ธนาคารสมาชิกได้สำรวจ(Survey) ลูกค้าแต่ละแห่งพบว่า ลูกค้ามีความสนใจโครงการพักทรัพย์ พักหนี้เกือบ 1 แสนล้านบาท ส่วนสินเชื่อฟื้นฟูก็เป็นที่สนใจ คาดว่าวงเงินรวม 3.5 แสนล้านบาทน่าจะเพียงพอต่อความต้องการของทั้ง 2 มาตรการ เพราะเงื่อนไขถูกปลดล็อกและแก้ปัญหาทุกประเด็นของซอฟต์โลนเดิมเช่น ขยายวงเงิน 30%ของวงเงินสินเชื่อรวมเดิม ขยายเวลาเป็น 5ปี ดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกิน 5%ต่อปีและมีบสย.ค้ำประกัน 2 ชั้นคือ ค้ำประกันสินเชื่อต่อพอร์ตและค้ำประกันระดับกลุ่มหรืออุตสาหกรรม
Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"