ตัวเลขกำไรในไตรมาส 3ปี 2563 ของกลุ่มธนาคารที่ออกมายังลดลงต่อเนื่องนั้น เป็นไปตามคาดหมายว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังไม่เห็นการฟื้นตัวแน่นนอน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการบริหารเงินกองทุนให้เตรียมรับกับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นและอาจจะลามจนเกิดวิกฤติทางการเงินในอีก 2-3
ปีข้างหน้าตามที่แบงก์ชาติกังวล
หลังจากทั้ง 10 ธนาคารรายงานกำไรออกมาอยู่ที่ 29,688 ล้านบาท ลดลง 44.85 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนและในรอบ 9 เดือน กำไรอยู่ที่ 106,836 ล้านบาท ลดลง 33 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขกำไรลดลงต่อเนื่องนอกจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลง รายได้ค่าธรรมเนียมยังได้รับผลกระทบ และการปล่อยสินเชื่อยังจำกัดยิ่งในกลุ่มรายย่อย และ เอสเอ็มอี ตามมาตรการช่วยเหลือพัก-ยืดหนี้ให้กับลูกค้าทำให้ทุกธนาคารยังอยู่ในโหมดระมัดระวัง
ข้อดีของมาตรการดังกล่าวคือทำให้ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของหลายๆธนาคารในไตรมาสดังกล่าวไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นจนน่ากังวลใจเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งบางแห่งยังมีตัวเลขลดลงด้วยซ้ำ
ทางกลับกันมาตราการช่วยเหลือดังกล่าวคือการประวิงเวลาไม่ให้หนี้ทะลักจนกลายเป็นวิกฤติมาซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้ สะท้อนตัวเลขหนี้ที่ลูกค้าธนาคารพาณิชย์ขอความช่วยเหลือสูงถึง 7.2 ล้านล้านบาท ในเดือน ก.ค. แม้จะลดลงเหลือ 6.9 ล้านล้านบาทในเดือน ส.ค. และในจำนวนนี้ลูกหนี้สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติแล้ว 90%
หากแต่ยังอยู่ในระยะที่ยังว่างใจไม่ได้เพราะภาคการท่องเที่ยวยังขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ท่ามกลางภาวะล็อกดาวน์ในหลายประเทศในยุโรปรวมทั้งสหรัฐที่ทำสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19รายใหม่ทำนิวไฮเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ผู้บริหารธนาคารเกือบทุกแห่งต้องนำกำไรที่เติบโตน้อยลงมาตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งด้านหนึ่งคือการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิต( ECL) เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสนี้
โดยรอบ 9 เดือน มีการตั้งสำรอง ECL เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ถึง 1.6 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 61.8 % ซึ่งธนาคารใหญ่ที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่คือกลุ่มที่มีฐานลูกค้าเอสเอ็มอี คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) อยู่ที่ 12,955 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33 % จากไตรมาสก่อน ขณะที่ NPL อยู่ที่ 3.32 %
และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เพิ่มขึ้น 46.44 % จากไตรมาสก่อน ขณะที่ NPL อยู่ที่ 3.95 % ส่วนธนาคารที่ตั้งสำรอง ฯน้อยกว่า มีธนาคารกรุงไทย (KTB) ลดลง 15.6 % จากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 12,414 ล้านบาท และธนาคารกรุงเทพ (BBL) ลดลง 57 % จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 5,700 ล้านบาท ซึ่งมาจากในไตรมาส 2 ที่ผ่านมามีการตั้งสำรองฯ ในอัตราที่สูงอยู่แล้ว
ตัวเลขดังกล่าวหากประเมินการเตรียมพร้อมของกลุ่มธนาคารเพื่อรองรับหนี้ที่จะสูงขึ้นหลังจากหมดมาตรการดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 ต.ค. ถือว่าเป็นเบาะรองรับให้กับเสถียรภาพทางการเงินได้ค่อนข้างดี เพราะไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าผู้ที่สามารถกลับมาจ่ายคืนหนี้ได้แล้วจะไม่กลายมาเป็น NPL ในอนาคต
ด้วยเงินกองทุนขั้นที่ 1 ซึ่งทุกธนาคารในรอบนี้ล้วนปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทุกแห่ง ซึ่งยังไม่นับรวมกับบางแห่งที่เริ่มใช้ตราสารหนี้ออก ‘หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์’ ยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง 5.-5.5 % เพื่อดึงสภาพคล่องเข้ามาคำนวณในกองทุนเสริมความเข้มแข็งให้กับธนาคาร
นอกจากนี้ยังต้องไม่ลืมว่าเป็นการเตรียมพร้อมตัวเลขรับกับผลสอบ Stress test เพราะถ้าผ่านเกณฑ์ไร้ปัญหา และมีการประกาศผลออกมาเท่ากับหุ้นธนาคารจะสามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ทันทีในงวดสิ้นปี 2563
ดังนั้นราคาหุ้นที่ลงไปถูกจนอัตราราคาหุ้นต่อราคาปิด (P/E) ลงมาต่ำในรอบ 10 ปี คือ 5 เท่า จนดันอัตราการจ่ายปันผลขึ้นมาในระดับ 5-6 % ซึ่งบางธนาคารจะสูงได้ถึง 9 % จึงทำให้หุ้นแบงก์ที่ไร้เสน่ห์จึงมีแรงเชียร์ ‘ซื้อ’ กลับรับปัจจัยดังกล่าวแต่จะทำให้ระยะยาวหุ้นแบงก์กลับมาน่าสนใจลงทุนคงต้องขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจจะฟื้นได้แค่ไหน
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you