รายงานพิเศษ: 'จีดีพีสหรัฐ' ชี้ความท้าทายที่โลกต้องเผชิญ

ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสสอง หดตัวถึง 32.9% แม้ว่าเป็นตัวเลขที่สูงอย่างน่าตกใจ แต่ก็ไม่ได้เกินความคาดหมายมาก เพราะว่าไตรมาสสองเป็นช่วงที่มีการชัตดาวน์เศรษฐกิจเต็มสตรีมเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนา

สิ่งที่คนสงสัยจากนี้ไปคืออีกนานเท่าไหร่เศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกจะฟื้นตัว เพราะนั่นหมายถึงว่าเศรษฐกิจอื่น ๆ ทั่วโลกจะได้พลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย

ตัวเลขจีดีพีที่หดตัว 32.9% ถือว่าเลวร้ายกว่าไตรมาสที่เกิดภาวะถดถอยในช่วงปี 2550-2552 ซึ่งหดตัวเพียง 8.4% และยังแย่กว่าสถิติในก่อนหน้านี้ที่ทำไว้เมื่อปี 2501 ซึ่งหดตัว 10% แต่ก็ยังไม่ถึง 35% ตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์
อย่างไรก็ดี คริส รัพคีย์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์การเงินของเอ็มยูเอฟจี ยูเนียน แบงก์ กล่าวว่า หนทางข้างหน้าที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะกลับไปอยู่ในที่ที่เคยอยู่เมื่อต้นปียังยาวไกลมาก ๆ โดยอาจจะต้องใช้เวลาสามถึงสี่ปี
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้แสดงความเห็นตรงกันว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานมีความสำคัญสุดต่อการฟื้นตัวโดยรวม อย่างไรก็ดีเมื่อดูข้อมูลการว่างงานก็ไม่ได้สร้างกำลังใจแต่อย่างใด
สหรัฐฯ ได้เปิดเผยข้อมูลการขอใช้สิทธิ์คนว่างงานในวันเดียวกับที่เปิดเผยตัวเลขจีดีพี ซึ่งพบว่ามีคนมาขอใช้สิทธิ์คนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยในสัปดาห์วันที่ 25 กรกฎาคมมีจำนวนเพิ่มเป็น 1.43 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนที่มาขอรับสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 867,000 คน และมีคนมาขอใช้สิทธิ์ครั้งแรกรวมทั้งหมดอย่างน้อย 1 ล้านคน ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 19 ติดต่อกัน
ข้อมูลเหล่านี้เป็นการยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงผลกระทบที่เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และยังเป็นการยืนยันถึงความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า
อย่างไรก็ดีสภาคองเกรสสหรัฐฯ ยังคงถกเถียงกันไม่เลิกเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม โดยยังคงมีช่องว่างระหว่างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ของพรรคเดโมแครต กับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่พรรครีพับลิกันเสนอ 1 ล้านล้านดอลลาร์
โมฮัมเหม็ด เอ. เอล-อีเรียน หัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจของอัลลิแอนซ์ เอสอี เตือนว่า สภาคองเกรสสหรัฐฯ ตกลงเกี่ยวกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจช้ามากเท่าไหร่ ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้นที่การฟื้นตัวจะหยุดชะงัก จะทำให้มีการว่างงานเพิ่มขึ้นมากและมีการปิดกิจการมากขึ้น ซึ่งจะกระจายแรงกระเพื่อมไปยังเศรษฐกิจอื่นทั่วโลก
มีความหวังในตอนแรกว่ากิจกรรมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ล่มสลายในเดือนมีนาคม จะตามมาด้วยการฟื้นตัวอย่างรุนแรงแบบรูปตัววีในช่วงไตรมาสสองและไตรมาสสาม ซึ่งจะลดความเสี่ยงของผลกระทบในระยะสั้นที่จะกลายเป็นปัญหาฝังลึกที่ยากจะแก้ไขมากขึ้นในระยะยาว
แต่ความหวังที่จะมีการฟื้นตัวในรูปตัววีอย่างรวดเร็วเกิดไม่แน่นอนและน่ากังขา ไม่กี่สัปดาห์มานี้เมื่อได้เห็นดัชนีที่วัดการเกี่ยวพันทางเศรษฐกิจที่มีความถี่สูง และตัวเลขการใช้สิทธิ์ของคนว่างงานใหม่และการขอใช้สิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ก็กำลังบั่นทอนความหวังในการฟื้นตัวอย่างรุนแรงมากขึ้น
เอ. เอล-อีเรียน กล่าว่า ทั้งหมดนี้เป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนไปถึงสภาคองเกรสว่า หากไม่รีบตกลงกัน แรงบีบทางเศรษฐกิจก็มีความเสี่ยงที่จะรวมกันเป็นวงกลมที่มีแรงบีบของตัวเอง ตัวอย่างเช่น การบริโภคจะได้รับผลกระทบอีกครั้งเมื่อการให้สิทธิประโยชน์แก่คนว่างงานยุติลง การลงทุนของธุรกิจจะลดลงเพื่อตอบโต้ต่อแนวโน้มดีมานด์ที่ลดลง หลังจากนั้นก็จะมีบริษัทที่มีความเสี่ยงจะล้มละลายมากขึ้น รัฐบาลในท้องถิ่นและรัฐต่าง ๆ ก็จะมีรายได้เข้าคลังน้อยลง ซึ่งจะบีบให้ต้องลดการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นและต้องปลดคนงาน
ในทางกลับกัน ผลกระทบเหล่านี้จะบั่นทอนประสิทธิภาพของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะอุดหนุนตลาดด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้การประเมินมูลค่าเปราะบางมากขึ้นและลดลงอย่างรุนแรงอย่างกะทันหัน
หากทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจริง สหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามสามประการต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนที่มีความจำเป็นสำหรับความรุ่งเรืองในระยะยาว นั่นคือ ครัวเรือนจะมีความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ขีดความสามารถในการผลิตลดลง และจะมีความไม่แน่นอนทางการเงินอย่างเด่นชัดมากขึ้น
ส่วนผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะมีต่อชาติอื่น ๆ ก็จะขยายเกินกว่าการสูญเสียกลไกสำคัญในการเติบโตของทั่วโลกในระยะยาวเท่านั้น แต่จะมีแรงกดดันของนักปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนในระดับทวิภาคีที่ตึงเครียดอยู่แล้วจะมีความตึงเครียดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างจีนและสหรัฐฯ และน่าจะยิ่งทำให้ความร่วมมือทางนโยบายทั่วโลกลดน้อยลงไปอีก
ประเทศกำลังพัฒนาจะเผชิญกับความท้าทายในการชำระหนี้มากขึ้น โดยบางประเทศอาจจะต้องผิดนัดชำระหนี้ และทั้งหมดนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจที่เปราะบางในเชิงโครงสร้างอยู่แล้วแตกเป็นเสี่ยง ๆ ได้มากขึ้น
แม้ว่าทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงแค่การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ แต่มันก็เป็นการยืนยันได้ว่าการหดตัวของ “จีดีพีสหรัฐฯ” จะมีผลกระทบต่อทั่วโลกอย่างมหาศาลเพียงไร
Source: ข่าวหุ้น
ความคืบหน้า
- Dollar rallies after worst month in decade

คลิก

----------------------------------------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"