"กายวิภาคของไวรัส H, N คืออะไร?"

... โดยทั่วไป องค์ประกอบที่ทำให้ไวรัสติดต่อได้กับเซลล์ปลายทางคือ H, N ( ในกรณีที่ไวรัสมีเยื่อหุ้มเซลล์ หรือ Enveloped membrance )... 1. ฮีแมกกลูตินิน (hemagglutinin, H), ( หนามสีแดง = เป็นตัวจับล็อคเป้าหมาย ) ทำหน้าที่ในการจับกับ "ที่รับ (receptor site)

บนผิวเซลล์" ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลได้ receptor site นี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจ และพบบนผิวเม็ดเลือดแดงด้วย ฮีแมกกลูตินินมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงของมนุษย์หมู่เลือดโอและสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ และหนูตะเภา เกิดปฏิกิริยาเกาะกลุ่ม (agglutination) คุณสมบัตินี้นำมาใช้ตรวจหาไวรัสได้ แอนติบอดีต่อฮีแมกกลูตินินจัดเป็น neutralizing antibody และมีผลในการคุ้มกันโรค คือเป็น protective antibody ด้วย

... ( ในไวรัสไข้หวัดใหญ่ ) ฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 15 subtypes คือ H1, H2, H3... H15 ทั้ง 15 subtypes พบได้ในนก แต่เชื้อที่พบในมนุษย์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 subtypes คือ H1, H2, และ H3 ส่วน subtypes อื่นๆ มีการติดเชื้อในสัตว์ต่างๆ กัน เช่น สุกร ม้า แมวน้ำ และปลาวาฬ เชื้อไข้หวัดใหญ่ types B และ C ยังไม่มีการแบ่งฮีแมกกลูตินินออกเป็น subtype

... 2. นิวรามินิเดส (neuraninidase, N) ( หนามสีฟ้า = ตัวทำลายกำแพงเมืองของเซลล์ปลายทาง ) เป็น receptor destroying enyme (RDE) คือเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไกลโคโปรตีนซึ่งเป็น receptor site บนผิวเซลล์ทำให้ไวรัสหลุดเป็นอิสระจากเซลล์ เนื่องจากโมเลกุลของไกลโคโปรตีนนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจด้วย ทำให้ไวรัสถูกดักจับติดกับเมือกได้เมื่อเมือกจับไวรัสไว้ ไวรัสจะใช้เอนไซม์นี้ย่อยทำให้เมือกใสขึ้น ไวรัสจึงหลุดออกไปบุกรุกเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่อยู่ลึกลงไป แอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสไม่ใช่ neutralizing antibody มีผลในการคุ้มกันโรคเพียงบางส่วน (partial immunity) โดยแอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในขั้นตอนการปลดปล่อยไวรัสออกจากเซลส์

ในปัจจุบันนี้ นิวรามินิเดสของเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 9 subtypes ด้วยกัน คือจาก N1, N2, N3... N9 โดยเชื้อที่พบในมนุษย์เป็น N1 และ N2 ส่วนเชื้อไข้หวัดใหญ่ type B และ C ยังไม่มีการแบ่งนิวรามินิเดสออกเป็น subtype ในปฏิกิริยาเกาะกลุ่มเม็ดเลือดแดงของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อผสมไวรัสกับเม็ดเลือดแดงแล้วทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสจะพบการเกาะกลุ่ม ถ้านำหลอดเม็ดเลือดแดงที่เกาะกลุ่มนี้มาไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส จะพบว่าเม็ดเลือดหลุดจากกัน (elution) เนื่องจากเอนไซม์นิวรามินิเดสทำงานได้ดีที่อุณหภูมินี้จึงไปย่อยทำลาย receptor และปล่อยไวรัสออกเป็นอิสระ

คลิก

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"