“สงครามเวียตนาม กับ ค่าเงินดอลล่าร์และทองคำของอเมริกา”

“สงครามเวียตนาม” นั้นมีความสัมพันธ์โดยตรง กับ “ค่าเงินดอลล่าร์” ของอเมริกา และ “ราคาทองคำ” ในตลาดโลก ในปี 1944 ประเทศ 44 ประเทศได้ออกมารับรองมาตรการทางการเงินที่นิวแฮมเชียร์ อเมริกาในการรับรองให้เงินดอลล่าร์

เป็นสกุลหลักที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในโลก และปักผูกราคาอยู่ที่ 35.20 ดอลล่าร์ต่อ “ทองคำ” หนึ่งออนซ์ และเงินสกุลอื่นก็ผูกกับเงินดอลล่าร์อีกต่อหนึ่ง และแต่ละประเทศดังกล่าวสามารถเอาเงินดอลล่าร์ที่ครอบครองมาแลกไถ่ถอนทองคำตามอัตราดังกล่าวได้

... แต่ว่าช่วงปี 1944 – 1950 ค่าเงินดอลล่าร์กลับลดลงเรื่อยๆ ทำให้มีการพยายามจะไถ่ถอนทองคำมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มไถ่ได้จริงอย่างสมบูรณ์ครั้งแรกในปี 1958 และจำนวนทองคำที่อเมริกาถือครองก็น้อยลงเรื่อยๆ จากปีแรก 1958 ทองคำอเมริกาลดลง 10% จาก 20,312 เหลือ 18,290 ตัน และจากนั้นปี 1959 ก็ลดลงอีก 5% ตามมาด้วยปี 1960 ทองคำถูกไถ่ถอนอีก 9% ทิศทางจะไหลออกเรื่อยๆ

... จนในเดือนตุลาคม ปี 1960 เกิดกระแสตื่นตระหนก “ทองคำ” เป็นที่ต้องการมาก ในตลาดจริงสูงขึ้นเป็น 40 ดอลล่าร์ต่อหนึ่งออนซ์ แปลว่าเงินดอลล่าร์ ค่าเงินนั้นกำลังลดค่าลง ประเทศต่างๆเลยไปแลกไถ่ทองคำมาเก็บไว้แทน ทำให้ FED และ BOE ของอเมริกาและอังกฤษตามลำดับต้องยอมเทขายทองคำออกไปมากเพื่อรักษาค่าทองคำเอาไว้ เพื่อไม่ให้เงินดอลล่าร์ตกต่ำกว่านี้

... แต่สุดท้ายทองคำจะไหลหมดคลัง จนในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปี 1961 ธนาคารกลางของประเทศทั้งแปด คือ “อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ได้ออกมาตั้ง “สระทองคำลอนดอน” หรือ”London Gold Pool” ขึ้น โดยการเอาทองคำของตนในธนาคารชาติแต่ละชาติแบ่งปันมาเทรวมกันในสระนี้ โดยอเมริกาออกมากสุดที่ 50% เพื่อจะเอาทองคำเหล่านี้เทขายเพื่อพยุงราคาเงินดอลล่าร์และ “ทุบกดราคาทองคำ” เอาไว้ ( ชวนและบีบประเทศสมุนเอาทองคำมาให้ช่วยขายทองคำ ) เพื่อจะรักษามาตรฐานแนวคิดให้ดอลล่าร์เป็นเงินหลักตามที่ตกลงกันที่เบรตตันวู้ดเมื่อปี 1944 ให้เดินหน้าต่อไป

... แต่ “ฝรั่งเศส” ก็ถอนตัวออกจากข้อตกลงดังกล่าวแค่ปีเดียวในปี 1962 โดยฝรั่งเศสมองว่าระบบเบรตตันวู้ดเป็นการเอาใจยอมเงินดอลล่าร์ที่ได้สิทธิพิเศษมากเกินไป และเป็นระบบการเงินที่ไม่สมดุล และสุดท้ายระบบ “สระทองคำลอนดอน” หรือ”London Gold Pool” ก็จบอายุขัยลงเมื่อเดือนมีนาคม ปี 1968 เพราะทุกประเทศต้องการเก็บทองคำตัวเองเอาไว้ดีกว่าเอาไปช่วยพยุงเงินดอลล่าร์อเมริกา

... เพราะว่าในตอนนั้นเริ่มมีวิกฤติการเมืองใน “สงครามเย็น” ระหว่างขั้วอเมริกาและขั้วโซเวียตรัสเซีย

... โดยเท้าความตั้งแต่ปี 1952 "อเมริกา"ได้เข้ามาแทรกแซงเหตุการณ์ใน "คิวบา" ที่ได้สนับสนุนนายทหาร Fulgencio Batista ที่เป็นพันธมิตรกันเพื่อโค่นล้มนาย Carlos Prio แต่จากนั้น เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 1959 ฟิเดล คาสโตรก็ได้โค่นนาย Fulgencio Batista เด็กอเมริกา ทำให้อเมริกาไม่พอใจ ทำให้อเมริกาแอบฝึกทหารและชาวคิวบาที่นิยมการเลือกตั้งผลัดถิ่นที่อาศัยในฟลอริด้า ภายใต้การนำของซีไอเอ ในเขตกัวเตมาลา และ นิคารากัว เพื่อจะโค่นล้ม ฟิเดล คาสโตร ในวันที่ 17-20 เดือนเมษายน ปี 1961 ที่เรียกกันว่า “การรุกรานคิวบาที่อ่าวหมู” หรือ Bay Pig Invasion ที่คาสโตรได้ควบคุมการสู้รบเองและเอาชนะได้ในเวลาแค่สามวัน

... หลังจากนั้น “คิวบา” กับ “รัสเซีย” ก็สนิทสนมกันมากขึ้น รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และนำไปสู่การทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง “อเมริกากับโซเวียตรัสเซีย” เสื่อมทรามลงเรื่อยๆ โดยอเมริกาได้เสริมทหารและฐานทัพที่ อิตาลีและตุรกี ทำให้โซเวียตรัสเซีย ตอบโต้โดยการส่งทหารไปประจำการที่ คิวบาบ้าง จนเกิดการพัฒนาเกือบจะเป็นสงครามนิวเคลียร์จริงๆที่เรียกว่า Cuban Crisis ในเดือนตุลาคม ปี 1962 ที่เป็นปีเดียวกับที่ “ฝรั่งเศส” ถอนตัวออกจาก “London Gold Pool” พร้อมกับกลิ่นสงครามเย็นที่หนักขึ้น ต้องเก็บทองคำไว้ก่อน

... ขณะที่ช่วงปี 1950 – 1969 ทั้ง “เยอรมันและญี่ปุ่น” ที่พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ก็เริ่มฟื้นประเทศได้ และได้ส่วนแบ่งรายได้ทางเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ที่ตรงข้ามกับของอเมริกาที่ลดลงเรื่อยๆ จาก 35% เหลือแค่ 27% ทำให้ค่าเงินพวกเขาทั้งเยอรมันและญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ แต่เงินดอลล่าร์ก็อ่อนค่าลงเรื่อยๆ เพราะทั้งต้องจ่ายเงินงบประมาณทางการทหารเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับโซเวียตรัสเซีย และปัญหารายจ่ายในประเทศที่ติดลบขึ้นเรื่อยๆ และเงินดอลล่าร์ที่เริ่มเฟ้อมากขึ้นทุกที ค่ามากเกินความจริง

... ปี 1964 อเมริกา ใช้เงินมากมาย ในการระเบิดเวียตนามเหนือ ที่อ่าวตังเกี๋ย ซึ่งเรือพิฆาตของอเมริกาปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีอเมริกาเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 1954 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพอเมริกาทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของอเมริกา เพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 1968 ของสงครามเวียตนาม

... ในปี 1965 ประธานาธิบดี ชาร์ลส์ เดอโกลล์ ของ”ฝรั่งเศส” ได้ประกาศเจตนาของตนที่จะไถ่ถอนเงินดอลล่าร์ในคลังสำรองระหว่างประเทศไปแลกเป็นเก็บทองคำแทน ทองคำที่ลอนดอนถูกขายไหลไม่หยุด จนในปี 1967 เงินปอนด์สเตอริงของอังกฤษค่าตกลงอย่างมาก ขณะที่พันธบัตรของอเมริกาเองก็ดอกเบี้ยผลตอบแทนก็สูงขึ้นเรื่อยๆแตะ 5.2% เพราะขายไม่ออก ไม่มีประเทศไหนอยากซื้ออีกแล้ว ไร้ความน่าเชื่อถือ

... 30 มกราคม ปี 1968 “การโจมตีในวันตรุษเวียต” หรือปีใหม่ของเวียตนาม ที่ทหารเวียตนามเหนือและเวียตกงจำนวน 80,000 นาย ได้กระจายกันโจมตี เมืองต่างๆทั้งในเวียตนามกลางและใต้ ในจำนวนร้อยเขต ประธานาธิบดีลินดอน จอห์นสัน ไม่ยอมขึ้นภาษีเพื่อรีดเงินจากประชาชนเอาเงินมาใช้ในสงครามเวียตนาม เพื่อส่งทหารและอาวุธไปเวียตนามมากขึ้น ยิ่งทำให้รายจ่ายประเทศมากขึ้น เป็นหนี้มากขึ้น เงินดอลล่าร์ก็เฟ้อมากขึ้น ทองคำก็ยิ่งราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ

... ยิ่งตอนนั้นอเมริกายังไม่ยอมขึ้นดอกเบี้ยของตน หลายประเทศเทขายเงินดอลล่าร์ ไปเก็บทองคำแทน ทำให้ราคาทองคำยิ่งขยับตัวสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ทองคำยิ่งถูกไถ่ถอนแลกออกมากขึ้นเรื่อยๆ

... ขณะที่ “เยอรมัน” ที่ประเทศเริ่มฟื้นจากสงครามก็ไม่พอใจที่ต้องผูกเงินกับดอลล่าร์ที่ค่าสูงเกินจริง ในเดือนพฤษภาคม ปี 1971 พวกเขาจึงประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงที่เบรตตันวู้ด ที่ลงนามกันในปี 1944 จากนั้นในเดือนสิงหาคมปี1971 ค่าเงินดอลล่าร์ก็ตกต่ำลงอีก ทองคำก็ถูกแลกไถ่ถอนออกมากขึ้นเรื่อยๆ

... จนในที่สุดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 1971 ก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “นิกสันช็อค” หรือ “การยกเลิกข้อตกลงเบรตตันวู้ด” แต่ฝ่ายเดียว โดยการประกาศชักดาบ ยกเลิกการแลกทองคำกับเงินดอลล่าร์ เพราะอเมริกาต้องการเก็บทองคำเอาไว้ ก่อนจะไหลออกจากคลังจนหมด หรือ “การชักดาบ งดแลกดอลล่าร์กับทองคำ” จากทั่วโลก
โดยมีผลให้หยุดการไถ่ถอนแลกเงินดอลล่าร์กับทองคำออกไป 90 วัน

... เมื่อ “การยกเลิกข้อตกลงเบรตตันวู้ด” ทองคำไหลเกือบหมดคลัง ค่าใช้จ่ายในการซื้ออาวุธและค่าใช้จ่ายทหารห้าแสนคนสูง เงินดอลล่าร์เฟ้อ ค่าเงินตกต่ำ พันธบัตรขายไม่ออก ไม่มีใครอยากให้กู้ผ่านการซื้อพันธบัตร หนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมีการประท้วงภายในประเทศจากประชาชนที่ไม่อยากให้ส่งลูกหลานไปตาย ทำให้สุดท้าย “อเมริกา” ต้องยอมตกลงสงบศึก

... ในปี 1973 หลังจากประกาศยกเลิกผูกทองคำกับดอลล่าร์ ได้แค่สองปี อเมริกาต้องแก้เกม โดยการหาทางป้องกันเงินดอลล่าร์เฟ้อ จึงบีบบังคับประเทศอาหรับให้ค้าขายน้ำมันต้องผ่านเงินดอลล่าร์ หรือที่เรียกว่า “เปโตรดอลล่าร์” ทำให้เงินดอลล่าร์ลดการเฟ้อไปมาก กลับมามั่นคงอีกครั้ง เพราะประเทศทั่วโลกต้องก้มหน้าก้มตา เก็บเงินดอลล่าร์อีกครั้งหนึ่ง โดยมี ”น้ำมัน” เป็นตัวแปรบังคับ

... การหมด “ทองคำ” ไปมากในคลัง เลือดไหลไม่หยุด รวมทั้งการยกเลิกข้อตกลงเบรตตันวู้ด มีผลอยากมากต่อการหยุดยอมแพ้ใน “สงครามเวียตนาม” ของอเมริกา เพราะถ้าขืนสู้ต่อไป เงินดอลล่าร์จะค่าลดลงเรื่อยๆ เงินจะเฟ้อมากทวีคูณ สินค้าจะแพงขี้นเพราะสินค้าทั่วไปมีจำนวนน้อยลง เพราะโรงงานผลิตสินค้าทั่วไปบางส่วนต้องถูกแปลงสภาพเป็นโรงผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับสงครามเวียตนาม , คนจะตกงานมากขึ้น เดือดร้อนมากขึ้น หนี้จะมากขึ้นอีก และจากนั้นอเมริกาก็เข้าสู่โหมด “เงินเฟียต” ที่ไร้ทองคำค้ำการพิมพ์เงินนับจากนั้น ทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ

... และสุดท้ายอเมริกาก็ต้องค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรักษาเงินดอลล่าร์และยุติสงครามเวียตนามโดยปล่อยให้เวียตนามใต้แตกในปี 1975

... และในปีนั้น ที่ไซง่อนแตก ก็มีการพยายามขน “ทองคำแท่งเวียตนาม” มูลค่า 73 ล้านดอลล่าร์ หรือประมาณ 16 ตัน ของประธานาธิบดีเหงวียนวันเทียวของเวียตนามใต้ และ นายพลลอนนอลของกัมพูชาที่อเมริกาหนุนหลัง ไปที่สวิสเซอร์แลนด์ด้วย แต่มีปัญหาในการขนถ่ายของเครื่องบินเช่าของ Balair ที่เป็นเครือของสวิสแอร์ ที่สายการบินบอกว่าระหว่างการบิน จะต้องมีการตรวจสอบที่สองจุดเติมน้ำมันที่กรุงเทพ และบาห์เรน ที่จนถึงตอนนี้ยังไม่ทราบชัดเจนว่า “ทองคำไซง่อน” สุดท้ายไปจบลงอยู่ที่ใด
.

... South Vietnamese officials tried to ship $73‐million worth of gold bullion— apparently belonging to President Nguyen Van Thieu and to Lon, Nol, the President of Cambodia — to Switzerland, Time magazine says in its current issue, which goes on sale today.

... The airline pointed out that the cargo might be inspected at refueling stops in Bangkok and Bahrain, the magazine said.
... The Vietnam War had several effects on the U.S. economy. The requirements of the war effort strained the nation's production capacities, leading to imbalances in the industrial sector. Factories that would have been producing consumer goods were being used to make items from the military, causing controversy over the government's handling of economic policy. In addition, the government's military spending caused several problems for the American economy. The funds were going overseas, which contributed to an imbalance in the balance of payments and a weak dollar, since no corresponding funds were returning to the country. In addition, military expenditures, combined with domestic social spending, created budget deficits which fueled inflation. Anti-war sentiments and dissatisfaction with government further eroded consumer confidence. Interest rates rose, restricting the amount of capital available for businesses and consumers. Despite the success of many Kennedy and Johnson economic policies, the Vietnam War was a important factor in bringing down the American economy from the growth and affluence of the early 1960s to the economic crises of the 19

https://www.historycentral.com/sixty/Economics/Vietnam.html 

คลิก

Cr.Jeerachart Jongsomchai

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

230424 icm 100x33

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"