ดอกเบี้ยนโยบายจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้?

หลังจากที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงถึง 4.8% ในไตรมาส 1 และธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือน พ.ค.และมิ.ย.ประกอบกับการเร่งตัวของเงินเฟ้อ

(โดยเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.สูงเพิ่มขึ้นเป็น 1.38%) ก็ทำให้นักวิเคราะห์บางสำนักเริ่มคาดการณ์ว่า ธปท. โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินจะเริ่มปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในปีนี้ 1-2 ครั้ง จากระดับ 1.5% ในขณะนี้

ต่อมา นสพ กรุงเทพธุรกิจ สัมภาษณ์ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหัวข้อข่าวว่า “วิรไทส่งสัญญาณดอกเบี้ย ‘ขาขึ้น’ และจับตา 4 ปัจจัย “ ได้แก่เงินเฟ้อ การขยายตัวของเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเงิน และความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสร้าง “policy space” กล่าวคือ หากดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.5% เช่นปัจจุบันก็จะสามารถลดดอกเบี้ยลงได้เพียง 1.5% (ในอดีตดอกเบี้ยนโยบายเคยลดลงต่ำสุดที่ 1.25%) เพราะลดดอกเบี้ยต่ำกว่าศูนย์ จะผิดธรรมชาติอย่างมาก ดังนั้นหากปรับดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นกว่านี้เช่น 2.5% ก็จะมี policy space ที่จะลดดอกเบี้ยลงได้มากกว่าคือ 2.5% ในกรณีที่ “เหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น”

เรื่องนี้ อาจไม่ใช่เรื่องที่ไม่คาดคิดเพราะ การสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดย Wall Street Journal และความเห็นของผู้จัดการกองทุนสถาบันขนาดใหญ่ที่แบงค์ออฟอเมริกาเพิ่งสำรวจความเห็นมาในเดือนที่แล้วนั้น เกือบ 2/3 มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะหมดแรงลงในปี 2020 และอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกต้องชะงักงันลงไปพร้อมกันก็ได้ ทั้งนี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจพัฒนาไปในทางลบเร็วกว่านั้นก็ได้ เนื่องจากประธานาธิบดีทรัมป์ ยังยืนกรานที่จะดำเนินนโยบายกีดกันการค้าที่รุนแรงตามที่ได้เคยข่มขู่ประเทศคู่ค้าเอาไว้

กล่าวคือ หากตอบโต้กับจีนจนเต็มมูลค่าการส่งออกของจีน (5 แสนล้านเหรียญ) และขัดแย้งกับประเทศสมาชิกนาฟต้า (มูลค่าการค้า 1 ล้านล้านเหรียญ) ตลอดจน ขึ้นภาษีศุลกากรการนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ (มูลค่า 350,000 ล้านเหรียญ) และหากประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบดำเนินการตอบสหรัฐ อย่าง “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ก็จะกระทบกับมูลค่าการค้าของโลกได้มากถึง 2 ล้านล้านเหรียญหรือมากกว่า 10% ของมูลค่าการค้าทั้งโลก และเทียบเท่ากับ 2.5% ของ จีดีพี ของโลก (ปีหน้าคาดว่า จีดีพี โลก จะขยายตัวประมาณ 4%)

อย่างไรก็ดีผมก็ไม่แน่ใจว่าการปรับดอกเบี้ยขึ้น ตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไปเพื่อเพิ่ม policy space จะเป็นคำตอบ เพื่อช่วยกอบกู้เศรษฐกิจไทย หากเศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความตกต่ำในปี 2019-2020 ดังที่กล่าวข้างต้น เพราะเหตุผลหลัก ๆ 2 ประการคือ

การปรับดอกเบี้ยขึ้นนั้น อาจทำให้เงินบาทแข็งค่า ซึ่งไม่น่าจะเป็นการช่วยผู้ส่งออกที่จะได้รับผลกระทบจากการกีดกันการค้าในตลาดโลก
นโยบายการเงินนั้น ตำราเศรษฐศาสตร์บอกว่าจะไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในทันที แต่จะใช้เวลา (impact lag) ประมาณ 12-18 เดือน สมมุติว่า ธปท. ปรับดอกเบี้ยขึ้น 4 ครั้ง เริ่มต้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีนี้ ถึงกลางปีหน้า ก็แปลว่า ผลกระทบของการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการชะลอเศรษฐกิจ ก็จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ในปี 2020 ที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงพอดี ซึ่งก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่พึ่งประสงค์ในสถานการณ์ดังกล่าว

ดังนั้น การตัดสินใจที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจึงน่าจะต้องเป็นเหตุมาจากการปรับตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ที่เร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน และควรจะเร่งตัวขึ้นจนสูงกว่าเป้าหมายที่ ธปท. ได้ตกลงเอาไว้กับกระทรวงการคลังทุกปีที่ 2.5% แต่ปัจจุบันเงินเฟ้อเพิ่งจะเร่งตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเพียง 2-3 เดือน เท่านั้น และยังห่างไกลจากเป้าที่ตั้งเอาไว้คือ 2.5% อยู่มาก อย่างไรก็ดี เป้านี้อาจสูงเกินไป เพราะเงินเฟ้อในประเทศไทย อาจจะลดลงอย่างถาวร เนื่องจากเหตุผล 2 ประการคือ
ประชากรไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การใช้จ่ายลดลงเพราะการออมสูงขึ้น

การขยายตัวของการค้าแบบ on-line และ E-commerce ทำให้การแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้น และผู้ผลิตปรับราคาสินค้าขึ้นไม่ได้มาก
สมมุติว่า ธปท เชื่อว่าเงินเฟ้อในประเทศไทยนั้น จะปรับลดลงโดยถาวรอยู่ที่ 1.5% ด้วยปัจจัยดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นว่า หากเงินเฟ้อ ปรับเพิ่มขึ้น มาที่ระดับใกล้เคียง 1.5% ก็น่าจะเริ่มปรับดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ จีดีพี ไทยขยายตัวสูงถึง 4.4% ในปีนี้ ตามการคาดการณ์ของ ธปท เพราะ ธปท มองว่าเศรษฐกิจไทยนั้น โตเต็มที่ตามศักยภาพได้เพียง 4% ต่อปี กล่าวคือ การขยายตัวเกินกว่า 4% อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่หากเป็นเช่นนั้น เราก็จะต้องเผชิญปัญหา เพราะธนาคารกลางสหรัฐเขากำหนดเป้าเงินเฟ้อเอาใช้ที่ 2.0% และทำได้จริง (และอาจยอมให้เงินเฟ้อสูงกว่านั้น หรือ overshoot ก็ได้) ซึ่งหาก ธปท รีบปรับดอกเบี้ยขึ้นและทำให้เงินเฟ้อไทยติดอยู่ที่ 1.0-1.5% ต่อปี ก็ย่อมหมายความว่า เงินบาท ควรจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์ทุกปี เฉลี่ยปีละ 0.5-1.0%ซึ่งจะเป็นไปตามทฤษฎี Purchasing Power Parity หรือในระยะยาวกำลังซื้อของเงินทุกสกุลจะต้องเท่าเทียมกัน

โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
คอลัมนิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเศรษฐกิจ คอลัมน์ "เศรษฐศาสตร์จานร้อน"

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645080 

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

บทความสนับสนุนโดย FXPro
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"