The Analysis : USA Debt VS China Debt

เรื่องของหนี้ เป็นหัวข้อสำคัญที่บรรดาสื่อกระแสหลักของทางฝั่งตะวันตกมักนำมาพาดพิงถึงประเทศจีนเสมอ ว่าหนี้สินในส่วนของภาคเอกชนจีนนั้นกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง และเศรษฐกิจจีนกำลังเป็นฟองสบู่ลูกโตที่กำลังรอวันแตก

อย่างไรก็ดี ในขณะที่ประเทศจีนกำลังมีปัญหาเรื่องหนี้สินภาคเอกชนที่มีเพิ่มสูงขึ้นในอัตราความเร็วที่น่าตกใจ แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีปริมาณหนี้สินที่สูงมากเช่นเดียวกัน แต่ปริมาณหนี้สินนั้นไปอยู่ที่ภาครัฐบาล โดยมาถึงปัจจุบันนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกามีหนี้สินภาครัฐบาลทั้งหมดประมาณ 20 ล้านล้านดอลล่าร์ นับเป็นประเทศที่มีปริมาณหนี้สินที่ใหญ่ที่สุดของโลกใบนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างหนี้ภาครัฐบาลและหนี้ภาคธุรกิจ

ในปี 2540 เป็นปีซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่มีชื่อเรียกว่า วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ในขณะนั้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตคือการก่อหนี้ของภาคเอกชนที่สูงมาก รวมไปถึงการกู้ยืมเงินต่างประเทศระยะสั้น เพื่อมาปล่อยเงินกู้ระยะยาวภายในประเทศ ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้หนี้สินภาคธุรกิจพุ่งสูงขึ้นอย่างน่ากลัว และฟองสบู่นี้ก็แตก เกิดการลอยตัวของค่าเงินบาท ซึ่งยิ่งส่งผลกระทบต่อหนี้สินที่สูงอยู่แล้วให้ยิ่งสูงมากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รัฐบาลตัดสินใจกู้เงินจาก IMF เพื่อมาอุ้มธุรกิจภายในประเทศ และรัฐบาลมีการระดมทุนโดยการออกพันธบัตรมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้าการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยมีงบประมาณที่เกินดุลมาโดยตลอด จึงไม่มีความจำเป็นในการออกพันธบัตรมากนัก แต่หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยก็มีการออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาทางการเงินภายในประเทศ ซึ่งทั้งการกู้เงินจาก IMF ก็ดี หรือการออกพันธบัตรก็ดี เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างหนี้ทางภาครัฐทั้งสิ้น และรัฐบาลก็ใช้เงินเหล่านี้เข้ามาช่วยอุ้ม หรือหรือเข้ามาจัดการปัญหาหนี้สินของภาคเอกชนให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

จากกรณีที่เกิดขึ้นในปี 2540 จะเห็นได้ว่าในขณะนั้น ภาครัฐบาลมีปริมาณหนี้ที่ต่ำ แต่ภาคเอกชนมีหนี้ที่สูง ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาในภาคธุรกิจจนส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ รัฐบาลจึงมีความสามารถในการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาให้กับประเทศได้ กรณีที่เห็นได้ชัดนอกจากนี้ คือการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจสินเชื่อบ้านของสหรัฐอเมริกา หรือ Hamberger Crisis ที่เกิดขึ้นเพราะสินเชื่อในตลาดอสังหาริมทรัพย์แตก จนส่งผลให้เกิดความแตกตื่นในตลาดพันธบัตรสินเชื่อบ้าน (Mortgage Back Security - MBS) จนเกิดการเทขายขนาดหนัก และวาณิชธนกิจ Bear Sterns รวมทั้ง Lehman Brothers ต้องล้มละลายไป ซึ่งก่อนที่จะมีสถาบันทางการเงินแห่งอื่นๆ ล้มละลายไปมากกว่านี้ ในที่สุด สหรัฐอเมริกานำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็เข้ามาแก้ปัญหาโดยการทำมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เข้าซื้อพันธบัตรสินเชื่อบ้านรวมถีงซื้อพันธบัตรสหรัฐอเมริกาจำนวนมหาศาล ตั้งแต่ปี 2009 - 2014 ซึ่งมาตรการนี้ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถออกพันธบัตรได้จำนวนมากตามโปรแกรมการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลาง โดยการออกพันธบัตรนั้นหมายถึงการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาล เพื่อนำมาอุ้มภาคธุรกิจให้ยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นั่นเอง

หนี้สินภาคธุรกิจของประเทศจีน

จากข้อมูลของ Bloomberg กลางปี 2017 ที่ผ่านมา หนี้สินของภาคธุรกิจในประเทศจีนมีจำนวนสูงถึง 256% เมื่อเทียบกับ GDP และในการประชุม World Economic Forum ที่ Davos เมื่อต้นปี 2018 รองประธานกรรมการกำกับหลักทรัพย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ยอมรับถึงปริมาณหนี้ที่มีแนวโน้มจะสร้างปัญหาในอนาคต แต่ในขณะเดียวกัน ก็กล่าวถึงมาตรการการแก้ปัญหาหนี้สินเหล่านี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่นิ่งนอนใจของภาครัฐบาลจีนที่เล็งเห็น และพร้อมจะเข้าแก้ปัญหาหนี้สินเหล่านี้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากปริมาณหนี้สินภาครัฐบาลของประเทศจีนมีเพียง 44.3% ของ GDP นั่นชี้ให้เห็นว่าประเทศจีนยังมีศักยภาพที่จะดูแลภาคธุรกิจภายในประเทศได้อีกมาก

สังคมไร้เงินสดกับความสามารถในการสร้างหนี้ของประเทศจีน

หนึ่งในสาเหตุที่รัฐบาลจีนต้องการเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นสังคมไร้เงินสด คือเพื่อขจัดปัญหาการฟองเงิน และการทำธุรกิจที่หลีกเลี่ยงกฏหมาย การที่ประเทศจีนจะกลายเป็นประเทศที่ไร้เงินสดแปลว่าประเทศจีนกำลังจะนำทุกภาคส่วนของประเทศเข้าสู่ระบบการชำระเงินที่รัฐบาลสามารถตรวจสอบได้ เมื่อรัฐบาลตรวจสอบได้ ก็หมายถึงขนาดการบริโภคภายในประเทศที่ใหญ่ขึ้น หรือ GDP ที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงความสามารถในการเก็บภาษีที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความสามารถในการออกพันธบัตร หรือสร้างหนี้ ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศจีนถือได้ว่าเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากในการพัฒนาระบบสังคมไร้เงินสด ดังนั้น อัตราหนี้สินภาครัฐบาลที่แท้จริงของประเทศจีนในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะน้อยลง และรัฐบาลจีนมีความสามารถก่อหนี้ได้เพิ่มขึ้น

หนี้สินภาครัฐบาลของสหรัฐอเมริกา

ในขณะที่หนี้สินภาคเอกชนของสหรัฐอเมริกามีปริมาณราวๆ 45% ต่อ GDP แต่กลับมีหนี้สินภาครัฐบาลถึง 107% ต่อ GDP ด้วยปริมาณเกือบๆ 20 ล้านล้านดอลล่าร์ ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีปริมาณหนี้สินภาครัฐสูงที่สุดในโลก การที่รัฐบาลมีหนี้ในระดับที่สูงมาก แปลได้ว่า หากภาคธุรกิจเกิดการสะดุด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามจนทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลจะเกิดปัญหาเรื่องการระดมทุนเพื่อเข้าช่วยเหลือภาคธุรกิจทันที การขอกู้ยืมเงินจากต่างประเทศจะเป็นไปอย่างยากลำบากเพราะปริมาณหนี้ที่สูงติดเพดาน จะพิมพ์เงินเพิ่มทำ QE รอบใหม่ก็ยิ่งทำให้หนี้ที่สูงอยู่แล้วยิ่งสูงขึ้น งบการเงินธนาคารกลางอาจบวมจนเอาไม่อยู่ และความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดราคาพันธบัตรตกต่ำ มีแต่คนต้องการเทขาย แต่ไม่มีใครต้องการซื้อพันธบัตรของประเทศที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

หนี้สินภาคเอกชนบนอัตราดอกเบี้ย 0.25

หนี้สินภาคธุรกิจจะเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ก็ต่อเมื่อหนี้สินนั้นทำให้บริษัทเกิดกำไรและมีความสามารถในการชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม หนี้สินที่ภาคธุรกิจก่อขึ้นนั้น เป็นหนี้สินบนต้นทุนที่ต่ำระดับ 0.25% ซึ่งเป็นระดับที่เข้าใกล้ศูนย์มากๆ ทว่า ในขณะนี้ เป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ดำเนินนโยบาย Quantitative Tightening หรือนโยบายดึงสภาพคล่องทางการเงินกลับ โดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จาก 0.25% จนมาถึงขณะนี้ที่ 1.5% และธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีนโยบายที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก 3-4 ครั้งในปี 2018 ซึ่งการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะไปส่งผลกระทบโดยตรงกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรภาคธุรกิจ เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น พันธบัตรของภาคธุรกิจก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นตามเพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุน ทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ตัวเลขหนี้สินภาคธุรกิจที่แท้จริงของสหรัฐอเมริกาอาจต้องมีการปรับขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งคำถามที่น่าสนใจคือ ภาคธุรกิจจะมีความสามารถในการรักษากำไรของบริษัทได้หรือไม่เมื่อต้นทุนทางการเงินของบริษัทสูงขึ้น ท่ามกลางอำนาจการซื้อของตลาดที่จะหายไปจากการดึงสภาพคล่องทางการเงินกลับโดยธนาคารกลาง

นอกจากภาคธุรกิจจะถูกกระทบจากการดำเนินนโยบายดึงเงินกลับของธนาคารกลางแล้ว รัฐบาลสหรัฐเองก็ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ด้วยเช่นกัน ด้วยหนี้สินที่สูงอยู่แล้วของสหรัฐอเมริกา เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น หมายถึงต้นทุนทางการเงินของรัฐบาลสหรัฐก็ต้องสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องออกพันธบัตรใหม่ที่มีดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่เก็บภาษีได้น้อยลงจากนโยบายลดอัตราภาษี อีกทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่แล้ว ไม่เหมือนประเทศจีนที่ยังมีช่องว่างอยู่ ทำให้โอกาสที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีรายได้ประเทศเพิ่มขึ้นนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น หนี้สินที่มีขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาจึงนับได้ว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศเลยทีเดียว

เมื่อเทียบกันแล้ว ระหว่างหนี้สินของสหรัฐอเมริกาและหนี้สินของประเทศจีน แม้จะใช้คำว่า ‘หนี้’ เหมือนกัน แต่เนื่องจากเป็นหนี้ที่เกิดจากคนละภาคส่วน จึงมีนัยยะที่แตกต่างกันด้วย ประเทศจีนอาจมีการเกิดฟองสบู่แตกได้จากการที่มีหนี้ภาคธุรกิจที่สูง แต่ในแง่ของความมั่นคงทางการเงินของประเทศแล้ว ประเทศจีนยังมีทางออกของการแก้ปัญหาได้อีกหลายทาง ในขณะที่ทางฟากสหรัฐอเมริกานั้น แม้ภาคธุรกิจจะมีการก่อหนี้บนอัตราส่วนที่ยังไม่อันตราย แต่นโยบายทางการเงินขณะนี้กำลังสร้างความเสี่ยงใหม่ให้กับธุรกิจ ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะหากเกิดปัญหากับภาคธุรกิจของสหรัฐฯ โอกาสที่รัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือนั้นดูจะมีความยากลำบากมากขึ้น เพราะตัวเลขหนี้ของภาครัฐบาลที่สูงมากจนอาจจะมีปัญหาในการหาเงินมาช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศตนเองในอนาคต

Mei
.

#China #US #Debt #Bond #MacroEconomic #Dinotech

Cr. http://www.visualcapitalist.com/63-trillion-world-debt-one-visualization/

https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-02-08/sizing-up-china-s-debt-bubble-bloomberg-economics 

http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2017/04072017.aspx 

https://www.cnbc.com/2017/11/20/the-debt-time-bomb-that-keeps-growing-and-now-equals-nearly-half-of-u-s-gdp.html 

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"