ตอบทุกคำถาม 8 ธนาคารใหญ่คาดการณ์กำไร 2.2 แสนล้านบาท มากเกินไปจริงหรือไม่

ในวันที่คนไทยมีรายได้เฉลี่ยราวสองหมื่นบาทต่อคนต่อเดือนในปี 2565 ตามข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตัวเลขคาดการณ์กำไร 2.2 แสนล้านบาทของธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ ราวกับเป็นการสาดน้ำมันลงกองเพลิงโทสะของผู้คน

สรกล อดุลยานนท์ คอลัมนิสต์ผู้เป็นที่รู้จักด้วยนามปากกา “หนุ่มเมืองจันท์” ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่เศรษฐกิจของประเทศไม่เติบโต แต่ธนาคารพาณิชย์กลับมีกำไรสูงลิ่ว
เขายกคำศัพท์เฉพาะอย่าง ‘NIM’ ขึ้นมาฉายภาพว่า “ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ของแบงก์ไทยเพิ่มขึ้นจากเดิม จ่ายดอกเบี้ยคนฝากเงินน้อย ๆ แต่ให้กู้แพง ๆ ทำกำไรแบบง่าย ๆ”
สรกล ตั้งคำถามว่าเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้กำกับดูแลภาคการธนาคารหรือไม่ ที่ต้องเข้ามาจัดการภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศไม่เติบโต แต่ธนาคารพาณิชย์กลับมีกำไรสูงลิ่ว
บรรยง พงษ์พานิช นายธนาคารชื่อดัง คือหนึ่งในคนที่เห็นต่างจากความเห็นของสรกล เขาไม่ได้มองว่าตัวเลข 2.2 แสนล้านบาท มากเกินไป โดยให้เหตุผลว่าเมื่อมองผลตอบแทนจากส่วนผู้ถือหุ้น (Return On Equity: ROE) ของกลุ่มธุรกิจธนาคารแล้ว คำนวณออกมาอยู่ที่เพียงไม่ถึง 8% เท่านั้น
เพื่อไขข้อข้องใจในประเด็นทางเศรษฐกิจและการเงินครั้งนี้ บีบีซีไทยพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาคการธนาคารโดยตรง และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน
แบงก์พาณิชย์กำไรสูงจริงไหม
รายงานข่าวจากประชาชาติธุรกิจ ซึ่งรวบรวมข้อมูลผลกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าตัวเลขกำไร 9 เดือนแรก ของปี 2566 (ม.ค. – ก.ย.) อยู่ที่ 186,559 ล้านบาท และมีการประเมินเพิ่มเติมจากบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ว่าตัวเลขกำไรทั้งปี 2566 ของ 8 แบงก์ใหญ่ จะอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท
จากตัวเลขตั้งต้นดังกล่าว คำถามคือ การที่ธนาคารใหญ่ของไทย 8 แห่งจะมีกำไรรวมกัน 2.2 แสนล้านบาทในปี 2566 นับว่ามากเกินไปไหม
สำหรับ บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เขาบอกกับบีบีซีไทยว่า ‘ไม่’ ทั้งในมิติที่ไม่ได้เยอะเกินไปและไม่ได้ผิดปกติ “ถ้าบอกว่าแบงก์เอากำไรมากเกิน ผมก็เถียง” บรรยง กล่าว
เขาอธิบายเหตุผลของตัวเองว่า หากจะมองตัวเลขกำไร 2.2 แสนล้านบาท ก็จำเป็นต้องมองที่เงินทุนรวมด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเขาระบุว่าอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท เมื่อคำนวณออกมา “[กำไร] มันแค่ 8% เอง ถือว่าต่ำมาก ธุรกิจอื่นเขาไม่ทำกันหรอก”
เช่นเดียวกับ รศ.ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารความเสี่ยงและโครงสร้างองค์กร ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) และอดีตอาจารย์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในสหราชอาณาจักร ที่ระบุว่าการมองธุรกิจอย่างเป็นธรรมจำเป็นต้องวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียด “ถ้าบอกว่ากำไรมาก คุณต้องไปดูว่าใครกำไรมาก อย่าไปบอกว่าทั้งระบบมันกำไร มันไม่ใช่ทุกแบงก์ที่กำไรเยอะ มันต้องเป็นเคสบายเคส อย่าไปเหมารวม เหมารวมมันไม่ได้บอกภาพอะไร”
“คำว่าแสนล้าน หารลงไปกลม ๆ สิบแบงก์ เหลืออยู่หลักหมื่นล้าน เงินลงทุน [ของธนาคารพาณิชย์] ไม่ใช่ล้านสองล้าน มันหลายร้อยล้าน ค่าดูแลรักษาระบบ ไม่ต่ำกว่าสิบล้าน [ต่อปี]” รศ.ดร.นงนุช ระบุ
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคาร หรือ NIM คืออะไร
รศ.ดร.นงนุช อธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากรูปแบบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันไม่ได้มีแค่การรับฝากเงินและปล่อยกู้เหมือนในอดีต แต่ยังรวมการเข้าไปลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการเงินโดยตรงด้วย ทำให้การคิดต้นทุนกำไรของธนาคารไม่สามารถคิดได้จากการเอา “อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยลบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย”
เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคารกรุงเทพ ณ วันที่ 8 ม.ค. 2567 ตามข้อมูลจาก ธปท. พบว่า ธนาคารกรุงเทพมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแบบออมทรัพย์อยู่ที่ 0.45%-0.55% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในที่นี้ขอยกอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate: MRR) เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งอยู่ที่ 7.3% หากคิดแบบเอามาลบกันธรรมดาจะเท่ากับว่า ธนาคารกรุงเทพมีส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสูงถึง 6.75% - 6.85%
อย่างไรก็ตาม การคำนวณอย่างง่ายข้างต้น ยังไม่ใช่การคำนวณหา Net Interest Margin (NIM) ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เนื่องจาก NIM ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่การนำดอกเบี้ยเงินกู้มาลบดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ต้องคำนวณต้นทุนอื่น ๆ ของธนาคารเข้าไปด้วย เช่น ต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้กู้กรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ และต้นทุนการดำเนินการ เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวเลข NIM ที่แท้จริงของธนาคารกรุงเทพ ช่วงเวลา 9 เดือนแรกของปี 2566 อยู่ที่ 2.96% ขณะที่ตัวเลข NIM ในปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ 2.4% และ 2.10% ตามลำดับ
ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ค่าเฉลี่ย NIM ของธนาคารพาณิชย์ในไทย ในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 2.95%
ทำไมธนาคารต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้สูง
ทั้งนี้ จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่มักจะต่างกันมาก ทำให้ประชาชนหลายคนเกิดคำถามว่า ทำไมธนาคารพาณิชย์ต้องกำหนดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าเงินฝากมาก และผู้กำกับดูแลภาคการธนาคารอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถทำอะไรในเรื่องนี้ได้หรือไม่
ในมุมนี้ ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องทำกำไรสะสมไว้ว่า ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องเก็บสะสมกำไรที่หาได้ในแต่ละปี “เพื่อจ่ายคืนตอนที่มีหนี้เสียเยอะ ๆ อันนี้เป็นเรื่องที่ธนาคารต้องกลัว เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการเบี้ยวหนี้ กำไรที่เก็บมาสี่ห้าปีคือหายหมด”
ขณะที่ รศ.ดร.นงนุช กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เหตุผลที่ธนาคารต้องตั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ในระดับที่คนทั่วไปอาจมองว่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากนั้น เนื่องจากเวลาที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อ โดยทั่วไปจะมีทั้งคนที่เสี่ยงน้อยและคนที่เสี่ยงเยอะ ดังนั้นเมื่อธนาคารไม่สามารถคำนวณอัตราดอกเบี้ยโดยพิจารณาผู้ยื่นขอรายบุคคลแบบเดียวกับที่ธนาคารประเมินสินเชื่อเงินกู้ให้กับผู้กู้ที่เป็นบริษัทได้ จึงเป็นเหตุผลให้ธนาคารพาณิชย์ต้องคำนวณค่ากลางดอกเบี้ยเงินกู้ที่รวมเอาความเสี่ยงของทุกคนแล้วเข้ามา
“สินเชื่อมันมีทั้งสินเชื่อรายย่อยและนิติบุคคล แน่นอนว่าสินเชื่อบริษัทเขามีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน เขามีความเสี่ยงต่ำ มีรายได้ชัดเจน กิจกรรมอันนี้ก่อให้เกิดรายได้เท่านี้ มีงบย้อนหลัง แต่มาถามเราว่าคุณได้ทำบัญชีไหม บัญชีของคุณ รายรับ รายจ่าย ย้อนหลังสามปี เท่าไหร่ พอมันไม่มีหลักฐานการเงิน ถือว่ารายย่อยเสี่ยงกว่าธุรกิจ เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยที่คิดบนธุรกิจมันก็เลยถูกกว่า ดอกเบี้ยที่คิดกับบุคคลธรรมดา” รศ.ดร.นงนุช ระบุ
ดอกเบี้ยเงินกู้สูง เพราะการแข่งขันในภาคการธนาคารต่ำไปหรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า หรือเป็นเพราะแวดวงการธนาคารไทยมีการแข่งขันต่ำเกินไป จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงได้
บรรยง ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการเงินการธนาคารไทยมาเกินกว่า 40 ปี ยอมรับว่า “ระบบธนาคารของเราไม่มีประสิทธิภาพจริง การแข่งขันของเราในอดีตมันอาจจะไม่พอ มันก็ทำให้ประสิทธิภาพมันต่ำไปหน่อย”
ขณะที่ ผศ.ดร.ษิฌา ทับทิมพรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า การวิเคราะห์การแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีความแตกต่างจากการวิเคราะห์ธุรกิจทั่วไป เพราะสำหรับธุรกิจทั่วไป การแข่งขันยิ่งสูงจะถือว่าน่าจะยิ่งดีกับทุก ๆ ฝ่าย แต่สำหรับอุตสาหกรรมธนาคาร จะมีระดับการแข่งขันที่เหมาะสมอยู่ระดับหนึ่ง เนื่องจากหากการแข่งขันในธุรกิจธนาคารมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงและความไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
“ถ้าเราทำให้การแข่งขันในธนาคารสูงขึ้นมาก ๆ แล้วกลายเป็นว่าธนาคารมีขนาดเล็กจนเกินไป มันอาจจะทำให้พอร์ทลงทุนมันเล็ก พอพอร์ทลงทุนมันเล็ก การกระจายความเสี่ยงมันไม่มีประสิทธิภาพ ทีนี้มันกระจายความเสี่ยงได้ไม่มีประสิทธิภาพ มันสูญเสียผลตอบแทนไป เขาอาจจะยิ่งต้องคิดดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพื่อจะมาชดเชยความเสี่ยง หรือมันอาจจะแลกมาด้วยว่าเราจะมีธนาคารเล็ก ๆ เต็มไปหมด ซึ่งมันก็จะต้องใช้คำว่ามันไม่มั่นคง”
ถ้าตั้งเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นมาจะเป็นอย่างไร
ใต้โพสต์ที่กลายเป็นไวรัลของ “หนุ่มเมืองจันท์” มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่แสดงความเห็นว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้แบงก์ชาติเข้ามาควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น
ผศ.ดร.ษิฌา อธิบายว่า “ปกติแล้วไม่ค่อยมีใครเขาควบคุมการตั้งดอกเบี้ยเงินฝาก หรือการตั้งดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในยุคปัจจุบัน เพราะธนาคารพาณิชย์เอกชนไม่ได้ถูกควบคุม”
ทว่าการบอกว่าไม่ได้ถูกควบคุม ไม่ได้หมายความว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ถูกตรวจสอบหรือกำกับ
“ธนาคารเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งเขามีกฎระเบียบที่ต้องปฎิบัติตามเยอะมาก ต้องสำรองสภาพคล่อง ต้องดูแลเรื่องความเสี่ยง เขาถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและมีความถี่ที่สูงมาก ด้วยมาตรฐานการตรวจสอบตามมาตรฐานสากล” นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุ
ด้าน รศ.ดร.นงนุช ระบุว่า หากสมมติมีการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นจริง ผลกระทบจะกลับไปที่ปัญหาที่คาราคาซังมาแล้วหลายสิบปี อย่างการเพิ่มขึ้นของเงินกู้นอกระบบ
อดีตอาจารย์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในสหราชอาณาจักร กล่าวต่อว่า หากมีการตั้งเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นมาจริง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงทำธุรกิจโดยแสวงหาผลกำไร นั่นหมายความว่าธนาคารพาณิชย์เหล่านี้จะปล่อยสินเชื่อให้ได้แค่กับกับบุคคลซึ่งมีความเสี่ยงที่ธนาคารรับได้ในเพดานดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่จะไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ในระบบได้เลย อาทิ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มที่ไม่มีรายได้เสถียรหรือมั่นคง หรือกลุ่มที่ไม่มีเงินฝากมากพอจะพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นผู้มีความเสี่ยงต่ำพอจะกู้ได้
“มันไม่มีธุรกิจไหน ทำธุรกิจเพื่อการขาดทุน เพราะฉะนั้น กลุ่มที่ความเสี่ยงสูงเกินกว่าที่เพดานนี้จะรับได้ จะถูกเตะออกนอกระบบโดยธรรมชาติ แล้วกลุ่มนี้เขาจะไปไหนถ้าเขาต้องการสินเชื่อ เขาจะไปนอกระบบ มันจะย้อนกลับไปสู่ปัญหาเดิม ๆ 30-40 ปีที่ผ่านมา”
“ถ้าคุณต้องการให้คนเข้ามาอยู่ในระบบ นั่นหมายถึงต้องปล่อยเป็นอิสระ ให้มันเหมือนกับเงินกู้นอกระบบเลย ต่างคนต่างฟรี ถ้าลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงมา ลูกค้าเสี่ยงกล้าจ่ายดอกเบี้ยหรือเปล่า ถ้ากล้าจ่ายดอกเบี้ยสูง คุณได้เงินกู้ไป อันนั้นคนจะกลับเข้ามาในระบบ เพราะในระบบ อยู่ดี ๆ จะไปทวงหนี้เขา ไปทำร้ายเขาไม่ได้ แต่ถ้านอกระบบคุณคุมไม่ได้” รศ.ดร.นงนุช ระบุ
ทำไมแบงก์ชาติต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว 8 ครั้ง โดยครั้งแรกปรับขึ้นเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2565 และหลังจากนั้นก็มีการปรับเพิ่มอีก 7 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับเพิ่มขึ้นจาก 0.50% ในช่วงต้นปี 2565 มาอยู่ที่ระดับ 2.50% ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ เหตุผลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่านมา มีเหตุผลหลักๆ ก็เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการควบคุมเงินเฟ้อ
ในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของไทยพุ่งขึ้นจนทำสถิติด้วยตัวเลขเงินเฟ้อทั้งปีถึง 6.1% โดยเฉพาะในไตรมาสที่สามที่เงินเฟ้อพุ่งไปถึง 7.3% คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกจากระดับ 0.5% ขึ้นมาเป็น 0.75% ในการประชุมวันที่ 10 ส.ค. 2565 ซึ่งตรงกับช่วงไตรมาสที่สามของปี ซึ่งตัวเลขเงินเฟ้อไทยพุ่งสูงสุด
“เงินเฟ้อมันขึ้น แล้วเงินเฟ้อไม่ใช่ปล่อยไปแล้วค่อยมาขึ้น [ดอกเบี้ยนโยบายตาม] มันจะไม่ทัน อันนี้มันมีข้อพิสูจน์ทั้งโลก เพราะงั้นเขา [แบงก์ชาติ] ก็ต้องขึ้น” บรรยง พงษ์พานิช กล่าว
นอกจากนี้ ผศ.ดร.ษิฌา นักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ยังอธิบายด้วยว่า เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยทั่วโลก รวมถึงดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อยู่เสมอด้วย เพื่อเลี่ยงภาวะเงินทุนไหลออก
โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อยู่ที่ 5.25% - 5.50%
“ถ้าแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์ สิ่งที่เกิดตามมาคือแบงก์พาณิชย์จะลดดอกเบี้ยลงเหลือศูนย์เช่นกัน แล้วเงินที่คนฝากเงิน เขาจะมาฝากแบงก์ไทยไหม ถ้าสหรัฐฯ ให้ดอกเบี้ย 5.5% เขาก็ไปที่สหรัฐฯ แทน” ดร.จิติพล อธิบาย
ปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า ‘เงินทุนไหลออก’ ในเหตุกาณ์เช่นนั้น ดร.จิติพล อธิบายว่า ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ จะเริ่มเห็นเงินฝากตัวเองหายไปจากแบงก์ ท้ายที่สุดแบงก์เองก็จะไม่มีเงินมาปล่อยสินเชื่อ และ “ผลจะวนมาหาเรากันเอง”
ธนาคารพาณิชย์มีกำไรมาก แย่ต่อเศรษฐกิจเสมอไปจริงหรือ
ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในช่วงหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา มีส่วนทำให้ธนาคารพาณิชย์มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย โดย ดร.กิริฎา เภาพิจิตร จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อธิบายว่า ตามปกติแล้ว “เวลาดอกเบี้ย [นโยบาย] ขึ้น แบงก์มักจะกำไรเป็นเรื่องปกติ เพราะรายได้ของแบงก์ส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ย เวลาดอกเบี้ย [นโยบาย] ขึ้น แบงก์จะกำไรมากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีกำไร ในด้านหนึ่งก็มีข้อดี เนื่องจากแปลว่าธนาคารจะมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นและสามารถดูแลความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ในอนาคตได้ และเงินฝากของคนฝากเงินก็จะปลอดภัยมากขึ้นด้วย
“ถ้าประชาชนกำลังมีความเป็นห่วงเรื่องการมีกำไรเพิ่มขึ้นของธนาคาร ในอีกมุมนึงคือฐานะทางการเงินของเขามั่นคงขึ้น เงินฝากของผู้ฝากเงินก็ปลอดภัยมากขึ้น ถ้าธนาคารเขาขาดทุนมาก ๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลขึ้นมาได้” ผศ.ดร.ษิฌา นักวิชาการจากคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ระบุทิ้งท้าย
Author, ปณิศา เอมโอชา
Role, ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
Source: BBC Thai

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"