แจกเงินดัน "ขาดดุลแฝด" หนี้ประเทศพุ่ง-จีดีพีโตไม่ยั่งยืน

"ศุภวุฒิ สายเชื้อ" ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กูรูเศรษฐศาสตร์ชื่อดังส่งสัญญาณเตือน นโยบายแจกเงินดิจิทัลเดิมพันสูง 5.6 แสนล้านบาท เป็นการกระตุ้นกำลังซื้อ-การบริโภค ไม่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุน

หวั่นไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง-ยั่งยืน เสี่ยงเจอปัญหา "ขาดดุลแฝด" คือขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณมากขึ้น ดันตัวเลขหนี้สาธารณะพุ่ง ชี้เศรษฐกิจไทยไม่มี Engine of Growth ตัวใหม่ที่จะมาเสริมเครื่องยนต์ท่องเที่ยว ขณะที่จีนคู่ค้ารายใหญ่ของไทยกำลังเผชิญปัญหา โจทย์ยากรัฐบาลพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย
# ไม่มี Engine of Growth ตัวใหม่
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงมุมมองความท้าทายเศรษฐกิจไทยที่รัฐบาลใหม่ต้องเจอว่า ความท้าทายก็มีหลัก ๆ อยู่ 2 อัน คือ ความท้าทายระยะยาว ซึ่งผมคิดว่าเป็นปัญหาสำคัญกว่า ก็คือ ปัญหาโครงสร้างต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับการแก้ไขมานาน โดยที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวด้วยการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แต่หลังโควิดก็ยังกลับมาได้ไม่ได้ดีเท่าเดิม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน
สิ่งที่เป็นปัญหาค้างคาก็คือเราหา Engine of Growth ตัวอื่น ๆ มาเสริมท่องเที่ยวได้แค่ไหน เพราะว่าแม้กระทั่งตอนก่อนโควิด เรามีนักท่องเที่ยวกว่า 40 ล้านคน ซึ่งค่อนข้างจะเต็มศักยภาพระดับหนึ่งแล้ว และเป็นการเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ก็เริ่มถูกตั้งคำถามว่าจะมีความยั่งยืนได้มากน้อยเพียงใด จึงมีคำถามว่าจะทำอย่างไรให้มีมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยว มีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น อย่างเช่นเดิมประเทศไทยเป็น "ดีทรอยต์ออฟเอเชีย" แต่ตอนนี้ รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จะเข้ามาทดแทนรถสันดาปภายใน ซึ่งเดิมไทยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์สันดาปภายใน แต่เมื่อรถอีวีมา ชิ้นส่วนพวกนั้นไม่ต้องใช้เลย ฉะนั้นเราก็ต้องปรับตัว
ส่วนการจะปรับไปทำแบตเตอรี่ ประเทศไทยก็ไม่มีทรัพยากรที่จะสนับสนุนอย่างพวกลิเทียม หรือโคบอลต์ ต่าง ๆ ก็จะกลายเป็นแค่ผู้ประกอบแบตเตอรี่ ซึ่งคนที่ทำแบตเตอรี่ก้าวหน้ามากที่สุดก็คือ ประเทศจีน ขณะที่เราซึ่งเป็นผู้ประกอบก็คงได้มูลค่าเพิ่มไม่มาก แน่นอนว่าศักยภาพเราในด้านการทำตัวถังก็ยังดีอยู่ แต่ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะหดตัวลงไปมาก เพราะว่าอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างชิ้นส่วนภายในจะหายไปเยอะ
# นโยบายพลังงานย้อนแย้ง
ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า อีกตัวที่สำคัญก็คือพลังงาน ที่มีปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ระยะสั้นก็บ่นกันว่า พลังงานราคาแพงขึ้น และระยะยาวราคาพลังงานก็มีแนวโน้มจะแพงขึ้น เพราะว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ปรับเพิ่มขึ้น แล้วก็ต้องระวังเรื่องของสิ่งแวดล้อม เรื่องของก๊าซเรือนกระจกก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ
"แต่กลายเป็นว่าระยะสั้น รัฐบาลจะพยายามลดราคาพลังงานลง ทั้ง ๆ ที่ราคาพลังงานอนาคตจะแพงขึ้น ก็จะเป็นการทำนโยบายสวนทางกับการโครงสร้างในระยะยาวที่จะลดการพึ่งพาพลังงาน แต่ว่าเราจะไปพยายามลดค่าไฟ ลดค่าน้ำมันดีเซล โดยการไปลดภาษี หรือเพิ่มหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็จะไปย้อนแย้งกับความจำเป็นในระยะยาวที่จะต้องควบคุมการใช้พลังงานไม่ให้เพิ่มขึ้นมาก"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราก็รู้ว่า ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยก็จะหมดลงไปเรื่อย ๆ ปัญหานี้จะแก้ยังไงในระยะยาว ก็ต้องพยายามลดทอนการใช้พลังงานที่ใช้อยู่ปัจจุบัน แต่กลายเป็นว่าเรากำลังจะต้องไปช่วยในระยะสั้น ลดราคาดีเซล ลดราคาไฟฟ้า มันไม่ตอบโจทย์ในระยะยาวแน่นอน"
# ปัญหาสำคัญ "คน-การศึกษา"
ดร.ศุภวุฒิระบุว่า อีกความท้าทายสำคัญคือเรื่อง "คน" จริง ๆ เป็นเรื่องสำคัญมาก และเป็นปัญหาที่ยากที่สุด ทั้งด้านการศึกษาของคนไทย และที่คนรุ่นใหม่ และเด็กมีจำนวนลดลง ปี 2565 ที่ผ่านมา เป็นปีแรกที่จำนวนเด็กอายุ 0-14 ปี มีน้อยกว่าคนแก่ที่อายุ 60 ปี หรือมากกว่านั้น เข้าใจว่าคนแก่มีอยู่ 12 ล้านคน ส่วนเด็กจะเหลือแค่กว่า 11 ล้านคนแล้ว
ดังนั้นเมื่อมีจำนวนเด็กน้อยลง ในอนาคตแรงงานก็จะน้อยลงไปด้วย ดังนั้นยิ่งต้องทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น แต่เรามีปัญหาว่า PISA สกอร์เปรียบเทียบกับต่างประเทศของ OECD คุณภาพการศึกษาของไทยไม่เพิ่มขึ้นเลย ในวิชาพื้นฐานอย่างวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
"คุณภาพการศึกษาและความเท่าเทียมของการเข้าสู่การศึกษาสำหรับคนรุ่นใหม่ สำหรับเด็กไทย น่าจะเป็นตัวสำคัญที่สุด ถ้าพื้นฐานไม่ดี ยังไง ๆ คุณก็จะขับเคลื่อนให้เด็กกลายเป็นคนที่มีศักยภาพ จะไปทำทาง AI ไปทำงานโปรแกรมมิ่ง ไปทำครีเอทีฟอีโคโนมี ก็ทำยาก ถ้าพื้นฐานยังดึงไม่ขึ้นเลย ต้องแก้ตรงนี้
ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ได้มีการแก้ไขตรงนี้ได้อย่างจริงจังเลย อย่าว่าแต่เรื่องของเด็กเลย เรื่องของครูก็ยังมีปัญหาเรื่องหนี้สินครู ก็ต้องแก้ แต่ดูจากนโยบายที่จะแก้ตรงนี้ ผมยอมรับว่ายังไม่เห็นพรรคไหนเลยที่ออกมาพูดชัด ๆ ว่าจะแก้เรื่องของคุณภาพการศึกษายังไง อย่างเป็นระบบ"
ประเด็นสุดท้ายคือ คนแก่ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นจาก 12 ล้านคน เป็น 20 ล้านคน ในช่วงไม่ถึง 20 ปีข้างหน้าถ้าไม่ดูแลสุขภาพให้ดี ก็จะเป็นภาระหนัก เพราะเรารู้ว่า คนที่สุขภาพไม่ดี ตอนอายุประมาณปลาย ๆ 60 ปี พอป่วยหนักต้องรักษาแบบใช้ยาราคาแพง ใช้เทคโนโลยีแพง ๆ ตรงนั้นจะเป็นภาระอย่างรุนแรง แล้วถ้าเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ยาก ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มพูนขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามองกันว่าการเข้าถึงการรักษาเป็นสิทธิทางการเมืองไปแล้ว
# แจกเงิน 10,000 จีดีพีโตไม่ยั่งยืน
ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า สำหรับความท้าทายระยะสั้นของรัฐบาล คือจากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต ที่รัฐบาลบอกว่าต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจพลิกฟื้นขึ้นมา ในหลักการอาจจะพูดว่ากระตุ้นแรงมาก เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นขึ้นมาทันที ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมาเลยมาก ๆ อันนี้ก็ไม่ว่ากัน
แต่ต้องกลับไปดูว่าสถานการณ์ของเศรษฐกิจมหภาคเอื้ออำนวยต่อการทำนโยบายแบบนั้นหรือเปล่า เพราะถ้าไม่เอื้ออำนวย คุณจะมีปัญหาว่าที่คาดหวังว่าจะกระตุ้นแรง ๆ แต่ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนก็จะเกิดปัญหาได้
โดยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะที่เรียกว่าเคนเซียนอีโคโนมิกส์ จะบอกว่าเป็นไปได้ที่ในระยะสั้นที่เศรษฐกิจเกิดการขาดความมั่นใจทั้งนักลงทุนและทั้งผู้บริโภค ทำให้ไม่บริโภคและไม่ลงทุน ซึ่งทำให้เกิดการว่างงานเยอะ จากการไม่กล้าลงทุน
อันนั้นรัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องยอมขาดดุลงบประมาณและเอาเงินในอนาคตมาใช้กระตุ้นให้เกิดความมั่นใจ ให้เกิดการลงทุน เพื่อจะช่วยให้เกิดการจ้างงาน ช่วยให้มีการสร้างรายได้ และเป็นการช่วยให้มีการบริโภค แล้วก็จะมีวัฏจักรในเชิงบวก เรียกว่าตัวทวีคูณเกิดขึ้น
"แต่คำถามคือ สถานการณ์ตอนนี้ของประเทศไทย มันเหมาะสมสำหรับทำสิ่งพวกนั้นหรือเปล่า วิธีดูอันนึงสำหรับผมคือ การไปดูดุลบัญชีเดินสะพัด ที่บอกว่าประเทศไทยส่งออกสินค้าและบริการมากกว่านำเข้าสินค้าและบริการหรือเปล่า ถ้าเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แปลว่าส่งออกเกินการนำเข้า อันนี้จะสะท้อนว่าภายในเศรษฐกิจมีกำลังการผลิตเหลือ เราถึงส่งออกมากกว่านำเข้า" ดร.ศุภวุฒิอธิบาย
ถ้าเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ใช้กระตุ้นกำลังซื้อได้ เพราะว่ากระตุ้นไปเดี๋ยวก็จะมาผลิตในประเทศได้ หรือกระตุ้นแล้วนำเข้าสินค้าทุนเพื่อให้ฟื้นการลงทุนในประเทศ เพราะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด มันสะท้อนว่าเศรษฐกิจเรามีรายได้เหลือ แต่ถ้าขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งแปลว่าประเทศใช้จ่ายเกินตัว แล้วยังกระตุ้น จะยิ่งทำให้ขาดดุลมากขึ้น
# เตือนภัยไทย "ขาดดุลแฝด"
ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า ช่วงหลังต้องยอมรับว่าเราไม่ได้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเหมือน 6-7 ปีก่อน โดยปี 2021 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยก็ขาดดุลกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2022 ก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 14,700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 6 เดือนแรกปีนี้เกินดุลนิดเดียว คือ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ แล้วเดือน ก.ค.ล่าสุดก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีก 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
"อันนี้มีความเสี่ยง ถ้าไปกระตุ้นมาก ๆ จะมีปัญหา เพราะว่าในการบริโภคของคนไทยจะมีสัดส่วนของการนำเข้าถึง 50% ของจีดีพี ถ้าใส่เงินเข้าไป เป็นไปได้มากเลยว่า ถ้าเอาไปบริโภค เงินจะไหลออกไปครึ่งหนึ่ง แม้กระทั่งปุ๋ยการเกษตรก็เป็นการนำเข้า 90% ถ้ากระตุ้นแบบนี้ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น รวมถึงนโยบายที่บอกว่าจะลดภาษี ทำให้น้ำมันดีเซลราคาลดลง ก็จะทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น"
ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า ฉะนั้นต้องกระตุ้นซัพพลาย ไม่ใช่กระตุ้นดีมานด์ เพราะการกระตุ้นดีมานด์ จะทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น แล้วก็จะทำให้เกิดขาดดุลแฝด เหมือนในยุควิกฤตต้มยำกุ้ง คือขาดดุลงบประมาณ และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพร้อมกัน
ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศที่ขาดสองอันพร้อมกัน ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ยกเว้นประเทศที่พิมพ์เงินเองอย่างสหรัฐ ซึ่งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะมีข้อดีตรงที่ว่า ถ้ามั่นใจว่าขาดดุลเพราะนำเข้าสินค้าทุนมาลงทุนเพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับเศรษฐกิจ แล้วจะทำให้เศรษฐกิจในอนาคตโตมากขึ้น มีผลผลิตมากขึ้น แล้วใช้คืนหนี้ได้
เนื่องจากนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลตให้ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคน ต้องใช้เงินก้อนใหญ่มาก คือกว่า 5 แสนล้านบาท เพิ่มความเสี่ยงเรื่องสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศ โดยรัฐบาลจะต้องทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำเงินไปใช้ทำนโยบาย และอีกส่วนก็ต้องเป็นการหมุนเงินจากสถาบันการเงินของรัฐ โดยขยายกรอบวงเงินใช้มาตรา 28 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง
# ดันหนี้สาธารณะพุ่ง
"ถ้านโยบายนี้สำเร็จก็จะทำให้จีดีพีเติบโต มีรายได้เงินภาษีเพิ่มขึ้น แต่ถ้านโยบายไม่สำเร็จ คือไม่สามารถทำให้จีดีพีขยายตัวได้ตามคาดหวัง ก็จะทำให้รัฐบาลต้องขาดดุลงบประมาณมากขึ้น และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีก็จะสูงขึ้น เพราะจีดีพีไม่ได้ขยายตัว"
ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรกล่าวเพิ่มเติมว่า นโยบายการแจกเงินเป็นการกระตุ้นดีมานด์ในการบริโภคของประชาชน ไม่ได้จูงใจให้เกิดการลงทุนระยะยาว เป็นการกระตุ้นระยะสั้น และโอกาสที่จะให้จีดีพีโต 5% ต่อเนื่องอย่างที่รัฐบาลต้องการยาก
นอกจากนี้ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ใช่แค่ปัญหาระยะยาว แต่ระยะสั้นจะสังเกตได้ว่าเงินบาทเริ่มอ่อน ซึ่งก็จะทำให้เงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นอีก แล้วพอเงินเฟ้อขึ้น ธปท.ก็จะขึ้นดอกเบี้ยอีก ก็เป็นปัญหาตามมาอีก
# โจทย์ยากเศรษฐกิจโลกไม่เอื้อ
ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า เศรษฐกิจไทยต้องขึ้นกับเศรษฐกิจโลก แต่ตอนนี้สหรัฐปราบเงินเฟ้อไม่ค่อยได้ ดอกเบี้ยเลยสูงต่อเนื่อง ทำให้ดอกเบี้ยสูงทั้งโลก ซึ่งก็ไม่ดีเลยสำหรับทั้งโลก เพราะกระทบต้นทุนของผู้ประกอบการ ขณะที่จีนก็ฟื้นไม่ค่อยดี เพราะมีปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก แล้วก็กระทบกับทั้งภาครัฐบาลท้องถิ่น ทั้งธนาคารเงา เศรษฐกิจจีนก็อาจจะฟื้นช้า
ขณะที่จีนเป็นลูกค้ารายใหญ่ของประเทศไทย ส่งออกของไทยก็เลยไม่ดีเท่าไหร่ ขณะที่ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจจีนอาจจะต้องพึ่งพาการยอมให้หยวนอ่อนค่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตัวเอง ซึ่งถ้าจีนดึงเงินหยวนให้อ่อน เงินบาทก็จะอ่อนตามไปด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกการควบคุมของเรา และดูทิศทางก็ไม่ได้เอื้ออำนวยให้การฟื้นตัวของไทยเป็นไปได้ง่าย
"ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ยากของรัฐบาลในการจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ต้องกลับไปพลิกฟื้นเศรษฐกิจแบบแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานเลย คือต้องใช้เวลานาน ถ้าหวังผลเร็ววันคงยาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่นักการเมืองไม่แก้ปัญหาระยะยาว ก็เพราะรู้ว่าต้องใช้เวลาหลายปี ขณะที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีเวลาทางการเมืองเท่าไหร่ ทำไปแล้ว ไม่รู้ว่าจะทำสำเร็จหรือเปล่า แต่ทำอะไรสั้น ๆ มันจะเห็นผลงาน ดังนั้นปัญหาระยะยาวก็เลยไม่ได้ถูกแก้"
"สำหรับผมเรื่องระยะยาว เป็นเรื่องของอุปทาน หรือซัพพลาย ไม่ใช่เรื่องของดีมานด์ คือส่วนใหญ่ เราจะเห็นว่ารัฐบาลอยากกระตุ้นดีมานด์ แต่ปัญหามันคือซัพพลาย ปัญหาคือทำไงให้มีแรงงานที่มีศักยภาพให้ธุรกิจได้ใช้ หรือทำอย่างไรให้มีพลังงานที่มีศักยภาพ พลังงานที่มีราคาไม่แพง แต่ต้องไม่ใช่ไปบิดเบือนราคา เพราะไม่ได้สะท้อนความจริงว่า พลังงานหายากขึ้น ดีไม่ดีต้องพยายามลดการใช้พลังงานด้วยซ้ำ"
Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"