ยุทธศาสตร์ที่ทำให้ชาติล่มสลาย ได้ผลแน่นอน

ก่อนจะเริ่มเขียนบทความนี้ ผมได้ยินข่าวเกี่ยวกับคณะจัดทำ “ยุทธศาสตร์ชาติ” ในบางด้านได้เริ่มรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญกันบ้างแล้ว แต่เรื่องที่ผมจะนำมาเล่าต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับข่าวดังกล่าวแต่ประการใด

ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดในเวลานี้ก็เพียงเพื่อชี้ให้เห็นว่าการมียุทธศาสตร์ชาติเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น แต่ต้องมีกระบวนจัดทำที่ถูกต้อง เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ ในเวลาอันสั้น ผมจึงขอนำเรื่องที่ตรงกันข้ามกับการทำให้ชาติเจริญมาเล่าสู่กันฟัง นั่นคือ ยุทธศาสตร์ที่ทำให้ชาติล่มสลายรับประกันได้ผลแน่นอน แต่อาจจะช้าหน่อยนะ

เนื่องจากผมเองอยู่ในวงการศึกษาและมีความสนใจเรื่องพลังงานเป็นพิเศษ ดังนั้น เรื่องที่จะนำมาเล่าและวิเคราะห์ให้เห็นเป็นรูปธรรมก็คงไม่ไกลไปจากนี้แหละ

ต้นเรื่องนี้มาจากเรื่องเล่าในกลุ่ม Line ของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ผู้นำมาเล่าคืออาจารย์พิภพ ธงไชย ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ทุ่มเทกับการศึกษาและมูลนิธิเด็กมายาวนาน อาจารย์พิภพ ได้เขียนเล่าว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศแอฟริกาใต้ท่านหนึ่ง ได้เขียนเตือนใจลูกศิษย์ของตนว่า

“การทำให้ชาติใดชาติหนึ่งล่มจมไม่จำเป็นต้องใช้ระเบิดปรมาณู หรือขีปนาวุธพิสัยไกลหรอกเพียงแค่ลดคุณภาพการศึกษา และปล่อยให้มีการโกงของนักเรียนนักศึกษาในการสอบก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ชาตินั้นล่มสลาย เพราะผลผลิตทางการศึกษาเช่นนี้จะก่อให้เกิด (1) คนไข้ตายที่ไม่ควรตาย ก็มาตายในมือหมอ (2) ตึกถล่มจากผลงานวิศวกร (3) เงินสูญหายด้วยฝีมือนักบัญชี (4) มนุษยธรรมมลายไปในมือนักวิชาการทางศาสนา (5) ความยุติธรรมวอดวายไปในมือผู้พิพากษา (6) ยุวอาชญากรเด็กในมือครูที่ไม่มีจิตวิญญาณ (7) ผู้บริหารที่ไร้คุณธรรม จริยธรรมเต็มบ้านเมืองนั่นคือความล้มเหลวของการศึกษา คือการล่มสลายของชาติ”

ผมอยากจะเน้นว่า “ปล่อยให้มีการโกงของนักเรียน นักศึกษาในการสอบก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ชาตินั้นล่มสลาย” ซึ่งก็คือการบ่มเพาะให้นักเรียนและนักศึกษาได้ทุจริตนั่นเอง

แต่นอกเหนือจากการฝึกให้รู้สึกชินชากับการทุจริตดังกล่าวแล้ว ผมเชื่อว่ายังมีปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่นำไปสู่การลดลงของคุณภาพทางการศึกษาก็คือ การไม่สอนให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างบูรณาการรู้จักการวิเคราะห์บนข้อมูลที่พร้อมและทันสมัย แต่มักจะเน้นการท่องจำเป็นส่วนใหญ่

ผมเองอยู่ในวงการการศึกษามานานร่วม 50 ปี ทั้งในฐานะผู้เรียนและอาจารย์คณิตศาสตร์ (แต่ไม่ใช่ผู้บริหารการศึกษา) ผมเชื่อว่าพลังของการคิด (Power of Thinking) ของนักเรียนไทยได้ลดต่ำลงก็เพราะกระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกวิชาเรขาคณิตของยูคลิด ซึ่งเป็นวิชาที่ช่วยจัดระเบียบและขั้นตอนทางการคิดพร้อมเหตุผลประกอบได้อย่างดีเลิศ แต่ได้หันไปเรียนวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์แทน ซึ่งผมเห็นว่าการลำดับเหตุผลสู้อย่างเดิมไม่ได้

ในตอนแรก ผมเข้าใจว่ามีการเปลี่ยนกันทั้งโลก แต่หลังจากที่มีอินเทอร์เน็ตใช้ก็ทราบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของโลกยังคงสอนเรขาคณิตแบบดั้งเดิม

คุณภาพการศึกษาไทยได้ตกต่ำลงแค่ไหน จากการทดสอบโดยโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (หรือ PISA) ประจำปี 2015จาก 70 ประเทศ ใน 3 วิชา คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่าน พบว่า ประเทศสิงคโปร์ได้อันดับสูงสุดทั้ง 3 วิชา ในขณะที่เวียดนามได้อันดับที่ 8 , 22 และ 32 (ตามลำดับ) แต่ประเทศไทยเราได้อันดับที่ 54, 54 และ 57 (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นคะแนนที่ถือว่าสอบตกทุกวิชา

จากผลการสอบคะแนนโอเน็ตของนักเรียนชั้น ม.6 ประจำปี 2559 (ซึ่งเราจัดสอบกันเอง) พบว่าคะแนนเฉลี่ยทั่วประเทศต่ำกว่า 50% เกือบทุกวิชา และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ใน 5 วิชา พบว่าปี 2559 มีคะแนนต่ำกว่าปี 2550 ทั้ง 5 วิชาเช่น คณิตศาสตร์ เคยได้ 32.5% ลงมาเหลือ 24.9% วิทยาศาสตร์ เคยได้ 34.6% ลงมาเหลือ 31.6% เป็นต้น

ที่กล่าวมาแล้วเป็นเรื่องการสอนและการวัดผล แต่คุณอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีได้กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อ 10 กว่าปีก่อนว่า “ข้อด้อยของคนไทยมี 3 อย่าง คือ (1) ค้นหาความจริงน้อยไป (2) เคารพความคิดเห็นของคนอื่นน้อยไป และ (3) นับถือปริญญามากกว่าความรู้”

ล่าสุดเพื่อนในเฟซบุ๊กของผม (คุณตรีพิพัฒน์ บัวเนียว) ได้ตั้งข้อสังเกตหลังจากนำลูกชายที่เกิดในประเทศนิวซีแลนด์ไปเข้าเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง (ในไทย) ว่า หลังจากทำความคุ้นเคยกันอยู่พักหนึ่ง เด็กๆ ที่เข้ามาเล่นกับเขาชอบใช้นิ้วทำเป็นปืนมายิงหัวเขา แล้ววันถัดมาก็นำปืนพลาสติกมาโรงเรียน คุณตรีพิพัฒน์บอกว่า ภาพเหล่านี้จะไม่เห็นในนิวซีแลนด์ เพราะมันคือการบ่มเพาะความรุนแรงให้กับเด็ก

เมื่อนำข้อสังเกตของทั้งสองคนมาวิเคราะห์ พบว่า คนไทยชอบแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงแทนที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยความเคารพต่อกัน

ผมยังเหลือเรื่องพลังงานที่จะนำมาเล่าตามสัญญาครับ แต่ก่อนจะถึงตรงนั้นขอพูดถึงการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งรัฐบาล คสช.ได้ออกเป็น “พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560” (ประกาศใช้ ก.ค. 60) เพราะจะได้เห็นกันชัดๆ ว่า หลักการที่ได้กำหนดใน พ.ร.บ.กับการปฏิบัติจริงนั้นเป็นอย่างไรกันแน่

จากมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติ ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล และเป้าหมายการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ โดยให้ดำเนินการตามกระบวนการ ดังต่อไปนี้

(1) มีการใช้ข้อมูลความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ

(2) วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรอบด้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด รวมทั้งความเสี่ยงของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น

(3) การให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติรวมทั้งการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน

แต่ในความเป็นจริงในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาขนาด 2,200 เมกะวัตต์ บริษัทที่ปรึกษาซึ่งรับจ้างจัดทำ “รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม” หรือ รายงาน EHIA ได้อ้างอิงข้อมูลซึ่งจัดทำในปี 1999 หรือ 19 ปีก่อน เพื่อที่จะบอกว่า ต้นทุนในการก่อสร้างกังหันลม และโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้านั้นมีราคาแพงเกินไป ในขณะที่ต้นทุนที่ผลิตจากถ่านหินมีราคาถูกกว่า

ผมได้ตัดรายงานบางส่วนมาให้ดูตามภาพข้างล่างนี้ครับ

ในขณะที่ พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ (มาตรา 7) ได้วางกรอบการดำเนินการไว้ 3 ข้อ หนึ่งในนั้นคือ “มีการใช้ข้อมูลความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ”

คำถามคือ การนำเอาข้อมูลเมื่อเกือบ 20 ปีก่อนมาใช้กับเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกังหันลม และโซลาร์เซลล์ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งประสิทธิภาพที่สูงขึ้นและต้นทุนที่ลดลงอย่างรวดเร็วนั้น เป็นการวิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้วหรือ?

จริงอยู่ว่า รายงานนี้จัดทำก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับบนี้จะมีผลบังคับใช้ แต่ในขณะที่กรรมการชำนาญการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งให้อ่านและตรวจสอบความถูกต้องนั้น พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ท่านผู้ชำนาญการเหล่านั้นไม่รู้สึกอะไรเลยหรือ

นอกจากนี้ ยังพบว่าต้นฉบับเดิมของเอกสารอ้างอิงปี 1999 ได้เขียนหน่วยผิดพลาด รายงาน EHIA ฉบับนี้ก็ลอกมาโดยไม่ได้แก้ไขแต่อย่างใด

นี่คือการลอกข้อสอบ ที่ผู้ลอกไม่รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด

รายงาน EHIA ที่จัดทำโดยบริษัทที่ปรึกษา ได้ระบุว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์จะอยู่ระหว่าง 12.50-32.50 บาทต่อหน่วย ซึ่งสูงกว่าที่รายงานเรื่อง Rethinking Energy 2017 ซึ่งศึกษาโดยองค์กรระหว่างรัฐบาลที่ชื่อ IRENA ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกด้วยหลายเท่าตัว

นอกจากนี้ เหตุผลในการไม่เลือกใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ที่รายงาน EHIA ฉบับนี้นำมาอ้าง เช่น ไม่สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องนั้น เป็นเหตุผลที่ล้าสมัยไปหมดแล้ว เพราะในปัจจุบันนี้สามารถเก็บไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ (ซึ่งมีราคาถูก) เอาไว้ใช้ในช่วงที่แดดไม่มี ลมไม่มาได้แล้ว

นี่แสดงว่าผู้จัดทำรายงานไม่ได้ “วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างรอบด้าน” ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้เลย

ยังมีอีก 2 เรื่องใหญ่ๆ ที่รายงาน EHIA ฉบับนี้ไม่ได้ศึกษา คือ

หนึ่ง ไม่ได้ศึกษาผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อข้อตกลงปารีสที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ร่วมลงนามว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20-25% (เมื่อเทียบกับระดับปี 2030 ที่ไม่มีนโยบาย)

เรื่องนี้เป็นศักดิ์ศรีของประเทศ ตามที่ได้มีการเตือนไว้ในประเทศแอฟริกาใต้ เพราะ “ผู้บริหารที่ไร้คุณธรรมจริยธรรม” จะทำให้ประเทศล่มสลายได้

สอง ขณะนี้ประเทศไทยเรามีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป (สำรองเกินกว่าสองเท่าของระดับมาตรฐานสากลที่ 15%) แต่ไม่มีการศึกษาว่า หากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ จำนวนรวมกัน 3,000 เมกะวัตต์แล้ว จะส่งผลกระทบทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นอีกเท่าใดเพราะสัญญาที่ทำกับเอกชนจะมีลักษณะ “ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย” ซึ่งอยู่ในรูปของ “ค่าความพร้อมจ่าย”

ผมเองได้ลองค้นข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พบว่าในช่วงเดือนตุลาคม 50 ถึง มกราคม 51 (4 เดือน) คนไทยต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายจำนวน 15,596 ล้านบาท หรือ 0.56 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า แต่ในปี 2560 (ทั้งปี) ได้เพิ่มเป็น 92,411 ล้านบาทหรือ 0.73 บาทต่อหน่วย

หรือเพิ่มขึ้นถึง 17 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้า ถ้ามีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นอีก 3 พันเมกะวัตต์เข้ามา ค่าความพร้อมจ่ายต่อหน่วยไฟฟ้าก็ต้องเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อมีโรงไฟฟ้ามากเกินไป แต่ละโรงก็ต้องลดการผลิตลง ค่าความพร้อมจ่ายต่อหน่วยจึงต้องเพิ่มขึ้น

กระทรวงพลังงานมักอ้างว่า การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 4-5% แต่ข้อมูลจริงในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2560 ที่ผ่านมา การใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเพียง 1.3% เท่านั้น (ข้อมูลจาก www.eppo.go.th)

รายงาน EHIA ฉบับนี้ได้พูดถึงต้นทุนภายนอก (External Cost-ในตารางขวามือสุดของรูปแรก-แต่เขียนหน่วยผิด) ซึ่งต้นทุนดังกล่าวสังคมต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่รายงานนี้ก็ไม่ได้มีการสรุปออกมาว่าทั้งหมดมีมูลค่าเท่าใดกันแน่

ตรงกันข้ามกับรายงานที่ IRENA และกระทรวงพลังงานของไทยได้ศึกษาแล้วสรุปว่า

“ถ้าประเทศไทยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนจาก 23% เป็น 37% จะมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าสิ่งแวดล้อม รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะลดลงประมาณ $8,000 ล้านต่อปี หรือ 2.7 แสนล้านบาทต่อปี”

นี่คือความแตกต่างระหว่างการศึกษาของ IRENA ซึ่งกระทรวงพลังงานของไทยร่วมศึกษาด้วยกับรายงานของ EHIA ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเร็วๆ นี้

ขอท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณว่า การศึกษาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ทำให้ชาติล่มสลายโดยไม่ต้องใช้อาวุธหรือไม่ แต่ผมเองเชื่อว่าใช่แน่นอนเพียงแต่ว่ามันจะค่อยเป็นค่อยไปนะครับ

โดย: คุณประสาท มีแต้ม

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี!!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b  
Line ID:@fxhanuman

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"