เรื่องที่ต้องระวัง การก่อหนี้กับวิกฤติเศรษฐกิจ

รายงานล่าสุดของสหประชาชาติ ชี้ว่า ประเทศกําลังพัฒนา 52 ประเทศทั่วโลกขณะนี้กําลังมีปัญหาหนี้รุนแรง คือประเทศมีหนี้สูงเกินความสามารถที่จะชําระคืน ทําให้เสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย เป็นอันตรายทั้งต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและอธิปไตยของประเทศ

สาเหตุสําคัญมาจากรัฐบาลที่กู้ยืมเงินมากเพื่อใช้จ่าย หรือออกนโยบายให้ภาคธุรกิจและประชาชนกู้เงินได้ง่าย ผลคือเศรษฐกิจเติบโตระยะสั้นแต่ประเทศมีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมา เพราะหนี้ของประเทศสูงขึ้นแต่ความสามารถในการหารายได้เท่าเดิมหรือแย่ลง
ประเทศจึงอ่อนไหวต่อการผิดนัดชำระหนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ทํานโยบายต้องตระหนัก ต้องเข้าใจพลวัตระหว่างหนี้กับวิกฤติเศรษฐกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ประเทศเกิดวิกฤติ นี่คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้
รายงานของกลุ่มกู้ภัยวิกฤติโลกสหประชาชาติ (UN Global Crisis Response Group) เรื่อง โลกของหนี้ (World of Debt) เผยแพร่เดือน ก.ค. ชี้ว่าประเทศกําลังพัฒนา 52 ประเทศ หรือร้อยละ 40 ของประเทศกําลังพัฒนาขณะนี้มีปัญหาหนี้รุนแรง
คือปริมาณหนี้ที่มีสูงเกินความสามารถที่จะชำระคืน กระทบความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศและสร้างความเสี่ยงต่ออธิปไตยของประเทศ
รายงานล่าสุดของสหประชาชาติ ชี้ว่า ประเทศกําลังพัฒนา 52 ประเทศทั่วโลกขณะนี้กําลังมีปัญหาหนี้รุนแรง คือประเทศมีหนี้สูงเกินความสามารถที่จะชําระคืน ทําให้เสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะล้มละลาย เป็นอันตรายทั้งต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและอธิปไตยของประเทศ
สาเหตุสําคัญมาจากรัฐบาลที่กู้ยืมเงินมากเพื่อใช้จ่าย หรือออกนโยบายให้ภาคธุรกิจและประชาชนกู้เงินได้ง่าย ผลคือเศรษฐกิจเติบโตระยะสั้นแต่ประเทศมีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมา เพราะหนี้ของประเทศสูงขึ้นแต่ความสามารถในการหารายได้เท่าเดิมหรือแย่ลง
ประเทศจึงอ่อนไหวต่อการผิดนัดชำระหนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ทํานโยบายต้องตระหนัก ต้องเข้าใจพลวัตระหว่างหนี้กับวิกฤติเศรษฐกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ประเทศเกิดวิกฤติ นี่คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้
รายงานของกลุ่มกู้ภัยวิกฤติโลกสหประชาชาติ (UN Global Crisis Response Group) เรื่อง โลกของหนี้ (World of Debt) เผยแพร่เดือน ก.ค. ชี้ว่าประเทศกําลังพัฒนา 52 ประเทศ หรือร้อยละ 40 ของประเทศกําลังพัฒนาขณะนี้มีปัญหาหนี้รุนแรง
คือปริมาณหนี้ที่มีสูงเกินความสามารถที่จะชำระคืน กระทบความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศและสร้างความเสี่ยงต่ออธิปไตยของประเทศ
การก่อหนี้และโอกาสที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก เพราะปริมาณหนี้ที่สูงเกินความสามารถที่ประเทศจะชำระคืนคือต้นเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจ มีตัวอย่างมากมายไม่ว่าจะกรณีที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้
เช่น อาร์เจนตินา (2018-2019) กรีซ (2009-2010) ที่เป็นหนี้ภาครัฐ หรือวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย (1997-1998) ที่เกิดปัญหาในไทย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ภาคธุรกิจ หรือที่กําลังเป็นปัญหาในปัจจุบัน เช่น เลบานอน เวเนซุเอลา และศรีลังกา
การศึกษาวิเคราะห์วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นให้ข้อสรุปว่า
1.วิกฤติเศรษฐกิจเกิดจากก่อหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ภาครัฐ หนี้ภาคธุรกิจ หนี้สถาบันการเงิน หรือหนี้ครัวเรือน ถ้าปริมาณหนี้ที่ประเทศมีสูงเกินความสามารถที่จะชำระคืน เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความสามารถของประเทศที่จะชําระหนี้ก็จะถูกกระทบ วิกฤติก็จะเกิด
2.วิกฤติเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่หรือประเทศเล็ก ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกําลังพัฒนา ประเทศที่มีระบบการเงินแบบทันสมัยรุดหน้าหรือมีระบบการเงินแบบพื้นๆ ถ้าความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเจ้าหนี้เกี่ยวกับความสามารถของประเทศในการชำระหนี้มีปัญหา วิกฤติก็จะเกิด
3.ความเป็นหนี้ของคนในประเทศไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน จะเป็นผลจากนโยบายรัฐที่ให้รัฐบาลกู้เงินมากเกินหรือสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนกู้เงิน และสถาบันการเงินปล่อยกู้โดยไม่ระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง นำไปสู่การก่อหนี้ที่สูงเกินความสามารถที่จะชำระคืน และวิกฤติจะเกิดขึ้นเมื่อภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจเปลี่ยน
ในแง่พลวัตระหว่างการก่อหนี้กับวิกฤติเศรษฐกิจ พัฒนาการของปัญหาจะคล้ายกัน เริ่มต้นด้วยปริมาณหนี้ที่สูงที่กู้โดยภาครัฐหรือเอกชน การก่อหนี้ทําให้เศรษฐกิจเติบโต แต่ก็สร้างแรงกดดันต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งการขาดดุลการคลัง การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเงินเฟ้อที่สูง และค่าเงินที่อ่อนลง
ทั้งหมดสะท้อนความไม่สมดุลที่มีในระบบเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายที่มากเกินหรือเกินตัว เป็นสัญญาณความเปราะบางที่ต้องแก้ไข
ถ้าไม่แก้ไข เศรษฐกิจก็ยิ่งเปราะบาง ไม่เข้มแข็งพอที่จะทัดทานแรงกระทบหรือช็อกจากภายนอก กระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจ เกิดการผิดนัดชำระหนี้ในภาคธุรกิจ หนี้เสียเพิ่มมากขึ้นกระทบเสถียรภาพของระบบธนาคาร
นักลงทุนเริ่มวิตกกับความสามารถของประเทศที่จะชำระหนี้ เครดิตประเทศถูกปรับลด นักลงทุนและเจ้าหนี้ขาดความเชื่อมั่น เกิดเงินทุนไหลออกต่อเนื่องรุนแรง ค่าเงินอ่อนจนไร้เสถียรภาพ นำไปสู่การเกิดขึ้นของวิกฤติเศรษฐกิจในที่สุด
นี่คือพลวัตที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นชัดเจนถึงสิ่งที่ต้องระวังในการใช้หนี้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และความสำคัญที่ประเทศต้องมีความสามารถในการหารายได้ที่สูงขึ้นถ้าจะก่อหนี้มากขึ้น
ที่สำคัญสุดเมื่อหนี้ของประเทศเพิ่มขึ้นในระดับที่สูงและอันตราย การแก้ปัญหาจะไม่ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นจะดีที่สุดโดยระมัดระวังเรื่องการก่อหนี้
ประเทศไทยปัจจุบัน ระดับหนี้ได้เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งทั้งในภาครัฐ ที่ร้อยละ 61 ของจีดีพี หนี้ภาคธุรกิจที่ร้อยละ 171 ของจีดีพี และหนี้ครัวเรือนที่ร้อยละ 90 ของจีดีพี ทำให้การใช้หนี้เป็นตัวกระตุ้นหรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากนี้ไปเป็นเรื่องที่ต้องระวังมาก
โอกาสที่ประเทศจะเกิดวิกฤติจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและการตัดสินใจของคนสามกลุ่ม 1.รัฐบาลที่กําหนดนโยบายและเป็นผู้กู้ในส่วนของหนี้ภาครัฐ 2.บริษัทธุรกิจผู้เป็นผู้กู้ในภาคเอกชน และ 3.สถาบันการเงินที่ปล่อยเงินกู้ให้กับทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และครัวเรือน
ความมีวินัยและความระมัดระวังของคนสามกลุ่มนี้ในการก่อหนี้ จึงสําคัญต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดวิกฤติ และการรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
คอลัมน์เศรษฐศาสตร์บัณฑิต
ดร.บัณฑิต นิจถาวร
ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"