เกิดอะไรขึ้นกับเยอรมัน จากประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแรงที่สุดในยุโรปสู่ประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแอภายในเวลาแค่ปีเดียว

เยอรมนีเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก โดยในปี 2023 เยอรมนีมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น) และเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป

รวมถึงยังเป็นประเทศผู้ส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก (รองจากจีนและสหรัฐอเมริกา)
แต่จากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ระบุว่าในปี 2023 เยอรมนีจะเป็นประเทศเดียวในกลุ่มเศรษฐกิจ G7 ที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มจะหดตัวมากกว่าขยายตัว โดยเยอรมนีต้องเผชิญกับความยากลำบากในมิติของเศรษฐกิจ 3 ปัญหาหลัก ได้แก่
ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ดีดตัวสูงขึ้นมา ส่งต่อผลกระทบมาจากความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ผ่านสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบในแง่ของตัวเลขเงินเฟ้อและต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้นมาทำให้สุขภาพเศรษฐกิจให้เยอรมันทรุดลงอย่างมาก
อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีวิศวกรรมโดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ที่เคยแข็งแกร่ง เริ่มอ่อนแอและยากที่จะต่อกรกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะผู้เล่นในแวดวงยานยนต์หน้าใหม่อย่างจีน
ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากประชากรวัยทำงานที่เริ่มมีอายุมากขึ้นทำให้ประเทศขาดแรงงานที่จะมานำพาให้เศรษฐกิจกลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้ง และที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นรัฐบาลเยอรมันดูเหมือนจะไม่ยังไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านี้เลย เรื่องราวเชิงลึกจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากบทความนี้
โครงสร้างเศรษฐกิจเยอรมัน
ระบบเศรษฐกิจของเยอรมนีเป็นแบบเศรษฐกิจผสม โดยมีทั้งส่วนของทุนนิยมและสังคมนิยมผสมผสานเข้าด้วยกัน และรัฐบาลก็ค่อนข้างมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนก็มีเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจอยู่ไม่น้อย
ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจของเยอรมัน ยกตัวอย่างเช่น
การมุ่งเน้นไปที่การส่งออก โดยเยอรมนีเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเบอร์ต้นๆของโลก และการส่งออกก็เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ GDP เติบโต
แรงงานที่มีทักษะสูง เยอรมนีมีแรงงานที่มีการศึกษาดีและมีทักษะสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จทางเศรษฐกิจ
ความปลอดภัยทางสังคมสูง รัฐบาลเยอรมันจัดให้มีเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่ครอบคลุม ซึ่งพลเมืองทุกคนสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็น เช่น การดูแลสุขภาพและการศึกษาได้เป็นเรื่องพื้นฐาน
เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดเป้าหมายที่แน่วแน่ที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2030
นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งเครื่องจักรสำคัญทางเศรษฐกิจของเยอรมนีออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็น 29.1% ของจีดีพี เป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเยอรมนี อุตสาหกรรมหลักของเยอรมนี ได้แก่ เครื่องจักรกล ยานยนต์ เคมี ยา ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
ภาคการบริการ คิดเป็น 70% ของจีดีพี เป็นภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี ภาคการบริการของเยอรมนีครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ การค้าปลีก การท่องเที่ยว การเงิน ประกันภัย การศึกษา และสุขภาพ
ภาคเกษตรกรรม คิดเป็น 0.9% ของจีดีพี ถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่เล็กที่สุดของเยอรมนี โดยเยอรมนีมีการผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด น้ำตาล และผัก
เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง ดังนั้นเราจึงเห็นภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆมาช่วยยกระดับขีดความสามารถในการผลิต นอกจากนี้เยอรมันยังมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงซึ่งส่งผลให้เยอรมันสามารถผลิตแรงงานที่มีทักษะและความรู้ความสามารถสูงเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากนี้ เยอรมันยังมีนโยบายเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการค้าเสรีและการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้เยอรมนีเป็นประเทศที่มีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสูง ด้วยความเป็นสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป (EU) และองค์การการค้าโลก (WTO) ช่วยให้เยอรมนีสามารถเข้าถึงตลาดการค้าและการลงทุนในระดับโลกได้
อะไรทำให้เศรษฐกิจเยอรมันอ่อนแอ
ปี 2023 เป็นปีที่เศรษฐกิจของประเทศเยอรมนีต้องเผชิญกับความท้าทายและปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเงินเฟ้อสูงที่มาจากราคาพลังงาน เรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตและเครื่องจักรหนักที่เคยเป็นตัวชูโรงของประเทศก็เริ่มถูกประเทศจีนเร่งเครื่องแซง และอย่างสุดท้ายคือปัญหาด้านแรงงาน เราจะพาคุณผู้อ่านไปเจาะรายละเอียดแต่ละประเด็นที่กำลังทำให้สุขภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ได้ชื่อว่าเคยมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในยุโรป ต้องกลายเป็นเหมือนชายที่กำลังป่วย อยู่ในขณะนี้
ปัญหาด้านพลังงาน
ต้องท้าวความว่า พลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศเยอรมันล้วนนำเข้ามาจากรัสเซีย โดยในช่วงก่อนเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน(ปี 2022) เยอรมนีนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วน 35% ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันทั้งหมด ถ่านหินจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วน 45% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด และนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียคิดเป็นสัดส่วน 55% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน เยอรมนีในฐานะสมาชิก NATO จึงถูกบังคับทางอ้อมให้ลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียลง เยอรมนีได้ดำเนินมาตรการลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย โดยในเดือนมีนาคม 2022 เยอรมนีประกาศว่าจะลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียลงครึ่งหนึ่งภายในเดือนมิถุนายน 2022 และยุติการนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียทั้งหมดภายในฤดูใบไม้ร่วง(กันยา-ตุลา) ปี 2023 นี้ นอกจากนี้ยังมีแผนจะลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียให้ได้เกือบหมดภายในช่วงกลางปี 2024
ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่ราคาพลังงานในเยอรมนีเพิ่มขึ้นอย่างมากนับจากช่วงก่อนเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% และราคาไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 30%
อย่างราคาน้ำมันเบนซินในเยอรมนีอยู่ที่ประมาณ 1.70 ยูโรต่อลิตรในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2.30 ยูโรต่อลิตรในเดือนกรกฎาคม 2023 ราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 8 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 25 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงในเดือนกรกฎาคม 2023 และค่าไฟฟ้าในภาคครัวเรือนจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 30 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 40 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงในเดือนกรกฎาคม 2023
การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเยอรมนีอย่างมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
ปัญหาอัตราเงินเฟ้อ
เมื่อการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ข้าวของในเยอรมันแพงขึ้น นั่นก็ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 40 ปี โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีอยู่ที่ 7.6% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางเยอรมนีที่ตั้งไว้ที่ 2%
ปัญหาด้านพลังงานและอัตราเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเยอรมนีในหลายด้าน เช่นทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ภาคธุรกิจประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เมื่อต้นทุนปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ผลิตไปแล้วไม่คุ้มก็ทำให้การลงทุนภาคเอกชนลดลง
ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์
ด้วยความที่เยอรมนีตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปยุโรป และมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศ ทำให้เยอรมนีมีบทบาทสำคัญในภาคพื้นทวีปยุโรปมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเยอรมนีก็ทำให้เยอรมันเผชิญกับปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์หลายประการ อย่างเช่น
การพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย เยอรมนีนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในสัดส่วนที่สูงมากอย่างที่ได้อธิบายไปในหัวข้อที่แล้ว การพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียทำให้เยอรมนีตกอยู่ในสภาวะเปราะบาง เพราะจากรัสเซียสามารถใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือในการกดดันเยอรมนีทางการเมืองได้ ตัวอย่างเช่น รัสเซียได้ระงับการส่งก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรปเป็นระยะเวลาหนึ่งในช่วงต้นของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเยอรมนีและยุโรปโดยรวม
ความขัดแย้งกับรัสเซีย เยอรมนีและรัสเซียมีความขัดแย้งกันมานานหลายปี โดยความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดจากความกังวลของเยอรมนีเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศของรัสเซีย ตัวอย่างเช่น เยอรมนีไม่เห็นด้วยกับการผนวกไครเมียของรัสเซียในปี 2014 และไม่เห็นด้วยกับการรุกรานยูเครนของรัสเซียในปี 2022
ความขัดแย้งกับรัสเซียเป็นปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญสำหรับเยอรมนี เนื่องจากรัสเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญของเยอรมนี และเยอรมนีเองมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่ทับซ้อนกับรัสเซียเสียด้วย
การแข่งขันกับจีน เยอรมนีและจีนเป็นสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ทั้งสองประเทศมีการแข่งขันกันในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ การค้าการส่งออก การลงทุน และเทคโนโลยี
การแข่งขันกับจีนเป็นปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญสำหรับเยอรมนี เนื่องจากอำนาจด้านการค้าการลงทุนของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เยอรมนีต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านการค้าและการลงทุนจากที่มาจากจีน โดยเฉพาะในอตุสาหกรรมยานยนต์ที่เยอรมันได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่มีคุณภาพอันดับ 1 ของโลก
แต่คู่แข่งหน้าใหม่ไฟแรงอย่าง จีน ยังนับเป็นภัยคุกคามต่อผู้ผลิตรถยนต์เยอรมันไม่น้อย แบรนด์เก่าแก่และมีชื่อเสียงของเยอรมนี อย่าง BMW, Mercedes, Porsche และ Volkswagen ต่างมีความเสี่ยงที่จะถูกจดจำในฐานะ “อดีต” เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเพราะราคาถูกกว่าแบรนด์เยอรมัน เนื่องจากจีนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ทั้งยังมีคุณภาพรวมถึงดีไซน์ที่ทันสมัยทำให้จีนเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมาก
ถ้านับแค่ปี 2022 จีนส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศได้ถึง 2.7 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2015 ที่อยู่ที่เพียง 4 แสนคันเท่านั้น ซึ่ง 2 ใน 5 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าหรือไฮบริด และจากจำนวนสองล้านกว่าคันนี้ส่วนหนึ่งจีนรับเป็นผู้ผลิตให้แบรนด์รถยนต์ชื่อดังด้วย
ไม่เพียงแต่จีนเท่านั้น แต่แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าของอเมริกาอย่าง Tesla ก็ได้มีแผนการที่จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ของตนเองใกล้กับกรุงเบอร์ลิน และวางแผนที่จะขยายเพื่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีอีกด้วย
ปัญหาด้านแรงงาน
เยอรมนีกำลังเผชิญกับปัญหาด้านแรงงานหลายด้านด้วยกัน อย่างเช่น
การขาดแคลนแรงงาน เยอรมนีกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากมีจำนวนประชากรวัยทำงานที่เคยเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศเริ่มสูงวัยและเกษียณตัวเองออกไป ในขณะที่จำนวนประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าและไม่ทันต่อความต้องการการขาดแคลนแรงงานส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และอาจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ แรงงานที่มีทักษะถือเป็นจุดเด่นของแรงงานในประเทศเยอรมันและมีส่วนอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศผ่านภาคการผลิตและเทคโนโลยี เยอรมันต้องการแรงงานที่มีทักษะสูงเพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนแรงงานที่มีทักษะสูงไม่เพียงพอ การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคบริการของเยอรมนี โดยอาจทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง และอาจทำให้คุณภาพสินค้าและบริการลดลงได้
การขาดแคลนแรงงานข้ามชาติ เยอรมนีเคยใช้วิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานผ่านการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป แต่จากการที่ที่สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป ทำให้เยอรมนีสูญเสียแหล่งแรงงานข้ามชาติที่สำคัญไป
ด้านพลังงาน
เหตุอาจจะใช่ แต่ผลก็นับว่ายังไม่เข้าที เมื่อเยอรมันเล่นไม่เอารัสเซียชนิดสุดลิ่มแบบนี้ คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเยอรมันจะสั่งน้ำมันดิบจากไหน? แล้วปัจจัยที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าอย่าง ถ่านหิน และ ก๊าซธรรมชาติจะเอาจากที่ไหนอย่างไร?
คำตอบบางส่วนอยู่ตรงนี้!
นับจนถึงปัจจุบัน เยอรมนีสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียลงได้แล้วในระดับหนึ่ง โดยปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียลดลงมาอยู่ที่ระดับ 12% จากระดับ 35% ก่อนหน้านี้ ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าถ่านหินจากรัสเซียลดลงจาก 45% เหลือ 8% อย่างไรก็ตาม เยอรมนียังคงพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในระดับสูงถึง 35% ซึ่งลดลงจากระดับ 55% ในช่วงก่อนที่จะเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน
แล้วถ้าเยอรมนีเลิกนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย เยอรมันจะนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศอื่น ๆ มากขึ้น โดยประเทศที่มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญสำหรับเยอรมนี ได้แก่
สหรัฐอเมริกา
แคนาดา
ซาอุดีอาระเบีย
กาตาร์
อิรัก
คูเวต
บาห์เรน
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เวเนซุเอลา
โดยเยอรมนีได้เริ่มเข้าเจรจากับประเทศเหล่านี้เพื่อเพิ่มการนำเข้าน้ำมันดิบแล้ว โดยในปี 2022 เยอรมนีนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเป็น 27% จากระดับ 14% ก่อนหน้านี้ และนำเข้าน้ำมันดิบจากแคนาดาเพิ่มขึ้นเป็น 15% จากระดับ 6% ก่อนหน้านี้
นอกจากการนำเข้าน้ำมันดิบจากแหล่งอื่น ๆ แล้ว เยอรมนียังพยายามจะเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศอีกด้วย โดยรัฐบาลเยอรมนีได้อนุมัติแผนเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบในประเทศเป็นสองเท่าภายในปี 2030
การเลิกนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียของเยอรมนีจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของเยอรมนีและยุโรปโดยรวม โดยอาจทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบางประเภท อย่างไรก็ตาม เยอรมนีเชื่อว่าการลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในอนาคต
การลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียของเยอรมนีถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ เนื่องจากรัสเซียเป็นคู่ค้าพลังงานรายใหญ่ที่สุดของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเยอรมนีได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่น การเพิ่มการนำเข้าพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และตะวันออกกลาง การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ส่วนในระยะสั้นสิ่งที่รัฐบาลเยอรมันทำก็คือ การยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือภาคเอกชนเพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนและทำให้ราคาสินค้าลดลงทางอ้อม โดยที่รัฐอัดฉีดเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนกว่า 30,000 ล้านยูโร (33 พันล้านดอลลาร์คิดเป็น 0.7% ของ GDP) เพื่ออุดหนุนค่าไฟสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
ด้านการค้าการลงทุน
ตอนนี้ปัญหาเรื่องที่จีนกำลังพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขึ้นมาทัดเทียมกับเยอรมันและประเทศที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กำลังเป็นประเด็นที่ผู้นำหลายประเทศแสดงความกังวลกับการขึ้นมาอย่างรวดเร็วของจีน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นทางเยอรมันจึงมีแผนที่จะรับมือกับปัยหาด้านการค้าได้แก้
ส่งเสริมเขตพื้นที่การค้าเสรี เยอรมนีเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีใน 27 ประเทศ เยอรมนียังมีส่วนร่วมในข้อตกลงการค้าเสรีอื่นๆ อีกหลายฉบับ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และความร่วมมือภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ทำให้เยอรมันเข้าถึงการค้ากับภูมิภาคอื่นๆของโลก
ปกป้องผลประโยชน์ เยอรมนีประสบความสำเร็จในการปกป้องผลประโยชน์ในการเจรจาการค้า โดยเยอรมันได้รับการยกเว้นภาษีบางรายการในข้อตกลง TPP นอกจากนี้ยังได้รับสัมปทานอื่นๆ ในการเจรจาการค้า เช่น การปรับปรุงการเข้าถึงตลาดสำหรับการส่งออก
การบังคับใช้กฎการค้า เยอรมนีเป็นผู้สนับสนุนหลักขององค์การการค้าโลก (WTO) และทำงานร่วมกับประเทศอื่นที่อยู่ใน WTO เพื่อบังคับใช้กฎบางอย่าง เช่น การห้ามการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เพื่อป้องกันปัญหาอย่างการการทุ่มตลาด
เพิ่มการลงทุนในประเทศ เยอรมนีลงทุนอย่างมากในระบบเศรษฐกิจของตัวเอง โดยเฉพาะการใช้เงินจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้เยอรมันยังมีโครงการมากมายที่จะช่วยให้ธุรกิจเริ่มต้นและเติบโตทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
ด้านเทคโนโลยี(โดยเฉพาะยานยนต์)
การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา(R&D) เยอรมนีมีการทุ่มงบลงทุนเป็นจำนวนมากในด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคยานยนต์ โดยในปี 2021 เยอรมนีใช้เงิน 10,500 ล้านยูโรในการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นๆทั้งหมด ในยุโรป การลงทุนของเยอรมนีในด้านการวิจัยและพัฒนากำลังช่วยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง รถยนต์ไร้คนขับและยานพาหนะไฟฟ้า
ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ เยอรมนีกำลังทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆ เพื่อแบ่งปันเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในภาคยานยนต์ ซึ่งรวมถึงความร่วมมือกับจีนด้วย ตัวอย่างเช่น เยอรมนีและจีนตกลงที่จะร่วมมือในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าร่วมกัน
การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เยอรมนีกำลังดำเนินการทางกฎหมายเพื่อปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในภาคยานยนต์ อย่างการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการปลอมแปลงและการละเมิดสิทธิบัตร เยอรมนีเป็นประเทศที่เอาจริงเอาจังกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
การส่งเสริมนวัตกรรม เยอรมนีสนับสนุนนวัตกรรมในภาคยานยนต์โดยการลดหย่อนภาษีและสิ่งจูงใจอื่นๆ ให้กับธุรกิจที่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆ นำเงินมาลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆมากขึ้น
เยอรมันมั่นใจว่าจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยียานยนต์ได้ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายจากจีนก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีมีนวัตกรรมชั้นสูงและมีประวัติความสำเร็จที่มาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ เยอรมนียังลงทุนมหาศาลในด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้เยอรมนีนำหน้าประเทศอื่นในด้านเทคโนโลยียานยนต์อยู่เสมอ
ด้านแรงงาน
รัฐบาลเยอรมนีได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน อาทิเช่น
การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ในเดือนตุลาคม 2022 รัฐบาลเยอรมันมีมาตรการในการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจาก 9.60 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 12 ยูโรต่อชั่วโมง เพื่อดึงดูดแรงงานที่มีทักษะและแรงงานข้ามชาติให้มาทำงานในเยอรมัน
การปรับปรุงระบบการศึกษาและการฝึกอบรม รัฐบาลเยอรมัน ได้ลงทุนในระบบการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้รัฐบาลได้ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม
การออกมาตรการดึงดูดแรงงานข้ามชาติ รัฐบาลเยอรมนีได้ออกมาตรการดึงดูดแรงงานข้ามชาติ โดยการให้วีซ่าทำงานระยะยาวแก่แรงงานที่มีทักษะ และการให้สิทธิประโยชน์แก่แรงงานข้ามชาติ เช่น สิทธิ์ในการเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐและสิทธิ์ในการเข้าร่วมกองทุนบำเหน็จบำนาญของเยอรมัน
มาตรการเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงานของเยอรมนีได้ในระยะยาว แต่ในระยะสั้น เยอรมนีอาจยังคงเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอยู่บ้าง
นอกจากนี้ Hubertus Heil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของเยอรมนีเดินทางไปบราซิลเพื่อเชิญชวนให้บุคลากรทางการแพทย์เดินทางเข้ามาทำงานในเยอรมันมากขึ้น กฎหมายด้านแรงงานที่มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2020 เปิดกว้างต้อนรับคนงานจากนอกสหภาพยุโรปจำนวนมากขึ้น และอาจจะต้องได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมในปีนี้เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าประเทศหลังจากที่ไม่สามารถดึงดูดคนงานได้เพียงพอ
กล่าวโดยสรุปก็คือว่าปัญหาของเยอรมันไม่ได้อยู่ที่เรื่องมีหรือไม่มีเงิน แต่เป็นเรื่องของความสามารถของฝ่ายบริหารของเยอรมันเอง Olaf Scholz นายกรัฐมนตรีของเยอรมัน ดูจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องของการปฏิรูปการทำงานของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และดูเหมือนให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ทางด้านการเงินของประเทศมากกว่าการนำพาประเทศไปออกจากวังวนของปัญหาและนำสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
Source: marketeeronline

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"