ดอกเบี้ยแพง ดันแนวโน้ม บริษัทผีดิบ (Zombie firms) หนี้ท่วมหัว ในไทยพุ่ง! คาด 16% มีความเสี่ยง

“อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ของไทย ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ มาเป็นเวลานานหลายปี ก่อนถูกกระชาก ขึ้นสู่ระดับ 2.25% ต่อปี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจาก ที่ประชุม กนง. (คณะกรรมการนโยบายการเงิน) ครั้งล่าสุด (2 ส.ค. 2566) มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศปรับขึ้น ดอกเบี้ยไทย อีก 0.25% จาก 2% ต่อปี

อย่างที่ #ThairathMoney เคยนำเสนอไปว่า แม้ ดอกเบี้ยสูง 2.25% ในปัจจุบัน เมื่อไปเทียบกับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ไทยปีนี้ ที่คงขยายตัวได้อย่างต่ำ 3-3.5% สะท้อน ดอกเบี้ย ยังไม่ได้สูงเกินรายได้ และมีความจำเป็น เพื่อป้องกันความเสี่ยง ภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจดีดกลับมาในอนาคต
ดอกเบี้ยสูง กัดกินความสามารถจ่ายหนี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ นับเป็นข่าวร้าย ทั้งแง่ ต้นทุน-การระดมทุน และการชำระหนี้ ของลูกหนี้ ในระดับครัวเรือน และ ภาคธุรกิจ เพราะปัญหาของบ้านเรา ในขณะนี้ คือ ภาคครัวเรือน มีหนี้พอกพูนมาก่อนแล้ว พออยู่ในช่วง "ดอกเบี้ยขาขึ้น" ภาระหนี้ก็สูงขึ้นตามไปด้วย
ภายใต้คาดการณ์กันว่า แบงก์พาณิชย์ไทย จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ ตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างแน่นอน นั่นคงจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนสูงขึ้นไปอีก
เจาะในยามที่ดอกเบี้ยแพงเช่นนี้ ในฝั่งกิจการ บริษัท ห้างร้าน คงเผชิญกับ ต้นทุนในการประกอบกิจการที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทียบให้เห็นภาพเบื้องต้น กับ สถานการณ์ในอังกฤษ ที่ดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอย่างหฤโหด
“บริษัทผีดิบ” หรือ Zombie firm เกิดขึ้นทั่วโลก
มีรายงานว่า ปรากฏการณ์ “บริษัทผีดิบ” หรือ zombie firm ซึ่งมีความหมายครอบคลุม ถึง บริษัทที่ไม่มีความสามารถในการทำกำไรในปัจจุบัน และมีรายได้เพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ได้ในอนาคต หรือ พูดเป็นภาษาชาวบ้าน ก็คือ เป็นบริษัทที่มี “หนี้สินล้นพ้นตัว” ในอังกฤษ เพิ่มอัตราขึ้นอย่างน่ากังวล
อย่างที่ #ThairathMoney เคยนำเสนอไปว่า แม้ ดอกเบี้ยสูง 2.25% ในปัจจุบัน เมื่อไปเทียบกับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ไทยปีนี้ ที่คงขยายตัวได้อย่างต่ำ 3-3.5% สะท้อน ดอกเบี้ย ยังไม่ได้สูงเกินรายได้ และมีความจำเป็น เพื่อป้องกันความเสี่ยง ภาวะเงินเฟ้อ ที่อาจดีดกลับมาในอนาคต
ดอกเบี้ยสูง กัดกินความสามารถจ่ายหนี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ นับเป็นข่าวร้าย ทั้งแง่ ต้นทุน-การระดมทุน และการชำระหนี้ ของลูกหนี้ ในระดับครัวเรือน และ ภาคธุรกิจ เพราะปัญหาของบ้านเรา ในขณะนี้ คือ ภาคครัวเรือน มีหนี้พอกพูนมาก่อนแล้ว พออยู่ในช่วง "ดอกเบี้ยขาขึ้น" ภาระหนี้ก็สูงขึ้นตามไปด้วย
ภายใต้คาดการณ์กันว่า แบงก์พาณิชย์ไทย จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ ตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างแน่นอน นั่นคงจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือนสูงขึ้นไปอีก
เจาะในยามที่ดอกเบี้ยแพงเช่นนี้ ในฝั่งกิจการ บริษัท ห้างร้าน คงเผชิญกับ ต้นทุนในการประกอบกิจการที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทียบให้เห็นภาพเบื้องต้น กับ สถานการณ์ในอังกฤษ ที่ดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอย่างหฤโหด
“บริษัทผีดิบ” หรือ Zombie firm เกิดขึ้นทั่วโลก
มีรายงานว่า ปรากฏการณ์ “บริษัทผีดิบ” หรือ zombie firm ซึ่งมีความหมายครอบคลุม ถึง บริษัทที่ไม่มีความสามารถในการทำกำไรในปัจจุบัน และมีรายได้เพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ได้ในอนาคต หรือ พูดเป็นภาษาชาวบ้าน ก็คือ เป็นบริษัทที่มี “หนี้สินล้นพ้นตัว” ในอังกฤษ เพิ่มอัตราขึ้นอย่างน่ากังวล
ทั้งบริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลาง เรื่อยไปขนาดใหญ่บางแห่ง โดยบริษัทในอังกฤษ กำลังนับถอยหลัง กับความเสี่ยง ที่อาจเผชิญกับภาวะล้มละลาย เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ ประสบปัญหาในหลายด้าน จากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนั่นเอง
ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย “Zombie firms” ในไทย น่าเป็นห่วงมากน้อยแค่ไหน?
ล่าสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า นอกจาก ภาวะดอกเบี้ยไทยที่สูงขึ้น ทำให้ ลูกหนี้จำนวนมาก ยังต้องไล่ขอกู้เงินเพิ่มเติม เพื่อนำเงินก้อนใหม่ ไปชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของหนี้ก้อนเดิมแล้ว
ในฝั่งของผู้ประกอบการ SCB EIC คาดว่าสัดส่วนบริษัทผีดิบ หรือ บริษัทที่มีอายุมากกว่า 10 ปี แต่ขาดความสามารถในการชำระหนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีติดต่อกันจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากถึง 16.8% ของบริษัททั้งหมดในปี 2566 เทียบกับ 5.6% ในช่วงก่อนวิกฤติโควิด
โดยเฉพาะในกลุ่ม SME เพราะไม่สามารถแบกภาระดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นได้ ท่ามกลางทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นและมาตรฐานการให้สินเชื่อธุรกิจของสถาบันการเงินที่มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นด้วย
บริษัทผีดิบ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร
ในประเด็นเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยอธิบายถึง ความหมาย ที่มา และ ผลกระทบของ กลุ่มบริษัทผีดิบ ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ ไว้อย่างน่าสนใจว่า...
ตามกลไกตลาด บริษัทที่ดี คือบริษัทที่สามารถใช้และบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หรือ มีผลิตภาพ (productivity) อยู่ในระดับสูง และมักนำมาซึ่งความสามารถในการทำกำไรที่สูง
ในทางตรงกันข้าม บริษัทที่มีผลิตภาพต่ำและนำมาซึ่งความสามารถในการทำกำไรที่ต่ำ หรือ ประสบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ย่อมเป็นบริษัทที่ต้องปิดตัวลงและออกไปจากการแข่งขันในที่สุด
อย่างไรก็ตาม มีบริษัทผลิตภาพต่ำและไม่มีความสามารถในการทำกำไรเหล่านี้ที่ส่วนหนึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ได้จากสภาพคล่องที่ได้รับเพื่อหล่อเลี้ยงต่อชีวิตบริษัท ไม่ว่าจะจากการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือได้รับความช่วยเหลือจากรัฐแบบเหวี่ยงแห บริษัทเหล่านี้ก็คือ “บริษัทผีดิบ” นั่นเอง
ส่วนผลกระทบที่ตามมาของบริษัทเหล่านี้ ต่อ ระบบเศรษฐกิจ ก็คือ เมื่อเศรษฐกิจใด เศรษฐกิจหนึ่ง มีบริษัทผีดิบมากๆ ธปท.ชี้ว่า การที่รัฐ เข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทที่ควรล้มหายตายจากไปแล้วให้ยังมีชีวิตอยู่ได้นี้
นอกจากจะทำให้บริษัทเองขาดแรงจูงใจในการปรับตัวและพัฒนาผลิตภาพของตนแล้ว กลไกการแข่งขันทั้งระบบยังถูกบิดเบือนด้วย เพราะบริษัทผีดิบจะทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินยังคงอยู่ อาจคอยตัดราคา ทำให้ธุรกิจอื่นๆ ที่มีความสามารถในการปรับตัวเองได้และมีผลิตภาพสูง กลับอยู่รอดยากและเข้ามาแข่งขันไม่ได้
ไม่ต่างอะไรกับผีดิบซอมบี้ในภาพยนตร์ที่คอยวิ่งไล่กัดกินเนื้อคนอื่นและล้มตายไปด้วย และลามไปในระดับประเทศ เพราะส่งผลให้การจัดสรรทรัพยากรในระบบขาดประสิทธิภาพ ผลิตภาพโดยรวมและความสามารถในการแข่งขันของประเทศถดถอยลงตามมา
ทั้งนี้ สัดส่วนบริษัทผีดิบของไทยยังอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ แต่แนวโน้มจะมีบริษัทขนาดใหญ่เป็นบริษัทผีดิบเพิ่มขึ้น ส่งผลทางลบต่อโอกาสที่บริษัทใหม่จะเข้าสู่ตลาดและต่อการเติบโตของบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
กองบรรณาธิการ
Source: ไทยรัฐออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students

-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"