แนวโน้มหนี้เสียพุ่ง ธปท.สั่งแบงก์ประกบรายตัว

แบงก์ชาติห่วงกลุ่มรายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่ จากเศรษฐกิจฟื้นตัวกระจุก หลังสัญญาณเอ็นพีแอลเดือนต่อเดือนปรับเพิ่ม เร่งประสานแบงก์เจ้าหนี้ เดินหน้าปรับโครงสร้างหนี้ประคองกลุ่มเปราะบาง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือ สภาพัฒน์

สร้างเซอร์ไพร์ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน เมื่อประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ( จีดีพี )ไทยปี 2565 เติบโตแค่ 2.6% ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 3.2%และต่ำกว่าทุกสำนักวิจัย โดยเฉพาะไตรมาส4 ขยายตัวเพียง 1.4%ลดลงจากที่ขยายตัว 4.5%ในไตรมาสก่อนหน้า ปัจจัยหลักมาจากภาคส่งออกไทยที่หดตัวสูงถึง 10%
ขณะที่ตัวเลขการบริโภครายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่รายงานออกมาไม่ค่อยดี สะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยยังมีประเด็นเรื่องการกระจายตัวและการลงทุนของภาคเอกชนที่ยังไม่แข็งแกร่ง ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ประชาชนและภาระหนี้ที่ยังทรงตัวในระดับสูง
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) หรือ Stage3 ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบจากช่วงโควิด-19 เห็นได้จากลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือปรับลดลดต่อเนื่องจากจุดสูงสุดเดือนกรกฎาคม 2563
ทั้งจากการปรับโครงสร้างหนี้และการขายหนี้ออกไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยเฉพาะกิจการร่วมทุนบริษัทบริหารสินทรัพย์(JV AMC)ที่รับโอนหนี้กว่าแสนล้านบาทจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เอ็นพีแอลมีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นได้ จากการปล่อยสินเชื่อใหม่ แต่จะไม่เกิดปัญหาผิดนัดชำระจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งธปท.กังวลกลุ่มที่รายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่จากภาคส่งออกที่ชะลอตัวและค่าครองชีพกับดอกเบี้ยที่ทยอยปรับขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อภาคครัวเรือนที่ยังเปราะบางได้
"ธปท.จึงขอความร่วมมือกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้พยายามปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับปัญหาและกระแสเงินสดของลูกหนี้ ซึ่งมาตรการแก้หนี้ที่มีอยู่น่าจะเพียงพอรองรับสถานการณ์ลูกหนี้ที่ยังเปราะบางได้"นางสาวสุวรรณีกล่าว
ทั้งนี้ล่าสุดเดือนธันวาคม 2565 เอ็นพีแอล(Stage3)ปรับลดลงจาก 2.77% ของสินเชื่อรวมเป็น 2.73% ส่วนใหญ่เป็นการปรับลดจากสินเชื่อธุรกิจจาก 2.83%เป็น 2.37%และรายย่อยยังทรงตัวเท่าเดิมที่ 2.62%
เมื่อพิจารณาจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคพบว่า สินเชื่อบ้านเอ็นพีแอลลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 3.25% เป็น 3.01% ส่วนสินเชื่ออื่นๆยังเพิ่มเล็กน้อยเช่น สินเชื่อรถยนต์จาก1.50% เป็น 1.66% สินเชื่อบัตรเครดิตจาก 2.46% เป็น 3.12% และสินเชื่อส่วนบุคคลจาก 2.22% เป็น 2.40%
ขณะที่ยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 3.38 ล้านล้านบาท โดยมีผู้ได้รับความช่วยเหลือ 5.22 ล้านบัญชี ทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์และสถาบันการเงินของรัฐ (แบงก์รัฐ) หากเทียบปีต่อปีเอ็นพีแอลทยอยปรับลด แต่หากเทียบเดือนต่อเดือนพบว่า ลูกหนี้ภายใต้ความช่วยเหลือยังเพิ่มขึ้น ซึ่งหลักๆ มาจากลูกหนี้ของแบงก์รัฐ โดยเฉพาะไตรมาส 4 ที่ผ่านมา
หากพิจารณาความสามารถในการทำกำไร(OPM)แยกตามประแภทธุรกิจแบ่งเป็น 4 เซ็กเตอร์สำคัญพบว่า ธุรกิจที่มีการฟื้นตัวที่ดีคือ ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจการค้า
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าวว่า ภาพรวมเอ็นพีแอลปี 2566 ยังน่าเป็นห่วงจากสัญญาณความเปราะบางของลูกหนี้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน แม้คาดหวังว่า เศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัว
โดยธนาคารยังต้องดูแลใกล้ชิดเรื่องคุณภาพหนี้ ขณะที่สัญญาณลูกหนี้กลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (Stage2 หรือ SM) ยังสะท้อนความเปราะบาง โดยเฉพาะหนี้รายย่อย ยกเว้นสินเชื่อบ้าน
“แม้สิ้นปี 2565 เอ็นพีแอลปรับลดเป็น 2.72% แต่มาจากการบริหารจัดการเอ็นพีแอลในเชิงรุก เพื่อรับมือกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังไม่จบ ซึ่งบางธนาคารใช้วิธีตัดขายหนี้ หรือบางแห่งโอนหนี้ออกไปบริหารจัดการต่างหาก แต่ปัญหาเอ็นพีแอลยังไม่หมดไป” นางสาวกาญจนา กล่าว
ขณะเดียวกันลูกหนี้กลุ่ม Stage2 หรือ SM หากพิจารณาไตรมาส4 ปี2565 และปี 2564 จะอยู่ในระดับ 6.22% และ 6.41% ตามลำดับ แต่ไส้ในยังมีหนี้รายย่อยที่่อยู่ในความเปราะบาง ทำให้ธนาคารต้องระมัดระวังอยู่ เพราะสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมขยับขึ้นเช่น รถยนต์จาก 11.08% เป็น 13.66% ขณะที่บัตรเครดิตลดลงจาก 7.92% เหลือ 4.58% และสินเชื่อบุคคลอื่นๆ ลดลงจาก 6.04% อยู่ที่ 4.66%
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินเอ็นพีแอลทั้งปี 2565 จะต่ำกว่า 2.75% และคาดว่า จะเห็นเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.55-2.80% ในปี 2566 โดยมียังโอกาสอัพไซด์ทั้งจากลูกหนี้รายย่อยและเอสเอ็มอีที่ยังไม่ได้รับอานิสงส์วัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
“ตัวเลขประมาณการเอ็นพีแอลยังเผื่อหนี้จากลูกหนี้รายย่อย ที่จะทำให้แบงก์ยังคงตั้งการ์ดสูง โดยหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึงอาจส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ โดยเฉพาะหากสามารถดูแลปัญหาคุณภาพหนี้ไม่แย่ลงอาจรักษาระดับกันสำรองไว้ได้ หรือกันสำรองลดลงแต่ยังไม่ลดลงมาก
Source: ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank’s Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"