ลาวเดินหน้าแก้วิกฤติ ดึงดอลลาร์ที่ถูก “กักตุน” ไว้ กลับคืนสู่ระบบ

เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566 ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) หรือแบงก์ชาติลาว ได้มีหนังสือแจ้งการฉบับที่ 01/ทหล. เรื่อง “ยุติการอนุญาตดำเนินธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราของร้านแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารพาณิชย์”

เนื้อหาในหนังสือแจ้งการฉบับนี้ อ้างอิงข้อตกลงว่าด้วยบริการแลกเปลี่ยนเงินตราฉบับที่ 1026/ทหล. ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในลาวเท่านั้น จึงสามารถให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนิติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน…
1. ธนาคารแห่ง สปป.ลาว จึงยุติการอนุญาตให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของร้านแลกเงินที่มีอยู่ทั่วประเทศ 113 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในลาว 6 แห่ง
2. ให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 6 แห่ง หยุดการต่อสัญญาและยกเลิกสัญญาการเป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับร้านแลกเงินทั้ง 113 แห่ง, ปิดบัญชีเงินฝากที่ออกในนามของร้านแลกเงินทั้ง 113 แห่ง และนำเอกสารหลักฐานการยกเลิกสัญญาเป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่แต่ละธนาคารทำกับร้านแลกเงินทั้ง 113 แห่ง รวมถึงหนังสืออนุญาตทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของร้านแลกเงินทั้ง 113 ร้าน ส่งคืนไปยังกรมนโยบายเงินตรา ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ภายในวันที่ 31 มกราคม 2566
3. ธนาคารพาณิชย์แห่งใดที่ต้องการจัดตั้งหน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของตนเอง ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยบริการแลกเปลี่ยนเงินตราฉบับที่ 1026/ทหล. ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2565…
ตามมาตราที่ 8 ของข้อตกลงว่าด้วยบริการแลกเปลี่ยนเงินตราฉบับที่ 1026/ทหล. กำหนดเงื่อนไขการตั้งหน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ไว้ดังนี้
1. เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ, ธนาคารพาณิชย์ที่รัฐร่วมทุน และธนาคารพาณิชย์เอกชน
2. มีระเบียบการควบคุมหน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตราที่สอดคล้องกับระเบียบการซึ่งกำหนดไว้ในมาตราที่ 7 ข้อที่ 1 ของข้อตกลงฉบับนี้…
เนื้อหาในข้อตกลงว่าด้วยบริการแลกเปลี่ยนเงินตราฉบับที่ 1026/ทหล. มาตราที่ 7 ข้อที่ 1 ระบุว่า“มีระเบียบการเกี่ยวกับบริการแลกเปลี่ยนเงินตราที่สอดคล้องกับระเบียบการที่เกี่ยวข้อง, มีการบริหารความเสี่ยงด้านการตลาด และมีมาตรการปกป้องผู้ใช้บริการการเงิน”
3. มีหน่วยงานหรือบุคลากรเฉพาะ ที่จะมาควบคุมหน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตรา
4. มีระบบการรายงานข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน การซื้อ และ/หรือ ขาย เงินตราต่างประเทศ ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างธนาคารพาณิชย์และหน่วยแลกเปลี่ยนเงินตรา และรับประกันการรายงานข้อมูลให้แก่ธนาคารแห่ง สปป.ลาว อย่างเป็นปกติตามระเบียบการ
5. มีการจัดฝึกอบรม และเผยแพร่นิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ให้หน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตรา สองครั้งต่อปี
……
ลาวเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าสินค้าเป็นส่วนใหญ่ เงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาท จึงเป็นสกุลเงินที่มีความต้องการและมีการใช้มากในลาว
หลายปีมาแล้วที่การค้าขายในลาว ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สามารถใช้เงินบาทซื้อขายได้ ไม่ว่าเป็นพื้นที่ชายแดน เมืองใหญ่ๆ หรือแม้แต่ในนครหลวงเวียงจันทน์
แต่หากเป็นสินค้าราคาสูง สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือรถยนต์ ทั้งหมดตั้งราคาและซื้อขายกันด้วยเงินสกุลดอลลาร์
แม้รัฐบาล โดยทั้งกระทรวงการเงินและธนาคารแห่ง สปป.ลาว พยายามรณรงค์ให้ทั่วประเทศใช้เงินกีบ แต่คนลาวจำนวนมากก็ยังนิยม และสะดวกใจในการใช้เงินบาท และโดยเฉพาะเงินดอลลาร์กันอยู่
การเปิดรับเงินลงทุนจากต่างประเทศและการท่องเที่ยว จึงเป็น 2 ช่องทางหลัก ที่จะได้มีเงินดอลลาร์ไหลเข้าไปในลาว
อย่างไรก็ตาม หลังเริ่มมีการระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 ลาวจำเป็นต้องปิดประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการเงินในลาว เพราะทำให้รายได้ที่เป็นเงินดอลลาร์จำนวนมากซึ่งเคยได้รับมาจากนักท่องเที่ยว ต้องหายไป
บริษัท ห้างร้าน กิจการที่มีการติดต่อกับต่างประเทศหลายแห่ง บุคคลหลายคน โดยเฉพาะบุคคลชั้นสูงในวงสังคม จึงจำเป็นต้องกักตุนเงินดอลลาร์ไว้กับมือให้มากที่สุด เพื่อความคล่องตัวในการค้าขาย ซื้อสินค้า หรือใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองธุรกิจ รวมถึงเพื่อแสดงสถานะ
เงินดอลลาร์ที่มีจำกัดอยู่แล้วในลาว จึงกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีค่า เป็นที่ต้องการ และกดค่าเงินกีบให้ตกต่ำลงอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
เชื่อกันว่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีใครรู้ข้อมูลที่แท้จริงว่าปริมาณเงินดอลลาร์ที่มีอยู่ในลาวนั้น มีเป็นจำนวนเท่าใด และจุดนี้เอง ที่เป็นต้นเหตุหลักของวิกฤติการเงินที่ลาวต้องเผชิญมาตลอดหลายปี จนมีหลายช่วงที่ในประเทศ ได้เกิดภาวะขาดแคลนเงินดอลลาร์ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือเหตุการณ์ในเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 ที่บริษัทผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงของลาวไม่มีเงินดอลลาร์เพียงพอสำหรับซื้อน้ำมันเข้ามาจากต่างประเทศ จนกลายเป็นวิกฤติน้ำมันเชื้อเพลิงขาดตลาด ปั๊มน้ำมันหลายแห่งต้องหยุดให้บริการชั่วคราวเพราะไม่มีน้ำมันขาย ผู้ใช้รถต้องไปต่อคิวยาวเหยียดเพื่อรอเติมน้ำมันในปั๊มที่ยังพอมีน้ำมันเหลืออยู่ จนเกิดเป็นภาพความโกลาหลตามหน้าปั๊มน้ำมันหลายแห่งทั่วประเทศมาแล้ว
หน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการเงินในลาวเชื่อว่า สถานการณ์เงินดอลลาร์ขาดตลาด เพราะมีเงินดอลลาร์จำนวนมากที่ถูกกักตุนไว้นอกระบบ และหน่วยงานของรัฐไม่มีข้อมูล หรือเคยบันทึกข้อมูลปริมาณเงินดอลลาร์เหล่านี้เอาไว้เลย!!!
“ยกตัวอย่าง นักลงทุนต่างประเทศนำเงินตราเข้ามามหาศาล จดแจ้งเท่านี้ แต่เมื่อไปตรวจพบจริง มีมากกว่า 4 เท่า ตามที่รองผู้ว่าฯ ได้รายงานอยู่ในที่สัมมนา เราก็ทำอะไรไม่ได้ เราตรวจพบ เราก็ไม่รู้ว่าเงินไปอยู่ที่ไหน อันนี้มันแสดงถึงความอ่อนแอของการควบคุมเงินตราต่างประเทศของพวกเรา เพราะว่าแขนงการนี้ มันคือหนึ่งในเสาค้ำหลักของเศรษฐกิจมหภาค เพราะฉะนั้นตัวนี้ ถ้าเราไม่จริงใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย พวกเราก็ยังจะตกอยู่ในสภาพนี้ต่อไป การควบคุมเงินตราของพวกเรานี่ ก็จะอ่อนแอมาก
สิ่งนี้ไม่ใช่เพียงแต่ธนาคารกลางผู้เดียว ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งหมด พอเวลาที่เอาเงินเข้ามา บรรดาโครงการใหญ่ๆ โรงไฟฟ้า เหมืองต่างๆ ล้วนแล้วแต่ได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามา แล้วมันไปไหน มีแต่บอกว่ามันไม่เข้าไปในระบบ มันไปไหน เรารู้อยู่ มันไม่เข้าระบบ มันผิดกฎหมายควบคุมเงินตรา แต่เราก็ไม่ทำอะไร อันนี้ก็เป็นตัวหนึ่งที่อยากถามต่อว่า เราจะแก้ไขแนวใด มาตรการตรงนี้จะจริงจังแนวใด ถ้าพวกเราจริงจังแก้ไขแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าพวกเราจะไม่ตกอยู่ในสภาพเหมือนทุกวันนี้
ฉะนั้น ระบบ ความผิดพลาด หละหลวมที่ผ่านมานี่ ถ้าเราไม่จริงใจแก้จริงจังแล้วนี่ จะมีมาตรการใดมา ก็แก้ไขไม่ได้เลย”
เป็นส่วนหนึ่งในคำอภิปรายอย่างดุเดือดของ “วาลี เวดสะพง” สมาชิกสภาแห่งชาติ จากเขตเลือกตั้งที่ 1 นครหลวงเวียงจันทน์ ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 3 สภาแห่งชาติลาว ชุดที่ 9 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565
ตามเนื้อหาของหนังสือแจ้งการ ฉบับที่ 01/ทหล. ที่เพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 ดูเหมือนมีเป้าหมายที่ต้องการจัดระเบียบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในลาว โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เท่านั้นที่สามารถให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราได้
เพราะหลังมีการยกเลิกร้านแลกเงิน 113 แห่ง ที่เคยตั้งอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยว หรือศูนย์กลางธุรกิจต่างๆ ไปทั้งหมดแล้วนั้น ผู้ที่ต้องการแลกเงินตราต่างประเทศในลาว ต้องทำรายการกับธนาคารพาณิชย์ หรือบูธแลกเงินของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ซึ่งต้องมีการรายงานข้อมูลธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่อธนาคารแห่ง สปป.ลาว
แต่ในอีกนัยหนึ่ง หนังสือแจ้งการฉบับนี้ คือกลไกเพื่อใช้ดูดเงินดอลลาร์ซึ่งกระจัดกระจายอยู่นอกระบบ ให้เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อให้หน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลมีโอกาสรวบรวมข้อมูลและประเมินปริมาณเงินดอลลาร์ในตลาดเงินลาวได้ว่า แท้จริงแล้วมีอยู่ประมาณเท่าใด
ความจริง ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ได้เริ่มเข้มงวดกับร้านรับแลกเงินอย่างจริงจังมาตั้งแต่ค่าเงินกีบเริ่มแสดงแนวโน้มอ่อนค่าลง หลังปิดประเทศในปี 2563 เพราะเชื่อว่าร้านแลกเงินเป็นช่องทางหนึ่งที่มีส่วนทำให้เงินดอลลาร์จำนวนมาก ไหลออกไปอยู่นอกระบบ
เดือนกรกฎาคม 2564 ธนาคารแห่ง สปป.ลาว มีหนังสือแจ้งการ ฉบับที่ 758/กนง. กำหนดให้ร้านแลกเงินอิสระที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ต้องแปรสภาพเป็นร้านตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้สามารถใช้กฎหมายเข้าไปกำกับดูแลธุรกรรมของร้านแลกเงินเหล่านี้
วันที่ 17 กันยายน 2564 ห้องการ ธนาคารแห่ง สปป.ลาว มีหนังสือแจ้งการ ฉบับที่ 175/หก. แจ้งรายชื่อร้านแลกเงินทั่วประเทศ 419 แห่ง ที่ได้ทำสัญญาเป็นตัวแทนธนาคารสำเร็จแล้ว โดยมีธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง ที่มีตัวแทนร้านแลกเงินอยู่ในเครือ ประกอบด้วย
1. ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว
2. ธนาคารพัฒนาลาว
3. ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม
4. ธนาคารร่วมพัฒนา
5. ธนาคารเอสที
6. ธนาคารบีไอซี ลาว
7. ธนาคารเวียดติน ลาว
8. ธนาคารร่วมธุรกิจลาวเวียด
9. ธนาคารมารูฮาน แจแปน ลาว
3 ใน 9 แห่งนี้ เป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐ คือ ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว, ธนาคารพัฒนาลาว และธนาคารส่งเสริมกสิกรรม
ต่อมา วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ธนาคารแห่ง สปป.ลาว มีหนังสือแจ้งการฉบับที่ 340/หก. ระบุว่า มีร้านแลกเงิน 306 แห่ง ได้ขอหยุดทำธุรกิจแบบถาวร จึงคงเหลือร้านแลกเงินทั่วประเทศลาวอยู่เพียง 113 แห่ง ซึ่งทั้งหมด เป็นของธนาคารพาณิชย์เอกชน 6 แห่ง ได้แก่
1. ธนาคารร่วมพัฒนา
2. ธนาคารเอสที
3. ธนาคารบีไอซี ลาว
4. ธนาคารเวียดติน ลาว
5. ธนาคารร่วมธุรกิจลาวเวียด
6. ธนาคารมารูฮาน แจแปน ลาว
แต่ล่าสุด จากข้อตกลงว่าด้วยบริการแลกเปลี่ยนเงินตราฉบับที่ 1026/ทหล. ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2565 และหนังสือแจ้งการฉบับที่ 01/ทหล. ลงวันที่ 13 มกราคม 2566 ร้านแลกเงินทั้ง 113 แห่ง ก็ถูกยุติกิจการไปทั้งหมดแล้วด้วยเช่นกัน
นอกจากการจัดระเบียบธุรกิจบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแล้ว ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ยังพยายามหาเครื่องมือมาดึงดูดให้มีการคายเงินดอลลาร์บางส่วนที่ถูกกักตุนไว้ ให้กลับคืนเข้าสู่ระบบ
วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ก่อนออกหนังสือแจ้งการฉบับที่ 01/ทหล.ไม่กี่วัน ธนาคารแห่ง สปป.ลาว เปิดขายพันธบัตรสกุลเงินกีบ งวดที่ 2 วงเงิน 1 ล้านล้านกีบ ให้อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 20%
การขายพันธบัตรลอตนี้ เป็นการดำเนินมาตรการต่อเนื่อง หลังจากธนาคารแห่ง สปป.ลาว เคยออกพันธบัตรลักษณะเดียวกันลอตแรก มาขายเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 แต่พันธบัตรลอตแรก มีวงเงินสูงกว่า คือ 5 ล้านล้านกีบ
พันธบัตรทั้ง 2 ลอต มีอายุ 6 เดือน ไม่สามารถเปลี่ยนมือได้ ธนาคารแห่ง สปป.ลาว จะชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยครั้งเดียว เมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน
ทั้ง 2 ลอตเป็นพันธบัตรอิเลคทรอนิคส์ ไม่มีใบพันธบัตร (Script less) ผู้ซื้อจะได้รับใบรับรองการถือครองพันธบัตร (BOL Bill Certificate) ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายออกให้
กำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ซื้อพันธบัตร เป็นบุคคล นิติบุคคล ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในลาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่รับฝากเงินในลาว จะไม่มีสิทธิ์ซื้อพันธบัตรนี้
โดยผู้ที่มีสิทธิสามารถซื้อพันธบัตรได้ในวงเงินต่ำสุด 100,000 กีบ บุคคลธรรมดาสามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 2 พันล้านกีบ ส่วนนิติบุคคลซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 ล้านกีบ
ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ได้แต่งตั้งธนาคารพาณิชย์ 7 แห่งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรลอตที่ 2 ประกอบด้วย ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว, ธนาคารพัฒนาลาว, ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม, ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด, ธนาคารร่วมพัฒนา, ธนาคารอุตสาหกรรมและการค้าจีน (ICBC) สาขานครหลวงเวียงจันทน์ และธนาคารบีไอซี ลาว
ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ให้เหตุผลในการเปิดขายพันธบัตรทั้ง 2 ลอต ว่า เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินของลาว
มีหลายคนมองว่า ธนาคารแห่ง สปป.ลาว คงคาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปีที่ให้ หรือ 10% ที่จะได้รับจริงตามอายุของพันธบัตร 6 เดือน อาจดึงดูดให้มีบางคนยอมปล่อยดอลลาร์ที่ตุนไว้บางส่วน เพื่อแลกเป็นกีบ แล้วนำมาซื้อพันธบัตร
แต่จากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารการค้าต่างประเทศ ณ วันที่ 9 มกราคม 2566 ค่าเงินดอลลาร์ที่ธนาคารรับซื้ออยู่ที่ 17,010 กีบ ต่อ 1 ดอลลาร์ เทียบกับวงเงินพันธบัตรลอตที่ 2 ที่ธนาคารแห่ง สปป.ลาว เปิดขาย 1 ล้านล้านกีบ เท่ากับ 59 ล้านดอลลาร์ เป็นวงเงินที่อาจไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์กระเตื้องขึ้นมาได้มากนัก
วิกฤติการเงินในลาว ยังเป็นปมที่ต้องรอการคลี่คลายต่อไป…
ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ รายงาน
Source: ThaiPublic

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"