Bank Run: ความไม่ยั่งยืนของระบบการเงิน หรือ ต้นทุนที่ต้องจ่าย

ปีนี้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ตกเป็นของนักเศรษฐศาสตร์มหภาคสายการเงินการธนาคารอย่าง Ben Bernanke, Douglas Diamond และ Philip Dybvig ซึ่งผู้คนน่าจะคุ้นชื่อของ Ben Bernanke กันมาบ้างจากข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ

เพราะเขาผู้นี้เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 2006 – 2014 ซึ่งเป็นช่วงที่อเมริกาเผชิญกับวิกฤติซับไพรม์
แต่จะมีซักกี่คนกันที่รู้จักอีกสองท่านที่เหลือ ? ในฐานะที่ผู้เขียนได้อ่านผลงานของท่านทั้งสองและได้นำมาสอนให้นักศึกษาปริญญาเอกที่คณะเป็นระยะเวลานานหลายปี วันนี้จะถือโอกาสหยิบเอาองค์ความรู้นี้มาบอกเล่าต่อด้วยภาษาง่าย ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการทางระบบการเงินการธนาคาร และนำมาสู่การตั้งคำถามต่อถึง “ความยั่งยืน” ของแวดวงนี้
หนึ่งในผลงานที่ทำให้ Diamond และ Dybvig มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการเศรษฐศาสตร์ จนนำมาสู่การได้รับรางวัลโนเบลในปีนี้ คืองานที่ทั้งสองได้ร่วมกันอธิบายปรากฎการณ์ Bank Run หรือการที่ผู้ฝากเงินพร้อมใจกันแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร จนธนาคารไม่สามารถหาเงินมาให้ทุกคนในเวลาเดียวกันได้ จนธนาคารเจ๊ง แล้วเมื่อเกิด Bank Run ในธนาคารใดธนาคารหนึ่งแล้ว ธนาคารอื่นก็จะทยอยโดน Bank Run ไปด้วย ก็เจ๊งตาม ๆ กันไป พอธนาคารเจ๊งกันมาก ๆ ธนาคารที่พอจะทนกับ Bank Run ของตัวเองได้ แต่เป็นเจ้าหนี้ หรือมีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเชื่อมโยงกับกลุ่มที่เจ๊งไปแล้ว ก็เลยต้องเจ๊งตาม ๆ กันไปอีก สรุปก็คือล่มสลายกันหมดทั้งภาคการเงินการธนาคาร ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจมหภาค
Bank Run เกิดได้อย่างไร ? มันคือผลของการจัดการระบบการเงินการธนาคารที่ไม่ยั่งยืนใช่หรือไม่ ? Diamond และ Dybvig ได้ชี้ให้เห็นว่าจริง ๆ แล้ว Bank Run เป็นความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ของระบบการเงินการธนาคารที่ดีแล้วต่างหาก และการมองหาความยั่งยืนในลักษณะของความมีเสถียรภาพเต็มร้อยมันอาจจะไม่ได้มีอยู่จริง
เรื่องราวมันเริ่มจากกระบวนการออมและการลงทุนที่ทุกคนต้องเจอ เมื่อวันหนึ่งเรามีรายได้ เราก็ใช้ไปเลยส่วนหนึ่ง แล้วอีกส่วนเราก็อยากจะเก็บไปเพื่อการบริโภคในอนาคต การลงทุนเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเก็บมูลค่าสิ่งที่เรามีในวันนี้ไปเป็นผลตอบแทนที่สูงในอนาคต แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้น กว่าการลงทุนจะให้ดอกออกผลมักก็ใช้เวลานาน ซึ่งในระหว่างนั้นตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าเราจะเกิดมีความจำเป็นต้องใช้เงินหรือเปล่า
ปัญหามันก็อยู่ตรงนี้แหละ ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ ฝนตกฟ้าร้องหลังคารั่วเกิดต้องใช้เงินขึ้นมาทันทีทันใด การไปถอนการลงทุนระยะยาวออกมากลางคันจะทำให้เราไม่ได้ผลตอบแทนตามที่หวัง นั่นหมายความว่า ในทุก ๆ เวลา จะมีคนที่โชคดีที่สามารถรอจนได้ผลตอบแทนที่สูงจากการลงทุนในระยะยาว และก็มีคนที่โชคร้ายได้ผลตอบแทนที่ต่ำเพราะจำเป็นต้องถอนการลงทุนออกมากลางคัน
เราสามารถจับคู่กันทำสัญญาประกันแบ่งปันความเสี่ยงกันเองได้มั้ย ? คำตอบคือยากครับ เพราะความเสี่ยงในการมีเหตุที่ต้องใช้เงินกลางคันแบบนี้เป็นสิ่งที่ตรวจสอบจากภายนอกไม่ได้ เราจะเดินไปทำสัญญากับคนแปลกหน้าแล้วบอกว่า ถ้าใครเกิดโชคร้ายมีเหตุจะต้องถอนการลงทุนขึ้นมา ก็ให้คนโชคดีที่ไม่มีเหตุใช้เงินอะไรไปถอนการลงทุนออกมาส่วนหนึ่งแล้วเอามาให้กับคนที่โชคร้ายเพื่อเป็นการแบ่งปันความเสี่ยงกัน อีแบบนี้ไม่ว่าใครก็ต้องบอกว่าตัวเองมีเหตุใช้เงินไว้ก่อนทั้งนั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินให้อีกใคร ผลสุดท้ายก็คือ ชีวิตเราก็ต้องมานั่งลุ้นหัวลุ้นก้อยว่ารอบนี้ฉันจะโชคร้ายมีเหตุที่จะต้องถอนการลงทุนก่อนเวลาอันสมควรหรือไม่ เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งฟังดูแล้ว ไม่น่าจะเป็นระบบการเงินที่ดีหรือยั่งยืนแต่อย่างใด
การเกิดขึ้นของธนาคารและบัญชีเงินฝากช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการรวมเงินออมของทุกคนมาอยู่ที่ธนาคารเพื่อนำไปสู่การลงทุนระยะยาว โดยธนาคารสัญญาว่าใครก็ตามที่อยากจะถอนเงินในระยะสั้น ก็มาถอนได้พร้อมกับได้ดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ฝากไว้ ซึ่งมากกว่าสิ่งที่เราได้จากการถอนการลงทุนกลางคันด้วยตัวเอง ส่วนคนที่รอไปถอนในระยะยาวก็จะได้ผลตอบแทนมากกว่าการถอนระยะสั้น แต่จะน้อยกว่าผลตอบแทนของการลงทุนระยะยาวด้วยตัวเอง สัญญาเงินฝากแบบที่เราคุ้นเคยกันแบบนี้แหละสามารถช่วยขจัดปัญหาความเสี่ยงจากเหตุที่ต้องใช้เงินกะทันหันได้ โดยการแบ่งปันความเสี่ยงกันระหว่างคนที่โชคดีกับคนที่โชคร้ายที่อยู่ ๆ ก็มีเรื่องต้องใช้เงินขึ้นมา คนที่รอได้ก็จะได้ผลตอบแทนน้อยลงมาหน่อย แลกกับการที่เขาจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถ้าเขาเกิดโชคร้ายขึ้นมา
ระบบการเงินการธนาคารที่ช่วยแบ่งปันความเสี่ยงกันแบบนี้จะช่วยให้คนมีความสุขมากขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ล้วนกลัวความเสี่ยง คนที่มีเหตุต้องรีบใช้เงินก็ถอนเงินไป คนที่ไม่มีเหตุจำเป็นอะไรก็รอไปถอนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของระบบนี้คือความอ่อนไหวต่ออุปทานหมู่ของคนในสังคม ในสถานการณ์บ้านเมืองที่คนเกิดตื่นตระหนกกับข่าวร้ายข่าวลวงใด ๆ ก็ตาม จนทำให้ “เชื่อ” ว่าจะมีคนไปถอนเงินในระยะสั้นเป็นจำนวนมาก มากจนทำให้ผลตอบแทนของการรอเพื่อที่จะถอนในระยะยาวต่ำจนเกินไป Bank Run ก็จะเกิด แม้ว่าตัวธนาคารเองจะไม่ได้มีการดำเนินงานอะไรที่ผิดพลาดคดโกงเลยก็ตาม
เหตุผลก็คือ ทุกคนรู้ว่าธนาคารสัญญาผลตอบแทนระยะสั้นแก่ผู้ถอนมากกว่าสิ่งที่ได้จากการถอนการลงทุนกลางคันด้วยตัวเอง ดังนั้นการที่เรา “เชื่อ” ว่าคนจะแห่ไปถอนกัน เราก็จะ “เชื่อ” ว่าธนาคารจะต้องถอนการลงทุนมาจนหมดเพื่อให้กับผู้ถอนระยะสั้น จน “เชื่อ” ได้ว่าจะไม่เหลืออะไรให้กับคนที่รอถอนในระยะยาว เพราะ “เชื่อ” อย่างนั้น เราก็ต้องแห่ไปถอนด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินใด ๆ เมื่อทุกคน “เชื่อ” ตรงกันแบบนี้ เงินในธนาคารก็จะไม่พอ ใครถอนก่อนก็ได้เงินไป ที่เหลือก็จะสูญเงิน ธนาคารก็ล้ม นำไปสู่การล้มครืนทั้งกระดานของสถาบันการเงิน
แน่นอนว่า ผู้ฝากเงินทุกคนไม่มีใครอยากให้ Bank Run เกิดขึ้นอยู่แล้วเพราะมันไม่ได้ดีอะไรกับตัวเขาเองเลย ดังนั้นโดยส่วนใหญ่ คนในเศรษฐกิจก็พร้อมที่จะยึดโยงความเชื่อตัวเองไปกับสถานการณ์ที่ดี ๆ อยู่แล้ว พร้อมจะเชื่ออยู่แล้วว่า “ธนาคารไม่ล้มหรอก” “ทุกอย่างจะโอเคแหละ” “เดี๋ยวทุกอย่างก็ดีเอง” ดังนั้น Bank Run จึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในประวัติศาสตร์โลก มันจะต้องมีความพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกจริง ๆ อยู่ ๆ ข่าวร้ายก็บังเอิญปะเดปะดังเข้าล็อคกันหมดพอดี Bank Run ถึงจะเกิด แต่พอเกิดขึ้นแล้ว จะนำไปสู่ความเสียหายที่รุนแรงกว่าความโชคร้ายของการที่เราลงทุนด้วยตัวเอง
สรุปแล้วแบบไหนกันหละที่เราเรียกว่ายั่งยืน ? เมื่อไม่มีเสถียรภาพเป็นตัวเลือก ความยั่งยืนก็คงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าการมีธนาคารและบัญชีเงินฝากเป็นทางเลือกที่ดีและยั่งยืนกว่า เพียงแต่ว่าทุกอย่างมันอาจจะมีราคาที่ต้องจ่าย ถ้ามีตรวจสอบดูแลการทำงานของสถาบันการเงินให้ถูกต้องและโปร่งใส อุปทานหมู่ก็น่าจะเกิดได้ยากขึ้นไปเอง สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณ Diamond และ Dybvig รวมถึง Benanke กับคุณูปการที่ทำให้กับวงการเศรษฐศาสตร์ การเงิน และการธนาคาร สมควรอย่างยิ่งกับรางวัลโนเบลในปีนี้ครับ (ปรบมือ)
ผศ. ดร. อัธกฤตย์ เทพมงคล
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Source: ThaiPublica

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"