ดอกเบี้ยนโยบายไทยจะขึ้นไปแค่ไหน

ในที่สุดเศรษฐกิจไทยก็เข้าสู่ยุค ‘ดอกเบี้ยขาขึ้น’ ตามประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปก่อนหน้าสักพักแล้ว หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเป็นครั้งแรกใน 4 ปีเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในรอบนี้จะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในแต่ละครั้งและจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในประเด็นแรกนั้น แถลงข่าวผลการประชุม กนง. และคำสัมภาษณ์ในหลายวาระของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกไว้ชัดเจนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. จะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ต่อเนื่องโดยไม่สะดุด (Smooth Takeoff) ซึ่งตีความได้ว่า กนง. น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียงครั้งละร้อยละ 0.25 ต่อปี ซึ่งเป็นขนาดปกติของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แทนการปรับขึ้นร้อยละ 0.5 หรือร้อยละ 0.75 ต่อปี ซึ่งแรงกว่าปกติแบบที่เราเห็นในหลายประเทศ
อย่างไรก็ดี กนง. ทิ้งท้ายไว้ว่า การปรับนโยบายการเงินต้องสอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ซึ่งหมายความว่า กนง. อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขนาดที่มากกว่าร้อยละ 0.25 ต่อปีก็ได้ หาก กนง. พิจารณาแล้วเห็นสมควร ซึ่งในภาษาวิชาการเราเรียกว่าเป็นการปรับนโยบายแบบขึ้นกับพัฒนาการของข้อมูล (Data Dependent)
เช่น ถ้าสัปดาห์หน้าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ร้อยละ 1 ต่อปี ตามที่ผู้เล่นในตลาดบางรายเริ่มคาดการณ์หลังจากเห็นตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ล่าสุด จากเดือนก่อนที่ส่วนใหญ่คาดกันว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.5 ต่อปี ก็จะถือว่าเป็นข้อมูลใหม่ที่ กนง. จะเอามาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ
ประเด็นที่สอง อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะขึ้นไปสูงสุดแค่ไหน ตอบยากกว่าข้อแรกมาก ยิ่งมองข้างหน้าไปไกล ความไม่แน่นอนของพัฒนาการของข้อมูลยิ่งสูงกว่าในระยะสั้น แต่ก็ไม่ถึงกับไม่มีอะไรให้เกาะทีเดียว โดยถ้าเศรษฐกิจไทยกลับไปเป็นปกติ ระดับของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยก็ควรจะกลับไปเป็นปกติด้วย
คำถามคือ แล้วอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในระดับปกติอยู่ที่เท่าไร โดยทั่วไปแล้วนักเศรษฐศาสตร์จะมองว่า ในภาวะปกติอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรจะอยู่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเล็กน้อย เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง (อัตราดอกเบี้ยนโยบายลบด้วยอัตราเงินเฟ้อ) เป็นบวก เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาเงินเฟ้อที่คุมไม่ได้ (Runaway Inflation) และการเก็งกำไรในระบบการเงิน
ถ้าเราสำรวจคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยโดยสำนักวิเคราะห์ต่างๆ จะเห็นว่ากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) ใช้หลักการนี้ โดย KKP มองว่าเงินเฟ้อในระยาวของไทยอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี (ค่ากลางของช่วงเป้าหมายนโยบายการเงินของ ธปท. ที่ร้อยละ 1-3 ต่อปี) KKP จึงให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไปสิ้นสุดในปีหน้าที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี
ตัวเลขร้อยละ 2.25 ต่อปีนี้ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในอดีตที่ร้อยละ 2 ต่อปี จึงไม่ได้ถือว่าสูงจนเศรษฐกิจไทยจะรับไม่ได้แต่อย่างไร (อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยเคยขึ้นไปสูงสุดที่ร้อยละ 5 ต่อปีในปี 2549) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และถ้าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าถูกกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เราอาจไปไม่ถึงร้อยละ 2.25 ก็ได้ ดังนั้นธุรกิจและประชาชนที่ต้องกู้เงิน ไม่ควรวิตกกับ ‘ดอกเบี้ยขาขึ้น’ ในรอบนี้มากนัก
อย่างไรก็ดี ต้องบอกว่าล่าสุดผมไม่สบายใจกับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่เพิ่งออกมามากนัก การที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลงมากที่สุดในรอบ 2 ปี หลังจากเห็นข้อมูลเงินเฟ้อ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุนกังวลว่า Fed อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 ในสัปดาห์หน้า แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญกว่าเป็นเพราะตลาดเริ่มไม่มั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จะไปหยุดที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี ตามที่ Fed ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
ถ้า Fed ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปร้อยละ 5-6 ต่อปี ตามที่เริ่มมีคนพูดกัน นอกจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถดถอยรุนแรงแล้ว ยังจะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับสหรัฐฯ ถ่างออกจากกันมากขึ้นด้วย แม้ว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยและสหรัฐฯ ในปัจจุบันจะไม่ได้ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายของไทยต่างจากประเทศอื่นๆ มากนัก แต่หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ขึ้นไปที่ร้อยละ 6 ต่อปี เราคงเห็นหลายประเทศขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงตาม และเราคงยากที่จะยืนระยะที่ร้อยละ 2.25 ต่อปีได้ คงต้องลุ้นให้ Fed สามารถคุมอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ได้โดยไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยไปสูงๆ ครับ
โดย ดร.ดอน นาครทรรพ
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
Source: Standard Wealth

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านารเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"