แบงก์เร่งสร้างอีโคซิสเต็มส์ ต่อยอดบริการสู่ Embedded Finance

แบงก์ทั่วโลกลุยสร้างอีโคซิสเต็มส์ เน้นส่งมอบประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า จับมือพันธมิตรยุคใหม่ ปูทางสู่ Embedded Finance บริการด้านการเงินที่ฝังตัวอยู่ในทุกรูปแบบการใช้ชีวิต
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารในประเทศไทยต่างพยายามสร้างโมเดลความร่วมมือใหม่ๆ

อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจับมือกับยูนิคอร์นสตาร์ตอัพอย่าง Grab หรือ Gojek การตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Line รวมถึงการเข้าซื้อกิจการของศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Bitkub ตลอดจนการใส่เม็ดเงินเข้าไปในหน่วยงานที่เป็น Venture Capital อย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่า ในอนาคตบริการทางการเงินจะใกล้ตัวลูกค้ามากกว่าที่เคย ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นของธนาคารเท่านั้น แต่บริการทางการเงินจะฝังตัวอยู่ในทุกการใช้ชีวิตของลูกค้า
การเงินธนาคาร สัมภาษณ์พิเศษ นายซานดีพ เร็ดดี้ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีการบริการทางการเงิน Thoughtworks ประจำประเทศอินเดีย ถึงแนวโน้มของธนาคารในการพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ เพื่อมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า การจับมือกับพันธมิตรอนาคตเพื่อก้าวไปสู่การให้บริการทางการเงินแบบ Embedded Finance และ 4 แนวคิดเพื่อพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ให้แข็งแกร่ง
เปิดเทรนด์แบงกิ้งอีโคซิสเต็มส์
ประสบการณ์ใหม่เคียงข้างการใช้ชีวิต
นายซานดีฟเริ่มให้สัมภาษณ์พิเศษว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเงินและธนาคารทั่วโลกได้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของโลก จากการระบาดของไวรัส Covid-19 โดยสิ่งที่เห็นชัดเจนที่สุด คือผลพวงจากมารตรการล็อกดาวน์ ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป เกิดการทำงานแบบ Work From Home และการให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่าง
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้องค์กรธุรกิจรวมถึงธนาคารทั่วโลกต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว มีการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน เพื่อให้ทิศทางธุรกิจในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมีความชัดเจน ขณะที่ในมุมลูกค้า นอกจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปแล้ว ยังมาพร้อมกับความต้องการใช้บริการด้านดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และยังเป็นการเพิ่มขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการเติบโตของธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มที่อีกด้วย
จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่ธนาคารทั่วโลกพยายามมุ่งเน้นอย่างมากก็คือ การสร้างระบบนิเวศใหม่หรืออีโคซิสเต็มส์ เพื่อให้ธนาคารสามารถส่งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ตรงตามความต้องการ
“ธนาคารชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่งพยายามมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้าง อีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแกร่ง โดยพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงแก่ลูกค้าที่อยู่ภายในอีโคซิสเต็มส์ได้ จะเห็นว่าธนาคารทั่วโลกกำลังสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่รูปแบบการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้”
นายซานดีฟกล่าวต่อว่า จากการทำงานร่วมกับธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง Thoughtworks พบว่า มีประเด็นสำคัญ 5 อย่างที่ธนาคารจำเป็นต้องคำนึงถึงในการสร้างอีโคซิสเต็มส์ เริ่มจาก
1. Enhance Customer Experience : การมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นเป็นสิ่งแรกที่ธนาคารต้องคำนึงถึง เพราะประสบการณ์ที่ดีจะยิ่งทำให้ลูกค้ายังคงอยู่ในอีโคซิสเต็มส์ของธนาคาร และยังส่งให้ตัวอีโคซิสเต็มส์มีความแข็งแกร่งในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วย
2. Plug and Play Platform : ตัวแพลตฟอร์มจะต้องสามารถใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา
3. Data Asset : การใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแบ่งกลุ่มและความต้องการของลูกค้า และนำไปต่อยอดในธุรกิจอื่นๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
4. Emerging Technology : ธนาคารต้องเตรียมพร้อมรับมือเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการได้ในระยะเวลาอันสั้น
5. Back Office : การเตรียมบุคลากรให้มีความพร้อม เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
แบงก์จับมือพันธมิตรยุคใหม่
ให้บริการแบบ Embedded Finance
นายซานดีฟกล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญของการสร้างอีโคซิสเต็มส์ของธนาคาร คือการที่ธนาคารจะต้องพันธมิตรที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฟินเทค สตาร์ตอัพ หรือผู้ให้บริการต่างๆ รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เข้ามาอยู่ภายในอีโคซิสเต็มส์ และต้องพัฒนาตัวแพลตฟอร์มให้รองรับการพัฒนาทั้งจากภายในและภายนอกด้วย
“ธนาคารต้องคิดให้มากกว่าแค่ออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ การเปิดตัวแอปพลิเคชั่น หรือการสร้างประสบการณ์ใหม่ข้าสู่ตลาด แม้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่ในโลกยุคใหม่นั้นธนาคารจะต้องทำงานร่วมกับผู้เล่นรายอื่นๆ เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่เชื่อมโยงต่อกันแบบองค์รวม เพราะบริการทางการเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกแล้ว จะต้องมีผลิตภัณฑ์อื่นที่เข้ามารองรับวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปมากขึ้น”
นายซานดีฟกล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญของอีโคซิสเต็มส์คือพันธมิตร ซึ่งธนาคารจะต้องมองไปถึงความร่วมมือกับพันธมิตรยุคใหม่ ไม่ใช่พันธมิตรดั้งเดิมที่เคยทำงานร่วมกับระบบธนาคารมานานหลายปี แต่ต้องนำวิถีชีวิตของผู้คนเป็นที่ตั้งและมองพันธมิตรใหม่ๆ ที่ครอบคลุมการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันและอนาคตด้วย ตัวอย่างเช่น ในช่วงการระบาดของ Covid-19 ธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศจีน ได้ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับ Local Community เพื่อแจ้งเตือนลูกค้าไม่ให้ใช้งานเครื่อง ATM ที่อยู่ในจุดที่มีการระบาดของไวรัส Covid-19
“ธนาคารย่อมต้องการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ กับลูกค้าอยู่แล้ว จะเห็นว่าธนาคารทั่วโลกมีการเข้าซื้อบริษัทฟินเทค รวมถึงผู้ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้างโมเดลความร่วมมือรูปแบบใหม่ ซึ่งนำมาซึ่งประสบการณ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น”
จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในการสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแกร่งคือ ทัศนคติที่เปลี่ยนจากการแข่งขันเป็นความร่วมมือ พันธมิตรในอีโคซิสเต็มส์ ควรมีจุดร่วมเดียวกันคือการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และสร้างความเชื่อใจให้เกิดขึ้นในอีโคซิสเต็มส์ และต้องมั่นใจว่าพันธมิตรทุกรายจะสามารถได้ประโยชน์จากการใช้ข้อมูลเชิงลึกในแพลตฟอร์ม เพื่อทำให้ลูกค้ายังคงอยู่ในแพลตฟอร์มในระยะยาว
ขณะที่กลยุทธ์และแผนงานต่างๆ ก็จะต้องมีความยืดหยุ่น มีการทำงานแบบ Agile เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้อย่างเข้มข้น
“เรามองว่า Data Privacy เป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะหากลูกค้าไม่เชื่อใจ ก็ไม่สามารถทำอะไรต่อได้แล้ว นี่คือสิ่งแรกที่ธนาคารต้องให้ความสำคัญอย่างมาก และเมื่อธนาคารสามารถมีอีโคซิสเต็มส์ที่ดีแล้ว ก็สามารถมองต่อไปถึงการ Take Over บริษัทอื่นๆ เข้ามา เพื่อให้เกิดอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแกร่ง ต่อยอดธุรกิจธนาคารให้เติบโตต่อไป”
นายซานดีฟกล่าวต่อว่า แนวโน้มของการสร้างอีโคซิสเต็มส์ของอุตสาหกรรมธนาคาร จะส่งให้รูปแบบของการให้บริการทางการเงินมีความเปลี่ยนแปลงไป เกิดคอนเซ็ปต์การให้บริการที่เรียกว่า Embedded Finance หรือบริการทางการเงินที่ฝังตัวอยู่ในทุกการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะตั้งแต่ตื่นจนถึงเข้านอน ผู้คนล้วนมีความเกี่ยวข้องกับบริการทางการแทบทั้งสิ้น และการให้บริการทางการเงินจะเกิดขึ้นทั้งแบบที่ลูกค้ารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้
“Embedded Finance หมายถึงการที่ธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ จะเข้าไปอยู่ในทุกช่วงชีวิตของลูกค้า โดยที่ลูกค้าอาจไม่รู้ตัว ทั้งในช่วงเวลาที่ต้องเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับบริการเงิน ตัวอย่างเช่น ลูกค้าต้องการซื้อบ้าน สิ่งที่ลูกค้าต้องการไม่ได้จบแค่การขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน แต่ยังต้องการบริการอีกมากมายหลังจากซื้อบ้านไปแล้ว
ดังนั้น อีโคซิสเต็มส์ของธนาคารจะต้องมีพันธมิตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริษัทขนส่ง บริษัทเฟอร์นิเจอร์ บริษัทออกแบบตกแต่ง เพื่อให้ลูกค้าอยู่ในแพลตฟอร์มของธนาคารในทุกช่วงของการใช้ชีวิต และทุกคนในอีโคซิสเต็มส์ก็ล้วนได้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น”
ข้อบังคับที่เข้มข้นไม่ใช่กำแพง
แนะแบงก์เร่งปรับรับอนาคต
นายซานดีฟกล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีประเด็นเรื่องของระเบียบข้อบังคับจากหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกทวีความเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็น 1 ในประเด็นสำคัญที่จะทำให้ธนาคารในปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทาย แต่นั่นไม่ได้หยุดยั้งการพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ของธนาคาร เพราะในอีกมุมหนึ่งระเบียบข้อบังคับก็เริ่มเปิดกว้าง และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมธนาคารมากขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายจากรัฐบาล หรือกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนการทำ Open Banking ของภาคธนาคาร
สิ่งเหล่านี้สนับสนุนให้เกิดดิจิทัลแบงก์มากขึ้น เพราะระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแลไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหยุดยั้งนวัตกรรม และอีโคซิสเต็มส์ของธนาคารก็เป็นการสร้างและการทำงานร่วมกันกับพันธมิตร เพื่อให้ลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุด บนพื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยข้อมูล นั่นจึงทำให้ความเข้มงวดของการกำกับดูแลไม่ใช่กำแพงของการพัฒนา
ส่วนความกังวลว่า การที่ธนาคารสร้างอีโคซิสเต็มส์ และจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองถูกติดตามตลอดเวลานั้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าให้ความเชื่อมั่นกับธนาคารมากแค่ไหน เพราะการมีอีโคซิสเต็มส์นั้นช่วยให้การใช้ชีวิตของลูกค้าสะดวกสบายมากขึ้น สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ที่ต้องการได้ภายในที่เดียว โดยที่ธนาคารจะเป็น 1 ในองค์ประกอบสำคัญของการใช้ชีวิต หากประสบการณ์ที่ได้รับดีเพียงพอ ก็ช่วยให้มุมมองในด้านลบเกิดขึ้นน้อยลง
นายซานดีฟกล่าวว่า อีกประเด็นที่ธนาคารต้องคำนึงถึงคือ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะระบบเดิมที่เป็น Legacy System นั้นไม่สามารถที่จะรองรับความซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ และที่จริงแล้วไม่ได้อยู่แค่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงระบบภายใน ขั้นตอนการทำงานต่างๆ รวมถึงบุคลากรในธนาคารด้วย ที่จะต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะได้เติบโตและขับเคลื่อนธุรกิจธนาคารต่อไปได้
4 แนวคิดพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ให้แข็งแกร่ง
1. คิดไปให้ไกลกว่าแพลตฟอร์ม ในขณะที่กำลังสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มนั้น สิ่งสำคัญคือ จะต้องคำนึงถึงอีโคซิสเต็มส์ที่จะเกิดขึ้นในธนาคาร นอกจากนี้ ยังต้องมั่นใจว่าแพลตฟอร์มและผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างขึ้นมานั้นสามารถเทียบเท่า กับอีโคซิสเต็มส์ที่ใหญ่กว่าได้
2. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน เช่นเดียวกับระบบนิเวศทางชีววิทยา สิ่งที่แย่ที่สุดของผู้เข้าร่วมในอีโคซิสเต็มส์ทางเทคโนโลยีก็คือการอยู่นิ่งเฉย ทางที่ดีที่สุดคือ ทุกคนต้องพร้อมที่จะร่วมมืออย่างแข็งขัน และพัฒนาไปด้วยกันอย่างต่อเนื่อง ธนาคารต้องทำให้ผู้เข้าร่วมในระบบได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และรับรู้ว่าคนอื่นๆ ก็ต้องการจะเข้าร่วมเช่นกัน ผู้เข้าร่วมจะมีความสนใจหากเกิดประโยชน์กับตน และรู้สึกมีแรงผลักดันในการมีส่วนร่วมเหมือนได้แข่งขัน จนกว่าจะรู้สึกว่าตัวเองมีฝีมือทำได้เหนือผู้เข้าร่วมอื่นๆ หรือสามารถหาพันธมิตรที่ดีกว่าได้
3. พิจารณาระบบนิเวศของลูกค้า นอกจากเทคโนโลยีแล้ว ธนาคารควรต้องพิจารณาระบบจากมุมมองแบบ go-to-market ด้วย ลองพิจารณาว่า มีโอกาสที่จะรวมเข้ากับระบบของลูกค้าได้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ หรือควรร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ เพื่อสร้างหรือขยายอีโคซิสเต็มส์ของผลิตภัณฑ์และบริการให้ครอบคลุมมากขึ้นหรือไม่
4. มองหาความเชื่อมโยงใหม่ๆ ลองท้าทายแนวคิดที่มีอยู่เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์พัฒนาขึ้น มีปฏิกิริยาต่อโลกภายนอกอย่างไร รวมไปถึงขอบเขตของปฏิกิริยานั้นด้วย เพื่อมองหาโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับลูกค้า และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มส์ให้ได้
Source: การเงินธนาคารออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"