รัสเซีย-ยูเครน : ความขัดแย้งโลกระทึก

นาทีนี้เหตุการณ์ที่ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างไม่กะพริบ คงหนีไม่พ้นประเด็นภูมิรัฐศาสตร์คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และชาติสมาชิกทั้งหลายแห่งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้)

ล่าสุด ณ วันที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความนี้ (28 ก.พ.) เหตุการณ์ยิ่งบานปลายเมื่อรัสเซียพยายามรุกคืบเข้าถึงกรุงเคียฟ นครหลวงของยูเครน ขณะที่รัสเซียถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยชาติสมาชิกนาโต้อย่างต่อเนื่อง ถึงขั้นที่กำลังจะถูกโดดเดี่ยวจากระบบการเงินโลก
(หกชาติตะวันตกออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ว่าจะตัดธนาคารรัสเซียบางรายออกจากระบบ SWIFT1) โดยรัสเซียได้ตอบโต้โดยสั่งการให้กองกำลังที่รับผิดชอบด้านอาวุธนิวเคลียร์ "เตรียมพร้อมเป็นพิเศษ" ซึ่งเป็นระดับการแจ้งเตือนสูงสุดของกองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Missile Forces) ของรัสเซีย
หลายท่านอาจสงสัยว่าแท้จริงแล้วอะไรคือชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งนี้ และจะเกิดผลกระทบอะไรกับเราบ้าง หากสงครามยืดเยื้อ วันนี้จึงขอชวนท่านผู้อ่านเจาะลึกประเด็นนี้กันครับ
ชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งในปัจจุบันสามารถสรุปได้เป็น 4 ประการสำคัญ ได้แก่
1) ต้นกำเนิดยูเครนในประวัติศาสตร์สมัยใหม่: ยูเครนเคยเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียตมาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ.1991 ได้แยกตัวออกมาหลังการล่มสลายของสหภาพฯ โดยยังมีชาวรัสเซียจำนวนมากอาศัยอยู่ในยูเครนโดยเฉพาะฝั่งตะวันออก ทั้งนี้ ยูเครนกลายเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย (ที่ไม่สมบูรณ์นัก) และมีนโยบายต่างประเทศที่กวัดแกว่งไปมาเป็นช่วง ๆ ระหว่างการสนับสนุนยุโรป สลับกับสนับสนุนรัสเซีย โดยหลังจากได้รับเอกราชในช่วง 10 ปีแรก ยูเครนดำเนินนโยบายมุ่งสู่ชาติตะวันตก หันไปให้ความสำคัญกับสหรัฐ ฯ และชาติยุโรป พยายามหลีกหนีอิทธิพลของรัสเซีย ขณะที่รัสเซียเองก็ไม่ยอมรับเอกราชอย่างสมบูรณ์ของยูเครน เนื่องจากรัสเซียมองยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศตนเองมาโดยตลอด และเรียกยูเครนว่า “Little Russia” จนเมื่อปี 2010 ยูเครนก็หันไปให้ความสำคัญรัสเซียอย่างเห็นได้ชัดภายใต้การนำของประธานาธิบดีวิกตอร์ ยากูโนวิช
2) อดีตประธานาธิบดียูเครนผู้ฝักใฝ่รัสเซีย: ในช่วงปลายปี 2013 ประชาชนชาวยูเครนนับแสนคนออกมาประท้วงขับไล่ประธานาธิบดียากูโนวิชคนดังกล่าว จากการคว่ำแผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป ซึ่งผู้ประท้วงมองว่าเท่ากับเป็นการปฏิเสธโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูเครน ทั้งนี้ มีการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงจนทำให้สถานการณ์บานปลายเป็นเหตุการณ์นองเลือด จนในที่สุดประธานาธิบดียากูโนวิชได้ถูกถอดถอนและหลบหนีออกนอกประเทศ แต่ได้ทิ้งรอยแผลขนานใหญ่ไว้ คือ ความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงในหมู่ประชาชนชาวยูเครน
3) การยึดไครเมียโดยรัสเซีย: อีกชนวนเหตุหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันในปี 2014 รัสเซียเข้ายึดครองและผนวกรวมดินแดนไครเมีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้และเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน หลังจากผลการลงประชามติของชาวไครเมียได้ข้อสรุปเป็นเสียงข้างมากถึง 96% ว่าจะประกาศเอกราชเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเป็นเหตุให้ดินแดนทางภาคตะวันออกของยูเครนคือ ดอแนตสก์และลูฮานสก์ พากันทำประชามติเพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครนบ้าง แต่กลับกลายเป็นสงครามแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่องจนมาถึงล่าสุดที่รัสเซียประกาศรับรองความเป็นรัฐอิสระของทั้งสองดินแดน และนำทหารเข้าไปรักษาสันติภาพในสองดินแดนดังกล่าว
4) ความพยายามเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ของยูเครน: ในทางภูมิศาสตร์ ยูเครนตั้งอยู่ระหว่างรัสเซียและชาติยุโรปต่าง ๆ ไม่ต่างจากความเป็นรัฐกันชน ที่ผ่านมา การที่ยูเครนพยายามจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของนาโต้ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งมีสาระสำคัญในสนธิสัญญาว่า “หากประเทศพันธมิตรนาโต้ถูกรุกรานหรือโจมตีโดยประเทศนอกกลุ่มสมาชิก ประเทศพันธมิตรทั้งหมดต้องยื่นมือเข้าปกป้อง” ทำให้รัสเซียรู้สึกถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศตน เพราะจะถูกล้อมด้วยชาติสมาชิกนาโต้ที่ดาหน้ารุมมาถึงหน้าประตูบ้าน ทั้งนี้ มีนักวิเคราะห์และนักวิชาการทางรัฐศาสตร์หลายท่านระบุว่า ความพยายามเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ของยูเครนดังกล่าวเป็นตัวแปรสำคัญหรือเป็นดั่งเชื้อไฟที่เร่งให้รัสเซียแสดงท่าทีแข็งกร้าวและตอบโต้ยูเครนอย่างรุนแรงดังที่ปรากฎในสถานการณ์ปัจจุบัน
เมื่อสงครามเกิดขึ้นและอาจยืดเยื้อบานปลาย ผลกระทบที่จะเกิดกับเศรษฐกิจโลกและไทยจะเป็นอย่างไร? ท่านผู้อ่านคงทราบกันอยู่บ้างแล้วว่ารัสเซียถือเป็นอภิมหาอำนาจด้านพลังงานของโลก โดยเฉพาะการเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และสินแร่ต่าง ๆ โดยรัสเซียถือเป็นแหล่งพลังงานสำคัญอย่างยิ่งของยุโรป
ขณะที่ยูเครนเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ในสินค้าเกษตรและเป็นผู้ส่งออกรายต้น ๆ ของโลก ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และธัญพืชชนิดต่าง ๆ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นดั่งอู่ข้าวอู่น้ำของยุโรป ดังนั้น เมื่อสงครามมีความยืดเยื้อหรือบานปลายออกไป (ซึ่งผู้เขียนได้แต่ภาวนาขอให้มีการเจรจาตกลงกันได้โดยเร็ว ยุติสงครามที่ไม่จำเป็นนี้ และไม่บานปลายไปจนถึงขั้นสงครามโลก) ย่อมทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานที่กำลังพุ่งสูงขึ้น อาจสูงอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อสูงอยู่แล้วที่กำลังส่งผลกระทบต่อหลายประเทศทั่วโลกในขณะนี้
ส่วนด้านตลาดการเงิน ก็เห็นได้ชัดว่า ตั้งแต่เกิดภาวะคุกรุ่นจนสงครามเกิดขึ้น นักลงทุนได้โยกย้ายมาถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงอย่างพันธบัตร เงินดอลลาร์สหรัฐฯ และทองคำมากขึ้นแล้ว ขณะที่ราคาสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ ทั้งหุ้นหรือแม้กระทั่งสินทรัพย์ดิจิทัลก็ปรับลดลงอย่างมาก และหากสงครามยังคงยืดเยื้อต่อไป แน่นอนว่าจะเห็นความผันผวนสูงและการปรับลดลงครั้งใหญ่ของราคาสินทรัพย์เสี่ยงเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
สำหรับประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบหลัก ๆ จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานที่สูงขึ้น รวมทั้งราคาของสินทรัพย์ในตลาดการเงินที่มีความผันผวนสูง ซึ่งไม่แตกต่างจากภาวะที่เกิดขึ้นทั่วโลก และหากสงครามยืดเยื้อบานปลาย อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของรัสเซีย โดยเฉพาะยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรรัสเซียนั้นเอง ขณะที่ไทยมีสัดส่วนการส่งออกนำเข้าสินค้าโดยตรงและการลงทุนจากรัสเซียและยูเครนค่อนข้างน้อย รวมทั้งมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวรัสเซียอยู่บ้าง
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าคิดต่อไปและสำคัญยิ่งกว่าคือ สงครามจะบานปลายเพียงใด มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่ออกมาอย่างต่อเนื่องจะออกมาในรูปแบบไหนและรายละเอียดจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการโดดเดี่ยวรัสเซียจากระบบการเงินโลก จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ประเทศไทยปรับตัวได้อย่างทันท่วงที… อย่ากะพริบตาครับ!
โดย สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Suparit Suwanik
Source: BOT Website

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"