BOT Policy Repositioning ธปท.ปรับตัว เมื่อโลกเปลี่ยน

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดงาน “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย เพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน” เพื่อเปิดตัวเอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคาร

เพื่อกำหนดนโยบายได้อย่างครอบคลุม เป็นธรรม รองรับอนาคต และเป็นประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุด
งานนี้ถือเป็นงานสำคัญมากรับปีใหม่และตรุษจีน เพราะท่านผู้ว่าการเศรษฐพุฒินำทีมแถลงไขเอง ผมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทราบแนวทางการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติในยุคท่านผู้ว่าการคนใหม่ เลยขอสรุปใจความสำคัญของงาน พร้อมทั้งชวนวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อให้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายของระบบการเงินไทยในบริบทการเงินในโลกอนาคตดังนี้ครับ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกการเงิน ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่พัฒนาและเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด แบงก์ชาติเห็นว่าการกำหนดนโยบายสำหรับอนาคตต้องประกอบด้วยหัวใจหลัก 3 ประการ ได้แก่ ดิจิทัล (digital) ยั่งยืน (sustainable) และยืดหยุ่นปรับตัวได้ง่าย (resilient)
ประการแรก ภาคการเงินไทยต้องพร้อมในการรับมือกับโลกดิจิทัลด้วยการสนับสนุนการแข่งขัน พัฒนาระบบสาธารณูปโภคดิจิทัลพื้นฐานที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง ไม่ผูกขาดและสร้างกลไกเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อพัฒนาต่อยอดบริการทางการเงินที่อำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ
ประการที่สอง นโยบายทางการเงินในอนาคตต้องมีความยั่งยืน ลดการสั่งการในลักษณะ top-down จากผู้กำกับไปสู่ผู้อยู่ภายใต้กำกับ แต่ใช้มาตรการกระตุ้นเพื่อให้เปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศ และประการสุดท้าย นโยบายทางการเงินสมัยใหม่ต้องเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ภาคการเงิน กล่าวคือ ไม่เน้นความใหญ่โตของสถาบันการเงิน (ปัญหา too big to fail) แต่เมื่อเจอวิกฤตแล้วต้องลุกและเรียนรู้ปรับตัวได้เร็ว
ด้วยหลักการทั้ง 3 แบงก์ชาติมองต่อไปว่า แนวทางการกำกับดูแลต้องพัฒนาไปเป็นความกำกับดูแลตามความเสี่ยง กิจกรรมทางการเงินหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดมีความเสี่ยงมาก ก็ควรอยู่ภายใต้มาตรการที่มีความเข้มข้นในการกำกับดูแลสูง หากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดมีความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้มาตรการกำกับดูแลที่เข้มข้นนัก นอกจากนั้น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและคล่องตัว
แบงก์ชาติเสนอดัง ๆ ว่า ต่อไปนี้จะลดการใช้มาตรการกำกับแบบลงรายละเอียด หรือ prescriptive regulation ดีหรือไม่ โดยจะหันไปใช้การวางหลักการกว้าง ๆ แล้วให้ภาคเอกชนหาวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอาเอง (principle-based regulation) นอกจากนั้น หากเป็นกิจกรรมใหม่ที่ไม่ทราบความเสี่ยงหรือมีความไม่แน่นอนสูง (uncertainty) ก็ควรมีราวกั้น (guard rail) เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะตามมาอย่างคาดไม่ถึง และแน่นอนสิ่งที่ทางแบงก์ชาติเป็นกังวลมากที่สุดในขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง “สินทรัพย์ดิจิทัล” โดยเฉพาะการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางเพื่อให้บริการชำระเงิน ซึ่งระบบการชำระเงินเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจของประเทศ
นอกจากผมจะเห็นด้วยกับ “broad message” ของงานแล้ว ยังขอชูป้ายไฟสนับสนุนแนวทางการขอความคิดเห็นและการเผยแพร่เอกสารที่เป็น “living document” หรือการสื่อสารด้วยการโยนหินถามทางในลักษณะรายงานเพื่อถามความคิดเห็น (consultation paper) ที่สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลา ไม่ตายตัว หวังว่าจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ นำไปปรับใช้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคเอกชนในการกำหนดนโยบายสำคัญ ๆ ของประเทศต่อไป
เอาล่ะ ชมมามาก ขออนุญาตมีข้อสังเกตจากมุมมองของนักกฎหมายในบางประเด็นที่นำเสนอโดยท่านผู้ว่าการและทีมงาน เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางทำงานต่อไปไม่มากก็น้อยครับ
ข้อแรก เรื่องแนวทางการกำกับดูแลกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทใหม่ที่มีความไม่แน่นอนสูง หรือประเมินความเสี่ยงไม่ได้ด้วยมาตรการตั้ง “guard rail” (ซึ่งผมคิดว่าคงหมายถึงการตั้งการ์ดป้องกัน หรือห้ามกระทำการทั้งหมด หรือบางส่วนที่ยังไม่ทราบถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น) อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกเรื่อง เพราะการตั้งการ์ดอาจไม่สามารถสกัดกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ โดยเฉพาะหากมีเทคโนโลยีทางการเงินที่สามารถช่วยหลบเลี่ยงกฎระเบียบและการกำกับดูแล
ตัวอย่างเช่น บริการชำระเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลเกิดขึ้นแล้วในโลก Metaverse โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ดังนั้น หากจะใช้มาตรการ guard rail หรือการห้ามในลักษณะนี้ควรเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น และควรใช้ควบคู่กับกลไกอื่นที่จะช่วยให้ทั้งผู้กำกับดูแลและภาคเอกชนเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ไปพร้อม ๆ กัน เช่น การออกแบบการทดลองทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม (regulatory sandbox) เป็นต้น
ข้อที่สอง การกำกับดูแลแบบวางหลักการ หรือ principle-based regulation ฟังดูดีครับ แต่จากประสบการณ์ทำวิจัยในเรื่องนี้ และจากการคุยกับผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจอาจไม่ชอบเท่าไหร่นะครับ เพราะเขาไม่รู้จะต้องทำตัวอย่างไร เหมือนเป็นนักเรียนต้องเข้าห้องสอบ แต่ครูบอกว่าไม่มีโจทย์นะ ให้ไปคิดโจทย์และตอบกันเอง แต่ถ้าคิดโจทย์และคำตอบไม่ตรงใจครู โดนทำโทษ !
ภาคธุรกิจชอบความแน่นอนครับ บอกมาเลยว่าให้เขาทำอะไร ทำอย่างไร และใช้เวลาแค่ไหน ผู้ประกอบการดี ๆ ทุกรายยินดีปฏิบัติตาม เรื่องนี้ก็เป็นโจทย์ใหญ่ด้านการกำกับดูแลเหมือนกันว่าแบงก์ชาติจะทำอย่างไรในการกำหนดมาตรการกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น และในขณะเดียวกัน ก็ให้ความแน่นอนกับภาคเอกชนเพื่อวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อนึ่ง ประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของหลักการกำกับดูแลแบบวางหลัก คือ ประเทศอังกฤษ โดยหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินในขณะนั้น (Financial Services Authority-FSA) เริ่มมีการนำแนวทางนี้มาใช้เมื่อปี 2550 (ค.ศ. 2007) ก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ไม่นาน และได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของวิกฤตการเงินโลก ในปัจจุบัน ทั้งธนาคารกลางอังกฤษและหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ก็ยังถกเถียงกันเป็นวงกว้างว่าควรจะใช้แนวทางการกำกับดูแลในรูปแบบไหนดี ดังนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ควรก้าวเดินอย่างระมัดระวังให้มากครับ
ข้อสุดท้าย จากที่ฟังท่านผู้ว่าการและทีมงาน เห็นว่าแบงก์ชาติจะมีการทำ regulatory guillotine หรือการยกเลิกกฎระเบียบด้วย ซึ่งดีมาก แต่ยังมีคำถามคาใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ ซึ่งผมยัง
ไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร
เพราะถ้าการทำ regulatory guillotine แปลว่ายกเลิกกฎเก่าเฉย ๆ โดยไม่มีการกำหนดทิศทาง หลักเกณฑ์ หรือการออกกฎใหม่มาทดแทน อาจก่อให้เกิดปัญหาได้มากกว่าปัญหาที่ต้องการแก้ อย่าลืมว่าภาคธุรกิจเขาพัฒนาเติบโตขึ้นบนโครงสร้างการกำกับดูแล (regulatory skeleton) ที่ ธปท.เป็นคนวางไว้ การไปเอาโครงสร้างพวกนี้ออกต้องทำอย่างเป็นระบบ มีหลักการ และมีการสื่อสารล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิด regulatory shock ได้
กล่าวโดยสรุป ผมเชื่อว่าน้อยคนที่จะไม่เห็นด้วยกับแนวทางที่แบงก์ชาติเสนอมาข้างต้น หากจะมีความเห็นต่างก็คงเป็นในเรื่องรายละเอียด เป็นกระพี้ไม่ใช่แก่นสารของเรื่องครับ แต่ต้องบอกตรงนี้เลยว่า งานยากงานหินยังไม่เริ่ม โจทย์ใหญ่ยักษ์คือจะถ่ายทอดหลักการหรือแนวคิดเหล่านี้ออกมาเป็นการปฏิบัติจริงที่เห็นผลได้อย่างไร งานช้างแบบนี้ไม่แล้วเสร็จในเร็ววันแน่นอน
ท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถตามอ่านเอกสารโดยละเอียดได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"