นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง กนง. ‘คงดอกเบี้ย’ สวนทางดอกเบี้ยโลกขาขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ฟันธง ถก กนง.นัดแรก ‘คงดอกเบี้ย’ จับตา 3 ปัจจัยกำหนดนโยบายการเงินในระยะถัดไป ท่ามกลางดอกเบี้ยโลกที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น
การประชุมนัดแรกของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประจำปี 2565 ภายใต้ปัจจัยรุมเร้ามากมาย ที่สร้างความหนักอกหนักใจให้คณะกรรมการ กนง.ไม่น้อย ต่อการพิจารณาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้
ทั้งจากปัญหาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โอมิครอน ที่การแพร่ระบาดยังไม่หยุดระดับการติดเชื้อระดับหมื่นคนต่อวัน รวมถึงกระแสโลกที่มีพูดถึงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในปีนี้ ภายใต้การส่งสัญญาณของ ธนาคารหลักของโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐที่พร้อมปรับดอกเบี้ยขึ้นครั้งแรก และเตรียมถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือคิวอีในเร็ววันนี้
“สมประวิณ มันประเสริฐ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย และหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า คาดการณ์ว่า กนง.น่าจะยัง “คงดอกเบี้ยนโยบาย” ไว้ที่ 0.50% เพราะการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จะยิ่งผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะภายใต้เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ล้วนสร้างผลกระทบต่อกลุ่มคนไม่เท่ากัน
กลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักๆ จากการปรับขึ้นของเงินเฟ้อคือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มนี้มีความเปราะบางอยู่แล้ว หากมีการขึ้นดอกเบี้ยไปอีก กลุ่มนี้จะยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้น ให้มีภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภายใต้การเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ แม้จะเป็นข่าวดี ที่สะท้อนให้เห็นเทรนด์ของโลก ที่กำลัง “ฟื้นตัว”แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่ดีกับไทยมากนัก เพราะประเทศไทยปัจจุบัน มีการฟื้นตัวช้า ดังนั้นหากต่างประเทศมีการขึ้นดอกเบี้ย ท้ายที่สุดประเทศไทยอาจถูกกระทบได้
วิจัยกรุงศรีฯ ศึกษาพบว่า หากสหรัฐมีการขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 2566 อย่างต่อเนื่อง ไปสู่ 2.5% ต่อเนื่องใน 5 ไตรมาสหลังจากนี้ จะฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีไทยลง 0.4% ดังนั้นเราอาจถูกกระทบได้จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่จะห่างกันมากระหว่างไทยและสหรัฐ หรือธนาคารกลางอื่นๆ
“ทิม ลีฬหะพันธุ์” นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) ประเมินว่า ครั้งนี้ กนง.น่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% และคาดคงต่อเนื่องไปถึงกลางปีหน้า
แต่อย่างไรก็ตาม มี 3 ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ที่จะมีผลต่อทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าคือ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเอื้อ หรือเป็นแรงกดดันให้กนง.สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้แล้ววันนี้ ดังนั้นอยากฟังมุมมองของ กนง.ครั้งนี้ ว่ามองทิศทางเงินเฟ้ออย่างไร
ถัดมาคือ ภาพรวมของหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น ภายใต้ดอกเบี้ยต่ำมานาน ส่งผลให้คนเป็นหนี้เยอะ กู้เงินเยอะเหล่านี้สร้างความกังวลหรือไม่ รวมถึงภายใต้ดอกเบี้ยต่ำ ยังเป็นการหนุนให้เกิดการออกไปแสวงหาผลตอบแทนสูงขึ้นมาก (search for yield) ที่สูงขึ้น ดังนั้นเหล่านี้อาจสร้างความกังวลในการดำเนินนโยบายและการพิจารณาทิศทางดอกเบี้ยได้
สุดท้ายคือ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย และสหรัฐ ที่มีแนวโน้มห่างกันมากขึ้น เหล่านี้มีผล และสร้างความกังวลต่อ กนง. หรือมีอิมแพคต่อการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงินช่วงที่เหลือของปีนี้หรือไม่
“มี 3 ปัจจัยที่อยากฟังท่าทีของ กนง.ว่ามองอย่างไร เพื่อให้เรามีการมองภาพการดำเนินนโยบายการเงินไปข้างหน้า ทั้งแรงกดดันเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด มีผลกับดอกเบี้ยไทยหรือไม่ รวมถึงหนี้ครัวเรือนสร้างความกังวลให้ ธปท.หรือไม่ ซึ่งทำให้ กนง.ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่เราประเมินไว้หรือไม่”
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินการประชุม กนง.ครั้งนี้ว่า กนง.น่าจะมีการคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป แม้มองว่าเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโอมิครอนจำกัดและน้อยกว่าผลกระทบจากเดลตา แต่เศรษฐกิจไทยยังเต็มไปด้วยความ “เปราะบาง” ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพัก กว่าจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนโควิด-19 ได้
ดังนั้นมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และการคลังที่ต่อเนื่องจึงยังมีความจำเป็นที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทย ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง จาก “เงินเฟ้อ”ที่เร่งตัวขึ้นสูงต่อเนื่อง
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไปยังกำลังซื้อของผู้บริโภค และอาจเป็นความเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ หลังจาก ราคาสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะราคาอาหารสด และพลังงานพุ่งสูงขึ้นอย่างมากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะเนื้อหมูเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ในขณะที่ ราคาอาหารสดอื่นๆ เช่น ไก่ ไข่ไก่ และกุ้งก็ปรับสูงขึ้นราว 20% เหล่านี้ กระทบต่อไปยังกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น คาดว่า กนง. คงจะยังไม่พิจารณาเลือกใช้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกันเงินเฟ้อตามทิศทางธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก จากเศรษฐกิจไทยยังคงไม่มีความแข็งแกร่งเพียงพอ
นอกจากนี้ กนง.คงจะมีมุมมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงได้ในระยะข้างหน้า หากปัญหาในฝั่งอุปทานนั้นคลี่คลายลง ซึ่งแม้ว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงขึ้น แต่ กนง. น่าจะยังคงคาดการณ์ว่าระดับเงินเฟ้อของไทยในปีนี้น่าจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง. ที่ 1-3%
เกียรตินาคินภัทร ออกรายงาน “จับตาเงินเฟ้อโลกและไทย ความเสี่ยงใหญ่เศรษฐกิจปี 2022” ว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดเงินเฟ้อทั้งปีจะขึ้นจาก 2% เป็น 2.3% ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้นแตะระดับ 3% ได้ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงไตรมาส 1 จะปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับ 3.5% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 11 ปี
ในด้านการดำเนินนโยบายการเงิน มองว่าเผชิญความท้าทายหลายด้าน จากวัฏจักรเศรษฐกิจไทยแตกต่างจากวัฏจักรเศรษฐกิจโลกทำให้การตัดสินใจปรับดอกเบี้ยนโยบายต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการดูแลการเติบโตของเศรษฐกิจและการดูแลเงินเฟ้อ
โดยมีความท้าทายใน 3 มิติคือ เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว อัตราเงินเฟ้อโลกสูงขึ้น และการขึ้นดอกเบี้ยของต่างประเทศที่ส่งผ่านมาที่ไทย และจะเป็นแรงกดดันให้ต้นทุนการกู้ยืมสำหรับธุรกิจในไทยสูงขึ้นตามส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น
ในขณะที่ ธปท.ยังปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไม่ได้ อาจทำให้เงินทุนมีโอกาสไหลออกมากขึ้น ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าและกระทบเงินเฟ้อให้สูงขึ้นอีกได้
โดย KKP Research ประเมินว่า ธปท. ยังคงให้น้ำหนักกับปัจจัยด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากที่สุด และยังเชื่อว่าเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยคาดการณ์ว่า ธปท.อาจสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ 1 ครั้งในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ หากนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถกลับเข้ามาได้ตามคาด
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"