แม้ในปีที่โลกแย่สุดๆ ทำไมคนรวยยังรวยขึ้น

ตั้งแต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในปลายปี 2019 จนกระทั่งถึงตอนนี้ หากไปดูรายได้มหาเศรษฐีของโลกหลายคน จะพบว่าไม่ใช่แค่ไม่จนเท่านั้น แต่พวกเขารวยขึ้นแบบรวยมากๆ เสียด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจฟ เบซอส เจ้าของ Amazon ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านล้านบาท

อีลอน มัสก์ เจ้าของ Tesla ก็รวยเพิ่มขึ้น 5.6 แสนล้านบาท) หรือเศรษฐีพันล้านหน้าใหม่อย่างอีริค หยวน ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Zoom ก็ได้เงินเพิ่มมาอีก 82,000 ล้านบาท หลายคนคงคิดเหมือนผมว่า วิกฤตแบบนี้เป็นโอกาสของบรรดาบริษัทเทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ก็คงมีส่วนจริงบ้างครับ เมื่อไปดูรายได้ของมหาเศรษฐีอย่างครอบครัววอลตัน เจ้าของวอลมาร์ต ครอบครัวนี้ก็รวยขึ้นอย่างน้อยๆ 9,000 ล้านบาท
Business Insider เอาตัวเลขรายได้ของเศรษฐีพันล้านในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอยู่ราว 1% ของจำนวนประชากรของสหรัฐฯ มารวมกัน พบว่าช่วงการระบาดของโควิด-19 สองปีที่ผ่านมา มหาเศรษฐีเหล่านี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกัน 20 ล้านล้านบาท เทียบกับประเทศไทยปี 2565 มีงบประมาณแผ่นดิน 3 ล้านล้านบาท ห่างกันเกือบ 7 เท่าตัว
บรรยากาศเป็นคนละม้วนกับคนอีก 99% ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องเจอทั้งอัตราการว่างงานสูงกว่า 23% หุ้นร่วงลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนตั้งแต่ปี 2008 รวมถึงบางคนที่กว่าจะเข้าถึงวัคซีนได้ ก็เรียกว่าอยู่ไม่ทันได้ฉีดก็มีมากมาย
เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นนะครับ ในประเทศไทย แม้ดูเหมือนมหาเศรษฐีบ้านเราหลายคนก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดในครั้งนี้ แต่ก็มีกลุ่มคนที่รวยขึ้นเช่นกัน สำนักข่าวหลายสำนักบอกตรงกันว่ามีอย่างน้อย 8 ราย ที่รวยขึ้น ทั้งในกลุ่มธุรกิจพลังงาน อาหาร ค้าปลีก
ปัจจัยหลักที่ทำให้มหาเศรษฐีสามารถรวยขึ้นไปได้ มีหลายๆ ปัจจัยรวมกัน ทั้งกฎหมายที่เอื้อให้คนรวยเหล่านี้เสียน้อยกว่าคนทั่วไปอย่างเรา (เช่น ภาษีกำไรจากการขายหุ้นหรือ Capital Gain Tax ที่เก็บต่ำมากเมื่อเทียบกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) หรือความสามารถในการยักย้ายถ่ายเทรายได้ รวมถึงการเข้าถึงทรัพยากรหลายอย่งที่มีมากกว่า
ข้อมูลจากสถาบันนโยบายภาษีและเศรษฐกิจ (Institute on Taxation and Economic Policy) ในกรุงวอชิงตันบอกว่า ในปีที่ผ่านมาบริษัทสัญชาติอเมริกันที่มีขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศอย่างน้อย 55 แห่ง ไม่ได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่รัฐบาลกลางจัดเก็บสำหรับบริษัทที่รายได้ที่สูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาท ซึ่งในความเป็นจริงสหรัฐอเมริกาต้องมีรายได้จากการเก็บภาษีสำหรับกลุ่มนี้ราว 2.79 แสนล้าน แต่เนื่องจากบริษัททั้งหลายใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายด้านธุรกิจต่างๆ ทำให้รัฐสามารถจัดเก็บได้จริงเพียง 1.15 แสนล้านบาท เรียกว่าหายไปกว่าครึ่ง
นั่นเป็นตัวอย่างเดียวนะครับ พูดง่ายๆ ก็คือ คนรวยในสหรัฐอเมริกาเสียภาษีน้อยกว่าชนชั้นกลางเพราะทรัพย์สินของคนรวยส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ไม่ใช่รายได้โดยตรง สามารถย้ายถ่ายเทได้หรือเอาไปลงทุนหรือบริจาค เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางภาษี คือเรียกว่ามีวิธีในการหลีกเลี่ยงภาษีมากกว่าซื้อประกัน ทำบุญหรือมีลูกอย่างเราๆ
หากมองย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาด เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในช่วงขาลงมาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงซัพไพร์ม มาตรการ QE ของสหรัฐที่ปั๊มเงินเข้าสู่ระบบหลายแสนล้านดอลลาร์อาจพูดได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความร่ำรวยแบบก้าวกระโดดของมหาเศรษฐี ว่ากันว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นสิบปีทองของบรรดามาหาเศรษฐีทั้งหลาย เพราะเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบส่งผลดีกับภาคธุรกิจ (หรือพูดตรงๆ ก็คือดีกับคนรวยมากกว่าคนจน) เงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น รัฐสนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน การขยายตัวของธุรกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านี้เอาจริงๆ คนที่ได้ประโยน์มากที่สุดคือเจ้าของธุรกิจไม่ใช่พนักงาน
เมื่อครั้งที่เกิดพายุคาริน่าถล่มรัฐทางตอนใต้ของหรัฐอเมริกาในปี 2005 ขณะที่สื่อรายงานถึงความเสียหายมหาศาล แต่มหาเศรษฐีเจ้าพ่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอย่าง โจเซฟ คานิซาโร่ กลับบอกว่านี่เป็น “โอกาสอันยิ่งใหญ่” ของเขา
ในปี 2010 ที่เฮติเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เบื้องหลังการเข้าไปช่วยฟื้นฟูของสหรัฐฯ พบว่า กว่า 70% ของบริษัทที่เข้าไปฟื้นฟู (โดยใช้เงินบริจาค) ถูกใช้ไปกับการจ้างบริษัทในสหรัฐฯ ไปปรับภูมิทัศน์และสร้างที่อยู่อาศัย
ปีนี้ 2022 จริงอยู่ว่าการประกาศพัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วประเทศของโจ ไบเดน มูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 40 ล้านล้านบาท) และโครงการซ่อมแซมสะพานกว่าพันแห่งทั่วสหรัฐอเมริกาด้วยเงินอีก 40,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.3 ล้านล้านบาท) คงเป็นแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ต้องการสร้างงานให้คนสหรัฐฯ แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากงานมูลค่ามหาศาลคือ นายจ้างมากกว่าลูกจ้าง เพราะหากมองกลับไปถึงโครงสร้างภาษี บริษัทเหล่านี้ก็เสียภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดาอยู่แล้ว ซึ่งผลกำไรส่วนหนึ่งย่อมอยู่กับผู้เป็นเจ้าของ
ยิ่งไปกว่านั้น คนรวยเหล่านี้ล้วนมีสายสัมพันธ์ต่อถึงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ทางธุรกิจก็ทางมิตรสหาย ‘คอนเนกชัน’ เหล่านี้ก็สร้างเครือข่ายความมั่งคั่งแบบไม่รู้จบ ทำให้พวกเขาเข้าถึงทรัพยากรได้ในจังหวะและเวลาที่เหมาะสม หรืออาจเลยไปถึงการเป็นผู้กำหนดจังหวะเวลานั้นเองก็เป็นได้
เปรียบเทียบให้เห็นภาพ ลองดูจากสายสัมพันธ์ระหว่างวอร์เรน บัฟเฟ็ต และเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ บริษัทบริหารสินทรัยพ์และกองทุน
เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ ขึ้นชื่อเรื่องของความฉลาดในการลงทุน ทุกครั้งที่เบิร์กเชียร์ฯ ขยับตัว มักส่งผลต่อแรงกระเพื่อมของตัวท็อปรายอื่นๆ ทั้งไปซื้อหุ้นตาม ทั้งมาลงทุนเพิ่ม
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2009 เบิร์กเชียร์ฯ ตัดสินใจซื้อหุ้นของบริษัทบีวายดี (BYD) ซึ่งขณะนั้นบีวายดีกำลังเริ่มเข้าสู่ตลาดรถไฟฟ้าหลังจากที่ทำแบตเตอร์รีสมาร์ตโฟนและรถยกไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมมานาน เบิร์กเชียร์ฯ ตัดสินใจซื้อหุ้น 225 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 8 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 33 บาท) ซึ่งถือว่าถูกมาก ไม่นานนักหุ้นกลุ่มบริษัทรถยนต์ทะยานขึ้น 5 เท่าเพราะได้รับปัจจัยหนุนจากการลงทุนของบัฟเฟต และจุดกระแสเรื่องรถไฟฟ้าให้กลับมาอยู่ในความสนใจ และยังทำให้อีลอน มัสก์ ตัดสินใจนำเทสลาเข้าตลาดหลักทรัยพ์ในปี 2010 ถือเป็นบริษัทที่สองในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ฟอร์ดเข้าตลาดฯ เมื่อปี 1956 ไม่มากก็น้อย
การเข้าซื้อหุ้นแอปเปิลของบัฟเฟตส่วนหนึ่งก็สร้างแรงส่งอีกครั้งเช่นกัน บัฟเฟตซื้อหุ้นแอปเปิลเมื่อตอนราคาลงมาไม่ถึง 100 เหรียญ แต่ตอนนี้หุ้นขึ้นไป 164 ดอลลาร์ และในวันที่ผมนั่งเขียน เบิร์กเชียร์ฯ ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสามของแอปเปิล
คิดดูว่าเบิร์กเชียร์ฯ และคนรวยทั้งหลายทำกำไรจากการเข้าถึง ‘จังหวะ’ ไปแล้วเท่าไหร่ ซึ่งปรากฎการณ์แบบบัฟเฟตนี้ คนรวยเท่านั้นถึงจะทำได้ เพราะรวยในที่นี้ไม่ใช่แค่เงิน แต่หมายถึงมีเวลา มีเครือข่าย มีทุกองคาพยพยที่จะเข้าถึงปัจจัยส่งเสริมความมั่งคั่ง ยิ่งร่ำรวยมาก ก็ยิ่งมีโอกาสขยายเครือข่ายเหล่านี้ออกไปมากขึ้น และอาจรวมถึงการเข้าถึงนโยบายของรัฐอีกด้วย เพราะรัฐส่วนมากมองว่ามหาเศรษฐีเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความมั่งคั่งของชาติ เช่นบทบาทของกลุ่มแชโบลในเกาหลีใต้ หรือกลุ่ม BAT (เป่ยตู อาลีบาบาและเทนเซนต์) ของจีน แน่นอนว่ากลุ่มมหาเศรษฐีเกี่ยวข้องกับประเทศในหลายมิติ ตั้งแต่การเป็นผู้สนุบสนุนพรรคการเมือง ไปจนถึงทำงานร่วมกับรัฐบาลกลางในการแชร์ข้อมูลประชาชนหรือใช้เงินภาษีของพวกเรา
มองความเชื่อมโยงแบบนี้ คงเห็นภาพว่าความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดจากสายสัมพันธ์ของความรวยกับอำนาจยิ่งทำให้ชนชั้นกลางหรือชนชั้นล่างอย่างเราเข้าถึงทรัพยากรยากขึ้นเรื่อยๆ พูดง่ายๆ คือการเขยิบสถานภาพของมนุษย์เราในอนาคตทำได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับสถานการณ์ระดับประเทศการเขยิบชั้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือรายได้น้อยไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยากเช่นกัน เพราะประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ย่อมไม่ปล่อยให้ใครมาแย่งเค้ก อย่างในกรณีที่สหรัฐอเมริกา พยายามเล่นเกมสงครามเย็นกับจีนอยู่ตอนนี้
ฉะนั้นการพูดถึงเรื่องของสังคมที่ ‘เท่าเทียม’ กันจริงๆ ยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลความเป็นจริง แม้ว่าในหลายประเทศพยายามสร้างเงื่อนไขเพื่อป้องกันเรื่องการผูกขาดทางธุรกิจ การรักษาสิทธิของพลเมืองหรือความพยายามในการลดช่องว่างทางสังคมลง แต่ในความเป็นจริง การจะหาทางดึงเงินในกระเป๋าคนรวยของรัฐ แทบไม่ได้ผลสักเท่าไหร่
ยกตัวอย่างเช่นกรณีของเฟสบุ๊กที่ทำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานรั่วไหล จากกรณีบริษัทวิจัยข้อมูลแคมบริดจ์ อนาไลติกา (Cambridge Analytica) ซึ่งกระทบผู้ใช้งานกว่า 89 ล้านราย ทำให้เฟซบุ๊กต้องจ่ายค่าปรับราว 150,000 ล้านบาท ถือเป็นการจ่ายค่าปรับที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก
ฟังดูน่าตกใจ แต่หากไปดูรายได้ของเฟซบุ๊กก็จะตกใจกว่า
ปีล่าสุด รายได้ของเฟซบุ๊กอยู่ที่ราว 2.8 ล้านล้านบาท (อีกนิดเดียวจะเท่างบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย) หมายถึงว่าเฟซบุ๊กสามารถทำเงินได้เฉลี่ยวันละ 7,600 ล้านบาท ค่าปรับจำนวนนี้เฟซบุ๊กใช้เวลา 19 วันในการหาเงินมาใช้
และสำหรับมาร์ก ซักเคอเบิร์กเองแม้จะเจอวิกฤตจากหลายทาง แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา เขามียังรายได้เพิ่มขึ้นราว 28,000 ล้านดอลลาร์ (หรือราว 924,000 ล้าบาท) เรียกว่าเป็นรองก็แค่เจฟ เบซอสเท่านั้น
ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมปัจจุบันเป็นปัญหาสังคมที่ท้าทายผู้บริหารประเทศทั่วโลก มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถสร้างรัฐสวัสดิการที่เฉลี่ยความร่ำรวยให้กับประชาชนของตัวเองได้จริงๆ (​ผมอยากเรียกว่าคุณภาพชีวิตมากกว่า พราะท้ายสุด ความรวยก็ไม่ได้หมายถึงว่าคุณจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี)
สิ่งที่น่ากลัวคือ นอกเหนือจากประเทศในยุโรปเหนือและจีนที่เน้นการสร้างรัฐสวัสดิการ โมเดลการสร้างความมั่งคั่งส่วนมากล้วนแล้วแต่ได้อิทธิพลจากสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสำคัญกับการบริโภค การสร้างความมั่งคั่งผ่านการลงทุนในตลาดการเงิน และเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเข้มข้น
นั่นยิ่งชวนตั้งคำถามว่าความเหลื่อมล้ำในสังคมจะลดลงได้จริงไหม หากเราไม่เปลี่ยนโมเดลในการพัฒนาความเจริญ ช่องว่างของรายได้จะลดลงจริงหรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะแก้ได้จริงๆ หรือ แม้หลายประเทศที่เจริญแล้วจะบอกว่าพวกเขากำลังหาทางเก็บภาษีคนรวยมากขึ้น หาทางเกลี่ยทรัพยากร หาทางลดการผูกขาด ฯลฯ แต่ความจริงก็คือความจริง เรายังมีเกษตรกรที่จน และคนอีกนับล้านยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา
ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นนี้ก็ไม่แตกต่างจากภาวะโลกร้อน อาจยิ่งหนักกว่าด้วยซ้ำตรงที่ ไม่มีประเทศร่ำรวยหรือคนรวยคนไหนที่พูดถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง นอกเหนือจากการแบ่งเงินนิดๆ หน่อยๆ มาใช้ในการแบรนด์ดิงบริษัทและตัวเองเพื่อเพิ่มความรวยของตัวเองมากขึ้นไปอีก
Source: 101 World

 

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"