เมื่อสหรัฐทอดทิ้งเบี้ยอัฟกานิสถาน เพื่อวางหมากอาเซียนรุกจีน

การเดินทางมายังอาเซียนแบบรัวๆ ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐมีนัยอะไรหรือไม่ และอาเซียนจะมุ่งไปทางไหน? มี 2 เรื่องที่ไม่น่าจะเกี่ยวกันแต่ก็เกี่ยวกัน 1. สหรัฐถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน 2. สหรัฐเริ่มหันมาจีบอาเซียนอีกครั้ง

เรื่องแรกอย่างที่รู้กันว่าสหรัฐและพันธมิตรถอนกำลงเกือบจะเหี้ยนออกจากอัฟกานิสถาน สบโอกาสที่พวกตอลิบานรุกคืบยึดพื้นที่ไปได้มาก แม้สหรัฐจะเหลือทหารเอาไว้ช่วยยันเล็กน้อยแต่มันไม่น่าจะช่วยอะไรได้มากนัก ตอลิบานเปืดฉากรุกเมืองใหญ่ททั่วประเทศ
ประธานาธิบดีอัชราฟ ฆานีกล่าวโทษสถานการณ์ความมั่นคงที่เสื่อมถอยอย่างรวดเร็วของอัฟกานิสถาน ว่าเป็นการตัดสินใจที่ “กะทันหัน” ของสหรัฐที่จะถอนทหารออกไป แต่ก็ยังกัดฟันบอกว่ารัฐบาลของเขามีแผนที่ทีจะคุมสถนการณ์ให้ได้ภายใน 6 เดือน
เรื่องของอัฟกานิสถานเหมือนจะไกลตัว แต่จริงแล้วถ้ามองเกมแบบทั้งกระดานจะรู้ว่ามันใกล้ตัวเราเอามากๆ เพียงแค่อัฟกานิสถานเป็นหมากไกลตาแต่หากเดินผิดจะกระทบมายังเอเชียทั้งยวง
นี่เองที่ทำให้มันเกี่ยวกับข้อที่ 2 คือ สหรัฐเริ่มหันมาจีบอาเซียนอีกครั้งและลดความสำคัญของอัฟกานิสถานแบบไม่แยแสเอาเลย
อัฟกสนิสถานหมดความสำคัญสำหรับสหรัฐแล้ว เพราะโอซามา บิน ลาเดนก็ตายไปตั้งสิบกว่าปีแล้ว ทั้งอัลกออิดะฮ์และกลุ่มรัฐอิสลามก๋อ่อนแอลงมากทั้งยังไปเคลื่อนไหวที่แถบซาเฮลมากกว่า ไม่มีเหตุผลอะไรอีกที่สหรัฐจะรั้งตัวเองไว้ที่นี่ แม้พวกตอลิบานจะกุมอำนาจอีกครั้ง แต่ก็ไม่ใช่ภัยร้านยแรงเฉพาะหน้าอีก และยิ่งไม่ใช่เรื่องของสหรัฐอีกต่อไป
หากมองเป็นกระดานหมากรุก ตอนนี้สหรัฐยังทิ้งหมากอัฟกานิสถานให้จีนละล้าละลัง จีนแสดงท่าทีชัดเจนโดยเรียกร้องให้ตอลิบานตัดขาดความสัมพันธ์กับ "กลุ่มก่อการร้าย" ทั้งหมด ซึ่งหมายถึงขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ซินเจียง (แม้ว่าจีนจะหารือกับตอลิบานบ่อยครั้ง แต่กลุ่มนี้ก็ยังไม่น่าไว้ใจสำหรับจีนที่กังวลเรื่องอิทธิพลของกลุ่มหัวรุนแรงที่ซินเจียง) ในเวลานี้สหรัฐหันไปเดินหมากที่รุกฆาตกับจีนได้ง่ายกว่า นั่นคืออาเซียน
ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชเปิดฉากสงครามต่อต้านการก่อการร้าย สงครามอัฟกานิสถาน และสงครามอิรัก พลังทั้งหมดของสหรัฐถูกโยกไปยังพื้นที่เหล่านี้ สหรัฐไม่ได้มองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ แม้จีนเริ่มปีกกล้าขาแข็งสหรัฐก็ยังไม่เพ่งเล็งแบบเอาเป็นเอาตาย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐถึงเริ่มเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่
อาเซียนนั้นถูกสหรัฐมองข้ามไปหลายปี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐไม่ได้เข้าร่วมการประชุมของอาเซียนเสมอไป และบางครั้งก็ส่งเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของภูมิภาคนี้ด้วย
ถึงขนาดขาดการประชุมสำคัญๆ รวมถึงการหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐอเมริกาก็ยังทิ้งช่วงไปหลายปี
จนกระทั่งไบเดนเข้ามา การหารือยุทธศาสตร์ไทย–สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 7 ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง (เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564) แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐก็ยังรีบเร่งหารือกับอาเซียนในเวลาไล่เลี่ยกันคือวันที่ 25 พฤษภาคม นับป็นฉากใหม่ของการประบยุทธศาสตร์สหรัฐที่หันเข้าอาเซียน
แต่การประชุมอนไลน์ระหว่างบลิงเคนครั้งแรกในตอนนั้นเปิดฉากไม่สวยนัก เพราะประชุมผ่านระบบออนไลน์โดยที่บลิงเคนรีบเดินทางยังเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอลเพื่อไกล่เกลี่ยเรื่องความรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์
ปรากฏว่าสัญญาณการประชุมขาดหาย ฝ่ายผู้แทนของอาเซียนประเทศต่างๆ ต้องรอนานถึง 45 นาที จนบางคนหัวเสีย นั่นคือ เร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ที่ไม่พอใจมากจนไม่ยอมเปิดวิดีโอฟีดระหว่างการประชุม
ความขัดข้องนั้นทำให้เกิดคำถามว่าสหรัฐจริงจังกับอาเซียนแค่ไหนหรือเห็นเป็นแค่เบี้ยหมากตัวเล็กๆ ในเกมการเมืองโลก? แม้เจ้าหน้าที่สหรัฐจะยืนยันว่าไม่ได้ตั้งใจเมินอาเซียน แต่สิ่งทีเกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าอาเซียนเป็นแค่ตัวสำรอง เพราะบลิงเคนหารือในเวลาว่างระหวางไปทำงานที่ใหญ่กว่าที่ตะวันออกกลาง และยังไม่เตรียมระบบให้เรียบร้อยเหมือนกับว่าถ้ามระบบล่มก็ได้หนักหนาสาหัสอะไร
ถึงสหรัฐจะไม่ได้ตั้งใจแต่เปิดตัวกันแบบนี้ยิ่งทำให้อาเซียนคิดว่าสหรัฐคบไม่ได้
และบางประเทศยิ่งอาจเชื่อว่าสหรัฐต้องการอาเซียนเพื่อคานอำนาจจีน มากกว่าอาเซียนต้องการสหรัฐมาคานอำนาจจีน ดังนั้นหากสหรัฐต้องการอาเซียนจริงๆ ต้องแสดงออกอย่างจริงใจกว่านี้
สหรัฐเริ่มแก้ตัวด้วยการรีบส่งวัคซีน mRNA มาให้หลายประเทศในอาเวียนรวมถึงไทย และในสัปดาห์นี้ แอนโทนีบลิงเคนจะแก้ตัวอีกครั้ง ด้วยการนั่งประชุมออนไลน์กับประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพื่อที่จะย้ำว่าภูมิภาคนี้มีความสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับสหรัฐ
นี่เป็นการเปลี่ยนท่าทีที่สำคัญมาก อย่างแรก มันเป็นการแก้ตัวสำหรับบลิงเคนหลังจากหักหน้าอาเซียนไป คราวนี้เขาเริ่มต้นแก้ไขกับกลุ่มที่สหรัฐคุ้นเคยมากกว่าก่อน นั่นคือภูมิภาคเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ซึ่งสหรัฐเข้ามาพัวพันด้วยมากที่สุดในยุคสงครามเย็น
ตอนนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นยุคสงครามเย็นใหม่แล้ว และสหรัฐยิ่งต้องการแผ่นดินใหญ่อาเซียนเหมือนเมื่อ 40 - 50 ปีที่แล้วอีกครั้ง เป้าหมายคือใช้พื้นที่นี่ "ทะลวงฟันจีน"
นึ่งในหัวใจของการรุกคืบคือ "แม่น้ำโขง" ซึ่งเป็นประเด็นบาดหมางระหว่างประเทศท้ายน้ำกับประเทศต้นน้ำ (จีน) มาโดยตลอด แต่กว่าที่สหรัฐจะมองเห็นรอยแผลของจีนในจุดนี้ก็เมื่อปีที่แล้ว โดยจัดตั้งหน่วยงานสังเกตการณ์เขื่อนแม่น้ำโขงเพื่อช่วยประเทศท้ายน้ำรับทราบว่าจีนกำลังทำอะไรกับต้นน้ำ
เป็นการแทรกตัวเข้ามาระหว่างความบาดหมางเพื่อใช้ประโยชน์นั่นเอง คล้ายๆ กับที่สหรัฐแข็งกร้าวกับจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้โดยแทรกเข้ามาระหว่างความขัดแย้งของภูมิภาคเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรที่แย่งชิงน่านน้ำและเกาะต่างๆ กับจีน
ดูเหมือนว่าสหรัฐกำลังใช้ "น้ำ" คือน้ำโขงและน้ำทะเลจีนใต้เพื่อสยบ "มังกรไฟ" อย่างจีนซะแล้ว
สหรัฐจึงรุกคืบเข้าอาเซียนทุกทาง แม้ว่าบลิงเคนจะเพิ่มกลับมาแก้ตัวในสัปดาห์นี้ แต่ที่จริงแล้ว มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐที่ไม่พลาดอย่างบลิงเคน แวะเข้ามาอาเซียนอย่างต่อเนื่องจนผิดปกติมากๆ หากจะพิจารณาว่าก่อนหน้านี้สหรัฐไม่ได้แยแสอาเซียนขนาดนี้เลย
เริ่มจากเวนดี เชอร์แมน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเยือนอินโดนีเซีย กัมพูชา และไทยในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ไปเวียดนามและฟิลิปปินส์ในสัปดาห์นี้ และรองประธานาธิบดี กมาลา แฮร์ริส จะไปเยือนสิงคโปร์และเวียดนาม
ที่น่าสนใจคือระดับวีไอพีเหล่านี้มาเยือนด้วยตัวเอง แม้แต่กมลา แฮร์ริสก็ยังมาด้วยตัวเอง แต่กรณีของบลิงเคนยังเป็นการประชุมออนไลน์ เราจะเป็นได้ว่าน้ำหนักไปอยู่ที่ประเทศอาเศียนแถบภาคพื้นที่สมุทร ส่วนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่แม้จะสำคัญและมีช่องโหว่ของจีนที่แม่น้ำโขง แต่จุดนั้นเป็นแค่จุดอ่อนไม่ใช่จุดตายเหมือนภาคพื้นที่สมุทรที่ทะเลาะกันที่น่านน้ำทะเลจีนใต้
โปรดสังเกตว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่วีไอพีจากรัฐบาลสหรัฐไปเยือนบ่อยเป็นพิเศษ เพราะแข็งกร้าวกับจีนเป็นพิเศษ แต่ในระยะหลังรัฐบาลเวียดนามเริ่มคุยกับจีนดีขึ้นและร่วมมือกันมากขึ้น ไม่แน่ว่าสหรัฐอาจต้องเร่งแยกเวียดนามออกจากจีนก่อนที่จะหันมาญาติดีกัน
นี่เอง กมลา แฮร์ริสถึงต้องมาทัวร์เวียดนามด้วยตัวเองและยังสร้างประวัติศาสตร์เป็นรองประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐที่มาเยือนเวียดนาม
ถามว่าสิงคโปร์สำคัญอย่างไร? สหรัฐต้องการใช้สิงคโปร์เป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกในภูมิภาคเพื่อที่จะต่อกรกับจีน แต่ความปรารถนานี้ไม่ง่ายเลย แม้ว่าสิงคโปร์จะสนิทแนบแน่นกับสหรัฐในด้านการทหาร (คล้ายๆ กับไทย) แต่ตอนนี้สิงคโปร์ยังต้องถ่วงดุลอยางละเอียดถี่ถ้วนระหว่างสหรัฐกับจีน (คล้ายกับไทยอีกเช่นกัน)
สิงคโปร์มีข้อตกลงกับสหรัฐตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งอนุญาตให้สหรัฐใช้โครงสร้างทางการทหารของสิงคโปร์ได้และสัญญานี้เพิ่งต่ออายุไปเมื่อปี 2019
มีรายงานจาก Today สื่อของสิงคโปร์ว่าภายใต้ข้อตกลงนี้ สหรัฐสามารถใช้ฐานทัพเซมบาวังเพื่อให้การสนับสนุนด้านลอจิสติกส์สำหรับการขนส่งเครื่องบินและเรือของกองทัพสหรัฐ มีการเพิ่ม
บทบัญญัติอื่นในข้อตกลงในปี 1998 ซึ่งอนุญาตให้เรือทหารสหรัฐมาเทียบท่าที่ฐานทัพเรือชางงีได้ด้วย
ทำไมสิงคโปร์ที่พยายามถ่วงดุลระหว่างสหรัฐกับจีนถึงยอมให้สหรัฐใช้ฐานทัพได้? คำตอบอยู่ที่การถ่วงดุลนั่นเอง ดร.โมฮัมหมัด มาลิกิ ออสมัน รัฐมนตรีอาวุโสกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ผู้ต่อสัญญาด้านการทหารกับสหรัฐบอกเองว่าสหรัฐคือกำลังหลังในการสร้างดุลยภาพในภูมิภาค
นี่เป็นสิ่งที่อาเซียนหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะพยายามอยู่อย่างสงบๆ แต่พราะพัวพันกับความขัดแย้งเรื่อง "น้ำ" ในจุดต่างๆ ทำให้ต้องยืมดาบของมหาอำนาจอื่นเข้ามาช่วยคานจีน ขระเดียวกันโพยายมฒโอ้โลมจีนในเรื่องการค้ากับความช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งจีนก็ยังพอใจในจุดนี้
แต่มันเป็นเกมที่อันตรายในระยะยาวที่หากพลาดพลั้งไปอาจเจ็บตัวเอาง่ายๆ ซึ่งสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์กำลังเล่นเกมนี้อยู่ โดยที่มาเลเซียยังสงวนท่าทีอย่างระแวดระวังที่สุด
ที่น่าสนใจก็คือการเยือนสิงคโปร์ของกมลา แฮร์ริสครั้งนี้เยือนสิงคโปร์ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงด้วยซ้ำ จะพบปะกับผู้นำสิงคโปร์และหารือถึงวิธีการกระชับความร่วมมือทวิภาคีในหลายด้าน รวมถึงการป้องกัน/ความมั่นคง ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และการค้าดิจิทัล
แม้สิงคโปร์จะเล่มเกมอันตรายเหมือนเพื่อนบ้านและถึงกับเชิญแฮร์ริสมา แต่มันไม่ใช่การเลือกข้าง สิงคโปร์พยายามเป็นกลางอย่างที่สุด สิ่งที่ดูหมือนจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งแท้จริงก็คือการถ่วงดุลอย่างรอบคอบเท่านั้นและครั้งนี้ก็เช่นกันสิงคโปร์จะไม่ยอมเลือกฝักฝ่ายอย่างชัดเจน
อาเซียนรวมถึงไทยก็ควรทำแบบเดียวกัน
โดย กรกิจ ดิษฐาน
Source: Posttoday

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"