ธปท.ประเมินล็อกดาวน์ล่าสุดทำกิจกรรมศก.หายไป 0.8-2.0% ของ GDP

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Media Briefing เรื่อง "ส่องเศรษฐกิจไทยในวิกฤตโควิด"ว่า จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการออกมาควบคุมการแพร่ระบาดนั้น

ได้ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยธปท.ประเมินว่าจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในปี 64 นี้ หายไป 0.8-2.0% ของจีดีพี
อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวคงไม่สามารถนำไปหักออกจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้ได้ในทันที เนื่องจากต้องรอติดตามปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะเข้ามาเป็นตัวสนับสนุนจีดีพีในปีนี้ด้วย เช่น มาตรการการคลัง การส่งออก หรือปัจจัยอื่นๆ
"เศรษฐกิจไทยอาจจะต้องใช้เวลามากขึ้นในการที่จะกลับมาฟื้นตัว ต้องขึ้นกับเครื่องยนต์ตัวอื่นๆ ด้วยว่าจะกลับมาทันหรือไม่...เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยง และมากขึ้นจากเดิมที่ได้เคยประเมินไว้เมื่อเดือนมิ.ย. เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจมีมากขึ้นกว่าที่คาดไว้" น.ส.ชญาวดีระบุ
ก่อนหน้านี้ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อเดือนมิ.ย. 64 มีการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะเติบโตได้ 1.8%
น.ส.ชญาวดี กล่าวว่า ข้อมูลที่ ธปท.รวบรวมได้ล่าสุดจนถึงวันที่ 19 ก.ค. 64 สถานการณ์มีความเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากจากเดือนมิ.ย. โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโควิดจากสายพันธุ์เดลตา ซึ่งกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย ที่ส่งผลให้มีการระบาดที่รุนแรงแรงและรวดเร็ว จนทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นมาก และขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ซึ่งย่อมจะมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย
"ผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ต้องดูว่าการระบาดจะยืดเยื้อไปแค่ไหน รวมถึงมาตรการที่จะมาควบคุมการระบาด คือมาตรการล็อกดาวน์จะยืดเยื้อแค่ไหน เพราะจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสะดุดลง รวมทั้งการได้รับวัคซีนที่จะทำให้มีภูมิคุ้มกันหมู่เร็วขึ้นมากน้อยแค่ไหน รวมถึงวัคซีนส่งผลต่อการควบคุมการแพร่เชื้อของไวรัสสายพันธุ์นี้มากน้อยแค่ไหนด้วย" น.ส.ชญาวดีกล่าว
พร้อมมองว่า ในระยะสั้นประสิทธิผลของมาตรการล็อกดาวน์จะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มการระบาดในประเทศ ทั้งนี้ ธปท.มองว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะต้องใช้มาตรการควบคุมการระบาดในระดับเข้มงวดเพียงใด เพราะต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมาตรการ และแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่
อย่างไรก็ดี ธปท.ประเมินไว้ใน 2 กรณี คือ กรณีแรก หากประสิทธิภาพของมาตรการล็อกดาวน์ สามารถควบคุมการระบาดให้ลดลงจากปัจจุบันได้ถึง 40% ซึ่งมีผลทำให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงในระดับที่ขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขมีเพียงพอรองรับได้ ก็คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะเริ่มกลับมาได้ในช่วงเดือน ส.ค. ส่วนกรณีที่สอง หากประสิทธิภาพของมาตรการล็อกดาวน์ สามารถควบคุมการระบาดให้ลดลงได้เพียง 20% ก็เชื่อว่าการใช้มาตรการล็อกดาวน์จะยังยืดเยื้อต่อไปตลอดในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังไม่สามารถกลับมาได้ รวมถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่จะยังไม่กลับมาด้วยเช่นกัน
น.ส.ชญาวดี ยังมองว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 65 อาจมีความล่าช้ากว่าที่คาดไว้มาก เพราะขึ้นกับนโยบายการกระจายวัคซีนเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะได้รับผลกระทบตามมาหากมีการกระจายวัคซีนล่าช้ากว่ากำหนด คือ ทำให้ประเทศไทยต้องเลื่อนเวลาการลดวันกักตัวออกไป ซึ่งช้าสุดอาจเป็นไตรมาส 3 ปี 65 ขณะที่เร็วสุดคือ ไตรมาส 2 ปี 65 นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การเปิดเที่ยวบินพาณิชย์อาจต้องล่าช้าไปกว่าปี 65 และการกลับมาของภาคการท่องเที่ยวที่อาจจะล่าช้าออกไปจากปี 65 เช่นกัน ขณะที่เร็วสุดจะอยู่ในช่วงไตรมาส 4 ปี 65 รวมถึงการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ที่อาจจะล่าช้ากว่าคาดและคงไม่เกิดภายในปี 65 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั้งประเทศทำได้ยาก, เกิดปัญหาไวรัสกลายพันธุ์ และประชาชนอาจการ์ดตกหลังได้รับวัคซีน
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในปี 65 คือ 1.สถานการณ์และการควบคุมการระบาดในระยะยาว 2.นโยบายการเปิดประเทศของต่างชาติ 3.นโยบายการคลังและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 4.ฐานะการเงินและสภาพคล่องของธุรกิจ 5.ปัญหาการขาดแคลนชิป และตู้คอนเทนเนอร์
น.ส.ชญาวดี กล่าวว่า นโยบายการคลังจะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในยามที่เครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวอื่นอ่อนแรง โดยมองว่ามาตรการทางการคลังมีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป รวมถึงการประสานนโยบายทั้งด้านการเงินการคลังที่จะต้องทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะเห็นได้จากในปี 63 ที่นโยบายการคลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะการระบาดของไวรัสโควิดในปีที่ผ่านมา ทำให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจทุกตัวดับลง มีเพียงการใช้จ่ายของภาครัฐเท่านั้นที่ช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยไม่ให้หดตัวรุนแรง ในขณะที่มาตรการทางการเงิน เป็นการเสริมความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องหรือบรรเทาภาระหนี้ชั่วคราว ซึ่งอาจได้ผลจำกัด รวมทั้งไม่สามารถช่วยเหลือได้ครบทุกกลุ่ม เพราะปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดรายได้ อย่างไรก็ดี เมื่อมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยยังต้องการแรงกระตุ้นอีกมาก เพราะการฟื้นตัวของแต่ภาคส่วนยังไม่เท่าเทียมและมีขีดจำกัดของมาตรการทางการเงิน ดังนั้น มาตรการทางการคลังจึงเป็นทางเลือกที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย สำหรับประเด็นที่ต้องจับตาในระยะต่อไปนั้น ในระยะสั้น ต้องติดตามความพร้อมด้านสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงภาคการผลิตที่อาจได้รับผลกระทบในระยะสั้นจากมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่กำลังซื้อที่อ่อนแอลงจะมีผลกระทบต่อยอดขายในระยะต่อไป ส่วนในระยะยาวควรเร่งกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง แทนมาตรการควบคุมที่เข้มงวดซึ่งอาจมีความจำเป็นในระยะสั้น แต่ไม่ตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งต้องจำกัดให้มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด เพราะหากโครงการนำร่องเช่น ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ถูกกระทบ จะยิ่งส่งผลต่อการฟื้นตัวในระยะยาว ทั้งนี้ ธปท.มีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ดังนี้
1.ต้องเตรียมเครื่องมือและมาตรการให้เพียงพอและยาวนาน เนื่องจากการระบาดระลอกล่าสุด มีแนวโน้มจะยาวนานและกระทบเป็นวงกว้างกว่าระลอกก่อน และต้องทำเต็มที่ทั้งด้านนโยบายการเงินและการคลัง เนื่องจากมาตรการแต่ละด้านมีข้อจำกัด
2.ต้องคำนึงถึงการใช้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การเตรียมช่องทางให้ความช่วยเหลือประชาชนผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดการให้ประชาชนต้องออกมารับบริการความช่วยเหลือนอกบ้าน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการแพร่ระบาดได้
Source: อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 
Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/
เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex
#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

230424 icm 100x33

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"