คอลัมน์ บางขุนพรหมชวนคิด: ว่าด้วย "อธิปไตยทางการเงิน"

ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ผู้อ่านหลายท่านอาจจะพอคุ้นหูกันอยู่บ้างกับคำว่า “อธิปไตยทางการเงิน” หรือ “monetary sovereignty” ส่วนหนึ่งมาจากการมุ่งหน้าศึกษาและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับภาคประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency:

Retail CBDC) ของธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและทางเลือกที่ปลอดภัยให้กับประชาชนในการเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมทั้งรองรับเทคโนโลยีและส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินแล้ว

เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลย คือ การปกป้องอธิปไตยทางการเงิน โดยเฉพาะจากการที่คริปโทเคอร์เรนซีและสเตเบิลคอยน์ ได้รับความนิยมมากขึ้นและเริ่มถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนอย่างแพร่หลายขึ้น อาจสร้างความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบการเงินของแต่ละประเทศ อันเป็นพันธกิจสำคัญของธนาคารกลางทั่วโลกได้
วันนี้ ผู้เขียน ในฐานะนักวิชาการ จึงขอชวนท่านผู้อ่านมาทำความรู้จัก “อธิปไตยทางการเงิน” และชวนคิดว่าอธิปไตยทางการเงินมีความสำคัญหรือไม่ อย่างไรครับ
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2555 ผู้เขียนได้เคยศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหลักการและบทบาทของธนาคารกลาง และนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับ ดร.พูมใจ นาคสกุล และ ดร.กฤตชญา จั่นเจริญ ซึ่งได้ข้อค้นพบสำคัญ โดยเฉพาะต้นกำเนิดของธนาคารกลาง และที่ยังคงจำได้ไม่ลืมคือ ความสำคัญของอธิปไตยทางการเงิน สะท้อนจากจุดเริ่มต้นของธนาคารกลางไทย ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้คัดลอกและตัดตอนจากหนังสือวิวัฒนไชยานุสรณ์ ซึ่งบันทึกเหตุการณ์สำคัญสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไว้ มาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้ครับ
“เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ประเทศไทยจำต้องยอมทำสัญญาร่วมรุกร่วมรับเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยต้องให้ความช่วยเหลือทุกทางแก่ประเทศญี่ปุ่นในการทำสงคราม ทางด้านการเงินนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอให้รัฐบาลไทยรับหลักการในเรื่องเงินตราสามประการคือ
(ก) ให้กำหนดค่าของเงินบาทเท่ากับเงินเยน คือในอัตราแลกเปลี่ยน 1 บาทต่อ 1 เยน
(ข) การชำระเงินระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยให้ชำระด้วยเงินเยน และ
(ค) ให้ตั้งธนาคารกลางขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่เงินตรา โดยให้มีที่ปรึกษาและหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ เป็นชนชาติญี่ปุ่น…
…แต่ข้อเสนอข้อสามนั้นรัฐบาลไทยมิได้ยอมรับในทันที เพราะจะเท่ากับว่ายอมให้ญี่ปุ่นเข้ามาควบคุมการเงินตราและเครดิตของไทยโดยตรง อันเป็นความประสงค์ของญี่ปุ่นในขณะนั้น เพื่อป้องกันมิให้ความประสงค์ของญี่ปุ่นเป็นผลสำเร็จ อันจักทำให้นโยบายการเงินของประเทศสูญอิสรภาพ
รัฐบาลไทยจึงต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นโดยรีบด่วน พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้ทรงร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ขึ้นด้วยพระองค์เองโดยตลอดด้วยความเร่งรีบเพื่อให้ทันการ ขณะเดียวกันก็ต้องทรงวางระเบียบการดำเนินงานตามกฎหมายนี้ไว้โดยรีบเร่ง และหาพนักงานที่เป็นคนไทยเข้าบรรจุให้ครบตำแหน่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนไทยสามารถดำเนินงานธนาคารกลางได้ด้วยตนเอง…
…หากพระองค์เจ้าวิวัฒนไชยมิได้ทรงรีบเร่งดำเนินการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยให้สำเร็จทันการ นโยบายการเงินและการเครดิตของไทยก็อาจต้องเป็นไปตามนโยบายของชนต่างชาติ ซึ่งย่อมจะต้องมีผลร้ายแรงโดยไม่มีปัญหา… พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยได้เสด็จไปกรุงโตเกียวเมื่อต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2485 เพื่อเจรจาเรื่องการเงินและการค้ากับรัฐบาลญี่ปุ่น
ผลแห่งการเจรจานั้นทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาอิสรภาพทางการเงินไว้ได้ โดยที่ญี่ปุ่นไม่เข้ามาตั้งระบบเงินตราขึ้นใหม่เช่นเดียวกับที่ทำในทุกประเทศที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองในอาเซีย”
จะเห็นได้ว่า จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยมาจากความจำเป็นที่จะต้องรักษาอธิปไตยทางการเงินของไทย เนื่องจากขณะนั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเตรียมเสนอให้ตั้งธนาคารกลางในไทยโดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ เป็นชนชาติญี่ปุ่นทั้งหมด เพื่อพิมพ์ธนบัตรสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม ซึ่งหากยอมให้ญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงเงินตราและเครดิตของไทยโดยตรงเช่นนั้นแล้ว
เท่ากับว่านโยบายการเงินและการเครดิตของไทยต้องเป็นไปตามนโยบายของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเร่งด่วนภายในระยะเวลาอันสั้น และสามารถรักษาอธิปไตยทางการเงินของไทยได้โดยสำเร็จ
ดังนั้น อธิปไตยทางการเงิน คือ อำนาจในการรักษาเสถียรภาพและทำให้เงินตราที่เรา ๆ ท่าน ๆ ถืออยู่มีความมั่นคง โดยไม่มีใครอื่นใดมาแทรกแซงได้ โดยองค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไรส่วนบุคคล คือ ธนาคารกลาง เป็นตัวแทนของรัฐและประชาชนในการรับหน้าที่ดังกล่าว เพื่อดูแลรักษาเสถียรภาพและดำรงไว้ซึ่งอำนาจซื้อของเงินตราผ่านการดำเนินนโยบายการเงิน (เสถียรภาพทั้งภายในประเทศ คือให้ “เงินเฟ้อต่ำและไม่ผันผวน” และระหว่างประเทศ คือให้ “ค่าเงินไม่เคลื่อนไหวผันผวนจนเกินไป”) และดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน หรือ ดูแลให้เกิดความมั่นคงของระบบการเงิน ไม่ให้เกิดวิกฤตการเงิน (financial crisis)
ซึ่งหากเกิดแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนได้ ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายของธนาคารกลางต้องมาพร้อมกับความโปร่งใส และความรับผิดรับชอบต่อประชาชน ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้น
แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีสงครามแล้ว แต่เรายังเห็นตัวอย่างของการสูญเสียอธิปไตยทางการเงินในสมัยนี้ คือ ปรากฏการณ์ “dollarization” หรือ การใช้เงินสกุลอื่นแทนเงินตราของประเทศตนเอง อาทิ ซิมบับเว ซึ่งประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จำเป็นต้องหันมาใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ แทน ทำให้สูญเสียการควบคุมนโยบายการเงินของตนเองในการกระตุ้นเศรษฐกิจในยามจำเป็นไปโดยปริยาย… แน่นอนว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ละประเทศย่อมไม่ต้องการสูญเสียอธิปไตยทางการเงิน เพราะไม่ต้องการพึ่งพิงการกำหนดนโยบายจากประเทศอื่น ๆ ดั่งเป็นเมืองประเทศราช
อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญในโลกดิจิทัลยุคปัจจุบันอาจพุ่งเป้าไปที่ “การกระจายอธิปไตยทางการเงินภายในประเทศ” หรือที่มักเรียกกันว่า “decentralization” มากกว่า โดยเฉพาะภาคเอกชนที่สามารถผลิตเงินตราของตนเองได้และนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวาง ว่าจะดีกว่าหรือไม่ อย่างไร?
ผู้เขียนขอชวนผู้อ่านชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงด้วยตนเองครับ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ ประชาชนแต่ละคนได้รับความเป็นส่วนตัวและความมีประสิทธิภาพสูงจากการไม่ต้องพึ่งพิงตัวกลางใด ๆ (ไม่นับเรื่องการเก็งกำไรในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ ซึ่งไม่ใช่จุดประสงค์ของการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนอยู่แล้ว)
แต่ย่อมต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงสำคัญ นั่นคือ เราไม่มีทางรู้ว่ามูลค่าในวันหน้าของสิ่งที่เรานำมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจะยังเท่ากับมูลค่าในปัจจุบันหรือไม่ ความน่าเชื่อถือขององค์กรที่แสวงหากำไรส่วนบุคคลหรือแม้แต่ความปลอดภัยของระบบที่ผลิตและจัดการสิ่งเหล่านี้มีมากน้อยเพียงใด
เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามวัฏจักรเศรษฐกิจ นโยบายที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจจะทำหน้าที่ของมันได้อย่างไร และที่สำคัญ หากเกิดวิกฤตการเงิน ใครจะเป็นผู้ดูแลเสถียรภาพในฐานะผู้ให้กู้แหล่งสุดท้าย (lender of last resort) กันหนอ?
ทุกอย่างเป็นเหรียญสองด้าน เราต้องรู้ชัด ชั่งน้ำหนักอย่างรอบคอบ และสร้างสมดุลให้ดี เพราะสุดท้าย ประโยชน์และความเสี่ยงไม่ได้ตกอยู่กับใคร หรือ องค์กรใด แต่คือพวกเราประชาชนทุกคนนี่เองครับ!
โดย สุพริศร์ สุวรรณิก
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
Suparit Suwanik
**บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด**
Source: ไทยรัฐออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"