ครัวเรือนไทย มีทักษะความรู้ด้านดิจิทัล พร้อมแค่ไหน?

การชี้วัดทักษะความรู้ด้านดิจิทัล(digital literacy)นั้น เป็นแนวคิดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานนัก ซึ่งกรอบแนวคิดของการวัด digital literacy นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกจากความพยายามในการวัดความสามารถด้านเทคโนโลยีในช่วงปีค.ศ. 1980 ที่เพิ่งเริ่มมีอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์

ดังนั้น ชื่อทักษะในอดีตจึงอาจเรียกว่า ICT fluency, digital competency หรือ computer literacy เป็นต้น แต่เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนหลอมรวมเข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบธุรกิจอย่างแยกไม่ออก จึงเกิดแนวคิดของการวัด digital literacy แบบองค์รวมมากยิ่งขึ้น
เศรษฐกิจอินไซต์วันนี้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการวัดdigital literacy ของครัวเรือนไทย โดย ดร. รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง
าเริ่มตั้งแต่คำนิยามและแนวคิดกันก่อนเลย ก่อนจะไปดูผลการวิจัยของ ดร. รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลกับความพร้อมของครัวเรือนไทยผ่านการศึกษา “Digital literacy”
งานวิจัยหลายฉบับต่างให้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่า“ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล”สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดเล็ก จนเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่จะทำให้กลุ่มประเทศเกิดใหม่ต่าง ๆ สามารถเอาชนะกับดักของรายได้ปานกลาง
ดร. รุ่งเกียรติ ได้นิยาม “ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล” ไว้ว่า จะต้องมีองค์ประกอบหลักอย่างน้อย 3 ประการดังแสดงในภาพที่ 1 ได้แก่ 1) digital infrastructure หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายโทรคมนาคมที่พร้อมสำหรับการสื่อสารและดำเนินธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัล 2) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ และ 3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการผลิต
ทั้งนี้ ความสำเร็จของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นอยู่กับความสามารถของภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน ผู้ประกอบการ และภาครัฐในการมีทักษะความรู้ด้านดิจิทัลในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่า ทุกภาคส่วนจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้สูงที่สุด
รายงานวิจัยนี้จึงมุ่งเป้าในการวัด “ทักษะความรู้ด้านดิจิทัล” (digital literacy) ในระดับครัวเรือน ซึ่งถือเป็นภาคส่วนสำคัญที่สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงการบริโภค การเข้าถึงบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัลเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงศักยภาพของครัวเรือนในการประกอบธุรกิจด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจอย่างมากต่อวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดเล็ก (micro and small enterprises)
โดยรายงานวิจัยฯ เป็นการประเมินศักยภาพของครัวเรือนไทยในยุคดิจิทัลว่ามี “ความพร้อม” ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลหรือไม่ เพราะศักยภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจทิทัลของไทยในอนาคตขึ้นอยู่กับว่า คนไทยมีทักษะด้าน Digital literacy มากน้อยแค่ไหน
เพื่อหาคำตอบดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการวัด “Digital literacy” เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถนำไปขยายผลเพื่อวัดระดับทักษะความรู้ด้านดิจิทัลของครัวเรือนไทยได้ในวงกว้าง ซึ่งมีองค์ประกอบ4 ปัจจัยที่ต้องมีการวัด เพื่อสร้างเป็นดัชนี digital literacy ประกอบด้วย
1) digital technology access ซึ่งเป็นการวัดการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านอุปกรณ์
2) digital skills ที่มุ่งเน้นวัดทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล
3) digital knowledge ซึ่งวัดความรู้ความเข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีดิจิทัล
และ 4) cyber risk awareness ที่ประเมินการตระหนักรับรู้ถึงความเสี่ยงด้านข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และเงื่อนไขทางกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อมูลดิจิทัล
ทั้งนี้ การศึกษาระดับ digital literacy ตามองค์ประกอบ 4 ปัจจัยดังกล่าวของครัวเรือนไทยเริ่มต้นจากการ “สุ่มตัวอย่าง” ตามมิติของอายุเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุม 4 เจเนเรชั่นสำคัญ ได้แก่ Baby boomers // Gen-X // Millennials และ Gen-Z โดยกลุ่มตัวอย่างจะมีการกระจายตัวตามเขตต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 500 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างภายใต้การศึกษามีความครอบคลุมทั้งในมิติของกลุ่มอาชีพ ระดับการศึกษา และระดับรายได้
จากการศึกษาพบว่า ภาพรวม “การเข้าถึง” เทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน smartphone โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2 เครื่องต่อครัวเรือน รองลงมาคือ laptop/notebook ที่ 1 เครื่อง นอกจากนี้พบว่า การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับรายได้
ในส่วนของทักษะด้านดิจิทัล พบว่าเจเนเรชั่น “Millennials” มีทักษะที่สูงกว่า Gen-Z ในทุกมิติ ยกเว้นมิติของการใช้ graphic software สะท้อนให้เห็นว่าทักษะด้านดิจิทัลอาจไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติได้ แต่จะต้องอาศัยระบบการเรียนรู้ที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาทักษะดังกล่าว สาเหตุที่ Gen-Z มีทักษะด้าน graphic software ที่สูง อาจเป็นผลจากความสนใจของเด็กรุ่นใหม่ที่มักจะมีอาชีพในอุดมคติเป็น Blogger, Youtuber หรือ Influencer เป็นต้น
ผลลัพธ์ที่น่าสนใจอีกมิติคือ ด้านความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีดิจิทัล (digital knowledge) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เป็น Gen-Z มักจะประเมินตนเอง (self-assessment) ว่ามีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่สูง แต่เมื่อมีการทดสอบด้วยข้อสอบจะพบว่าคะแนนที่ได้จริงกลับลดต่ำลงมาก ความมั่นใจที่ผิดที่คิดว่าตนเองมีความรู้ที่มากเพียงพอแล้วเป็นอุปสรรคหนึ่งที่ผู้วางนโยบายจะต้องหากลไกและสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่เอื้อให้เด็กรุ่นใหม่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
เมื่อวิเคราะห์ที่การตระหนักรับรู้ถึงความเสี่ยงต่าง ๆ (cyber risk awareness) พบว่า เจเนเรชั่น Millennials มีวุฒิภาวะและความพร้อมในมิติของความเสี่ยงในโลกดิจิทัลที่สูงกว่า Gen-Z ในขณะที่ Gen-Z มีการตระหนักรับรู้ใกล้เคียงกับ Gen-X
ดังนั้น การส่งเสริมเรื่องความเสี่ยงทาง Cyber ไม่ว่าจะเป็นมิติของข้อมูล ความเป็นส่วนตัว หรือสิทธิต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ควรปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่เรียนรู้อย่างเป็นระบบ ไม่ควรปล่อยให้เป็นการเรียนรู้โดยธรรมชาติ
ดร. รุ่งเกียรติ กล่าวว่า โดยภาพรวมจากการวิจัยพบว่าครัวเรือนไทยบางส่วน หรือประมาณร้อยละ18 ยังมีทักษะความรู้ด้านดิจิทัลที่ต่ำ โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจเนเรชั่น Baby boomer และรายได้น้อยมีทักษะดิจิทัลที่ต่ำมากอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างอื่น ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นปัจจัยใหม่อาจซ้ำเติมให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสังคมและความมั่งคั่งปรับสูงขึ้น
นอกจากนี้ หากจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามมิติของอาชีพจะค้นพบผลที่น่าสนใจว่า ผู้ที่ประกอบอาชีพพื้นฐานต่าง ๆ เช่น แม่บ้าน คนขับรถ หรือคนที่ไม่มีงานทำเพราะตกงาน (Unemployed) จะเป็นกลุ่มที่มีทักษะดิจิทัลต่ำมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น สะท้อนให้เห็นว่าทักษะดิจิทัลอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดประเภทอาชีพและโอกาสด้านรายได้ในอนาคต
จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า “ความเหลื่อมล้ำ“ด้านดิจิทัลในประเทศไทยได้เกิดขึ้นบ้างแล้ว ถึงแม้ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ใช่ความท้าทายหลัก แต่กลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อย ตกงาน หรือประกอบอาชีพพื้นฐานจะประสบความยากลำบากมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาขีดความสามารถ และการหารายได้ หากขาดทักษะความรู้ด้านดิจิทัลแบบองค์รวมที่เหมาะสม
นอกจากนี้ยังพบว่า นโยบายที่สนับสนุนให้ครัวเรือนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ดิจิทัลในต้นทุนที่ถูกไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ผู้วางนโยบายควรให้ความสำคัญ แต่เป็นเพียงปัจจัยเบื้องต้นของการสร้างความพร้อมด้านดิจิทัลของประเทศเท่านั้น ดังนั้น การส่งเสริม digital literacy จะต้องให้ความสำคัญอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเพิ่มทักษะในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
และแม้ว่าประชากรส่วนใหญ่จะสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพื้นฐานได้ แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลมักจะถูกใช้ไปเพื่อความบันเทิง และเพื่อการบริโภคเป็นหลัก ไม่ใช่ทักษะดิจิทัลหรือการตระหนักถึงความเสี่ยงด้านข้อมูลดิจิทัล ที่จะนำไปสู่การสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้น นโยบายที่ส่งเสริมให้ผู้ที่ตกงานหรือผู้ที่ทำงานในกลุ่มใช้แรงงาน ได้มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพด้านใดด้านหนึ่ง เช่น การทำเกษตรกรรม การหัตถกรรม หรือการประติมากรรม จึงไม่ใช่ทักษะความรู้เดียวที่ควรส่งเสริม แต่ภาคส่วนต่าง ๆ ควรจัดสรรงบประมาณและร่วมกันพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ด้านดิจิทัลอย่างเข้มข้นพร้อมกันไปด้วย
ครัวเรือนไทย มีทักษะความรู้ด้านดิจิทัล พร้อมแค่ไหน?
ทั้งนี้ จากการประเมินความสามารถด้านดิจิทัล (Digital Performance) ของ Tufts University (The Fletcher School at Tufts University (2020) โดยประเทศเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับ Digital Evolution State และ Digital Evolution Momentum ได้แก่ (ตามกราฟฟิกได้เลยค่ะ)
1) กลุ่มที่มีความโดดเด่น (Stand-out) เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านดิจิทัลและมีแนวโน้มเติบโตในระดับสูง
2) กลุ่มที่มีพัฒนาการหยุดชะงัก (Stall-out) เป็นประเทศที่มีประสบความสำเร็จในการพัฒนาทางด้านดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา แต่เติบโตช้าลงไปมาก
3) กลุ่มที่มีแนวโน้มดี (Break-out) เป็นประเทศที่ยังมีระดับความก้าวหน้าทางด้านดิจิทัลไม่สูงนักแต่มีศักยภาพและแนวโน้มที่จะเติบโตได้เร็ว
4) กลุ่มควรระวัง (Watch-out) เป็นประเทศที่มีความอ่อนแอทางด้านการประยุกต์ใช้และพัฒนาทางด้านดิจิทัล
พบว่าประเทศส่วนใหญ่ยังมีระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก สำหรับประเทศในกลุ่มที่มีความโดดเด่นทางด้านดิจิทัล (Stand-out) น้ัน สิงคโปร์ ฮ่องกง และเกาหลีใต้มีความโดดเด่นมากเป็นพิเศษ
สำหรับประเทศไทยน้ัน ได้รับการจัดกลุ่มดีขึ้นจากเดิมเคยอยู่ในกลุ่มเฝ้าระวัง (Watchout) ยกระดับมาอยู่ในกลุ่ม Break-out ที่มีพัฒนาการด้านดิจิทัลที่เร็ว แต่นับว่าช้ากว่าอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ดังนั้นภาครัฐควรสร้างสภาพแวดล้อมเชิงสถาบันและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาด้านดิจิทัล และช่วยยกระดับศักยภาพบุคลากร
Source : TNN

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
----------------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"