เมื่อ ‘หนี้’ ล้นโลก จากการเร่งปั๊มเงินเข้าระบบ แต่ ‘เศรษฐกิจจริง’ ยังไม่ฟื้น แล้วเงินไหลไปไหน

หลายวิกฤตและปัญหาเศรษฐกิจช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลของทุกประเทศต้องหาทางกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการอัดฉีดเม็ดเงินสู่ระบบการเงิน เพื่อสะท้อนสู่ภาคเศรษฐกิจจริง และเข้าถึงคนมากขึ้น

โดยเฉพาะปี 2563 ที่ผ่านมา วิกฤตโควิด-19 ทำให้ทุกประเทศอัดเงินเข้าสู่ระบบมากเป็นพิเศษ รวมถึงการทำ QE อย่างการพิมพ์แบงก์เพิ่มเงินในระบบ รวมมาตรการต่างๆ ที่ทำให้หนี้ส่วนภาครัฐปรับสูงขึ้น จนล่าสุดคาดว่าปี 2564 หนี้สินของทั้งโลกจะอยู่ที่ 281 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 8,451 ล้านล้านบาท
เมื่อ ‘หนี้’ กลายเป็นสภาพคล่องที่ล้นโลกแต่คนยังเข้าไม่ถึง เงินเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหน?
ท่ามกลางวิกฤตระดับโลกอย่างโควิด-19 ทำให้รัฐบาลทั่วโลกต้องอัดฉีดเงินอย่างเร่งด่วนเข้าสู่เศรษฐกิจ ทั้งเพื่อพยุงตลาดการเงินไว้ และไม่สร้างผลกระทบต่อเนื่องไปภาคส่วนอื่นๆ เลยทำให้ปี 2563 ที่ผ่านมาหนี้สินของโลกอยู่ที่ 258 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7,765 ล้านล้านบาท) เกินกว่าครึ่งหนึ่งมาจากหนี้สินของภาครัฐ
โดยหนี้สินของรัฐมาจากธนาคารกลางประเทศใหญ่ๆ ที่ทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) อย่างการพิมพ์เงินเพิ่มเข้าสู่ระบบ โดยจะเอาไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยากช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่ง QE เป็นเครื่องมือเพิ่มเติมนอกเหนือจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ทำได้ยากขึ้นเพราะก่อนโควิด-19 อัตราดอกเบี้ยนโยบายก็อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว
ดังนั้นเม็ดเงินที่รัฐพิมพ์เพิ่มนี้จะช่วยเพิ่มความมั่งคั่ง และความมั่นใจกับเจ้าของสินทรัพย์ทั้งหลายว่า ตลาดการเงินจะไม่กระทบหนักกว่านี้ และเงินที่อัดฉีดมาในระบบการเงินจะนำไปลงทุนทางการเงินอีกต่อ ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจได้ด้วย
จากสถานการณ์ปัจจุบันเลยทำให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือ FII คาดว่าปี 2564 นี้จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้น 24 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 722.4 ล้านล้านบาท) และทำให้หนี้สินของโลกปี 2564 จะพุ่งสูง 281 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ​ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือราว 7,765 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 355% ของ GDP โลก
แต่เงินที่รัฐอัดฉีดมายังไม่ได้ทำให้ภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างที่คิด แล้วเงินไปไหน?
นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี TMB Analytics เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ตามทฤษฎีแล้วหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้น และหากเพิ่มขึ้นที่ภาคครัวเรือนจะส่งผลให้ความสามารถในการซื้อทรัพย์สิน (Asset) และแรงจูงใจในการออมลดลง
แต่ในส่วนของ QE ที่ภาครัฐพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบ จะกลายเป็นฝั่งหนี้สินของรัฐบาล ที่ระดมทุนเพื่อกระจายให้ถึงภาคเศรษฐกิจ อย่างการซื้อพันธบัตรเอกชน ก็เหมือนหนี้ภาคเอกชนก็จะไปอยู่กับภาครัฐ ดังนั้นหนี้จะยังคงอยู่ แต่จุดที่ต้องให้ความสำคัญคือ การพิมพ์เงินจำนวนมากนี้ ถ้ายังสร้างความเชื่อมั่นต่อไปได้ย่อมส่งผลดี แต่หากพิมพ์เงินเยอะเกินไปอาจส่งผลให้มูลค่าเงินที่หนี้สร้างขึ้นมาอาจจะลดลง
“เมื่อมองกันยาวๆ นี่คือเงินเฟ้อแบบหนึ่ง เมื่อมูลค่าสินทรัพย์มีหนี้สูง มูลค่าของเงิน (อาจ) ลดลง ขณะเดียวกันก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น เหมือนช่วงยุคก่อนหน้าที่เกิด Stagflation ในไทย (เศรษฐกิจซบเซาและเงินเฟ้อสูง) ซึ่งตอนนี้ไทยยังไม่อยู่จุดนั้นเพราะเงินยังฝืด ขณะที่ตอนนี้เราเห็นเม็ดเงินไปกระจุกอยู่บางสินทรัพย์ เช่น สกุลเงินดิจิทัล”
ในเรื่องนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า เงิน QE อาจจะสร้างภาพลวงตาในตลาดการเงินได้ หากความต้องการลงทุนใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจยังไม่มากจริง ดังนั้นจะเห็นเงินไหลออกไปประเทศอื่นๆ จากการ Search for Yield ทำให้สินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นอย่างไม่สมดุล และมีความเสี่ยงว่าเม็ดเงินที่ไหลออกไปจะไหลกลับมา เรียกว่าสร้างความผันผวนที่อาจจะรวดเร็วและรุนแรง
เมื่อ QE = ยาแรง ตอนนี้ตลาดเสพติดสภาพคล่องหรือยัง?
นริศเล่าต่อว่า ตามทฤษฎี Demand-Supply เมื่อเศรษฐกิจแย่ เงินควรจะฝืด คนจะเริ่มออมกันมาขึ้น ใช้จ่ายน้อยลงและตลาดจะปรับสมดุลไปเอง แต่ตอนนี้ถือเป็นสถานการณ์ที่แปลก และการใช้ทฤษฎีเดิมมามองภาพในอนาคตยากขึ้นเรื่อยๆ
“ตอนนี้คนชินกับภาพเม็ดเงิน (สภาพคล่อง) ที่ล้นทั้งโลกไปกระจุกตัวในภาคการเงิน แต่ภาคประชาชนเงินยังไม่ค่อยมี แสดงว่าสภาพคล่องนั้นส่งไปไม่ทั่วถึง ทำให้เม็ดเงินเลยหาที่ลง จนไปลงบางพื้นที่ เหมือนที่เห็นฝั่งการเงิน ทั้งตลาดหุ้นและตลาดสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ขยับสูงขึ้น”
ดังนั้นเมื่อมองในภาครวมต้องติดตามว่า ธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกจะ ‘ถอน’ QE อย่างไรเพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจะไม่ใช่ภาพที่เกิดขึ้นในปีนี้ แต่อาจจะเห็นใน 3-5 ปีข้างหน้า หรือธนาคารกลางต้องไม่มี ‘เซอร์ไพรส์’ ในการถอน QE จะต้องค่อยๆ ลดเพื่อให้ตลาดรับรู้และไม่เกิดแพนิก โดยสภาพคล่องในโลกตอนนี้อาจจะต้องใช้เวลาหลักสิบปีเพื่อทยอยลดลง
ซึ่งปีนี้ยังไม่เห็นการถอน QE แต่เห็นสัญญาณการไม่เพิ่มเม็ดเงิน QE แล้ว อย่างไรก็ตามหากมีการถอน QE ออกก็จะทำให้เห็นภาพแรกคือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ขยับไล่สูงขึ้น
ย้อนมองปัญหาไทย: กับดักสภาพคล่อง-เงินไหลไม่ถึงมือคนที่ต้องการ
สถานการณ์ในไทยตอนนี้แม้ภาครัฐจะไม่ได้ทำ QE แต่ก็มีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดผ่านมาตรการการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ (พ.ร.บ. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท) แต่ปี 2563 ที่ผ่านมาจะเห็นว่าไทยมีสภาพคล่องในระบบที่สูงเช่นกัน โดยเงินฝากในระบบของไทยโต 12% ขณะที่เงินให้สินเชื่อโตเพียง 4% ซึ่งทำให้ไทยยังอยู่ในกับดักสภาพคล่องเหมือนช่วงต้นปี 2563
แต่แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยแม้จะมีสภาพคล่องสูง แต่ก็ยังมีคนที่ขาดสภาพคล่องอยู่ เช่น ผู้ประกอบการ SMEs หรือธุรกิจที่ยังไปได้แต่ขาดสภาพคล่อง อย่างที่เห็นว่าสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ที่รัฐพยายามออกมานั้นยอดการเข้าถึงยังต่ำมาก ยิ่งทำให้รัฐยิ่งต้องหาทางกระจายสภาพคล่องสู่คนที่ตรงจุดยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามหากการให้เงินสภาพคล่องยังต้องดูในภาพรวมด้วยว่า การให้สินเชื่อหรือสภาพคล่องนั้น จะช่วยขยายการเติบโตหรือเพียงแต่ยืดเวลาในธุรกิจที่ไปไม่ไหวแล้ว เพราะหากให้สภาพคล่องเพื่อยื้อไว้ย่อมจะสร้างภาระหนี้ให้สูงขึ้น และจะส่งผลต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคลและเศรษฐกิจในระยะยาว
ขณะเดียวกันมาตรการที่ภาครัฐต้องเร่งออกมาคือ มาตรการด้านแรงงาน ที่ช่วยสนับสนุนการจ้างงานให้ตรงจุด ตรงเซกเตอร์ที่จะขยายตัวได้ในอนาคต
โดย ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์
Source: The Standard Wealth

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students
-----------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman

Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"