สหรัฐฯ VS จีน : สองมหาอำนาจ หนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญ และสิ่งที่ไทยควรทำ

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันตกอย่างพญาอินทรีสหรัฐฯ และมหาอำนาจตะวันออกใหม่อย่างพญามังกรจีน ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและการค้าโลกอย่างมหาศาล นับตั้งแต่นายโดนัลด์ ทรัมป์

ก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ท่านผู้อ่านที่ติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่องอาจนึกสงสัยว่า ความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มต้นได้อย่างไรและส่งผลอย่างไรต่อไทย บทความนี้จึงขออาสาคลายความสงสัย โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์อธิบายแก่นแท้ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คาดการณ์จุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามครั้งนี้ และวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทยในเชิงเศรษฐกิจกัน

เมื่อสหรัฐฯ ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจ และเป็นผู้กำหนดระเบียบโลกใหม่…
ก่อนจะย้อนเวลากลับไปสำรวจประวัติศาสตร์ ขออธิบายคำว่า “ประเทศมหาอำนาจ” เสียก่อนตามข้อเขียนของ ศ. ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิตและนักรัฐศาสตร์คนสำคัญในแวดวงวิชาการไทย ที่ว่า การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีสถานะเป็นประเทศมหาอำนาจหรือ superpower นั้น ต้องอาศัยตัวแปรสำคัญ ได้แก่ ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า โครงสร้างทางสังคมที่เอื้ออำนวยให้เกิดการขยับชั้นทางสังคมด้วยการเข้าถึงการศึกษา รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ความเป็นมหาอำนาจมักตามมาด้วยอำนาจในการกำหนดทิศทางของความสัมพันธ์และการเมืองระหว่างประเทศหรือ “ระเบียบโลก (world order)” ซึ่งก็คือ การมีบทบาทเป็นผู้กำหนดระเบียบกระแสหลักที่โลกยึดถือ ที่มักจะให้ประโยชน์แก่ผู้กำหนดระเบียบนั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ย้อนเวลากลับไปหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา (หลังปี ค.ศ. 1945) ระเบียบโลกได้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง จากความเป็นมหาอำนาจที่เคยกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส สหรัฐฯ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่แทนกลุ่มประเทศเหล่านั้น จากการเป็นผู้ชี้ชะตาผลแพ้ชนะของสงครามโลกครั้งที่ 2 1 เป็นสำคัญ และกลายเป็นผู้กำหนดระเบียบโลกใหม่ (new world order) เช่น การยึดถือการปกครองระบอบประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน การค้าเสรี เป็นต้น
นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ แล้ว สหรัฐฯ ก็พัฒนาบทบาททางเศรษฐกิจของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้นและมีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในช่วงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 จนทำให้สหรัฐฯ ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้จากการค้ามากที่สุดในโลก รวมถึงเป็นผู้กำหนดระเบียบโลกใหม่ผ่านการใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกลายเป็น “reserve currency” ของโลก2 และเป็นสกุลเงินสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นสกุลที่กำหนดราคาสินค้าและหน่วยวัดมูลค่าของการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศ นับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐฯ เริ่มถดถอยลง…
อย่างไรก็ตาม มองอีกมุมหนึ่ง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งทำให้การนำเข้าของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเรื่อยมาเช่นกัน ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นช้ากว่า ดุลการค้าของสหรัฐฯ ที่เคยเกินดุลมากจึงเริ่มลดน้อยลงตามลำดับ ส่วนมังกรจีนที่หลับใหลอยู่นาน ก็ได้เริ่มตื่นและมีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก ผ่านช่องทางการค้า โดยเฉพาะหลังจากนายเติ้ง เสี่ยวผิง ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของจีนในปี ค.ศ. 1978 ซึ่งมีนโยบายต้องการปฏิรูประบบเศรษฐกิจจีน เช่น การปฏิรูปเกษตรกรรม การปฏิรูปภาษี การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ รวมถึงให้ความสำคัญกับการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจและตลาดการค้าของจีนขยายตัวเรื่อยมา (ภาพที่ 1) ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอำนาจทางการทหาร
จนกระทั่งประมาณช่วงปี ค.ศ. 2000 จะเห็นได้ชัดเจนว่า การส่งออกของจีนเริ่มทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ส่วนแบ่งทางการค้าของสหรัฐฯ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยความสำเร็จของจีนนั้น เป็นผลจากการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับจีนมีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ โดยเฉพาะค่าแรง ทำให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 5 ต่อปี ก้าวกระโดดเป็นร้อยละ 15 ภายในเพียง 1 ทศวรรษเท่านั้น จีนจึงกลายเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นสำคัญที่กำหนดทิศทางการค้าโลก และเป็นปัจจัยกดดันให้สหรัฐฯ ที่ต้องการคงความเป็นประเทศมหาอำนาจ ได้เริ่มจุดชนวนทำสงครามการค้ากับจีนอย่างเปิดเผยในปี 2018 ผ่านการบังคับใช้กำแพงภาษีต่อสินค้าที่นำเข้าจากจีน ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ (ซึ่งไม่ได้หมายความว่าในช่วงการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีคนอื่นๆ ก่อนหน้า เช่น ประธานาธิบดีโอบามา จะไม่ได้มีการกีดกันทางการค้ากับจีน แต่อยู่ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้กระทำอย่างเปิดเผยเท่ากับประธานาธิบดีทรัมป์ เช่น ความพยายามในการรวมกลุ่มการค้าภายใต้ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) โดยไม่ได้มีจีนเข้าร่วม)
ล่าสุด ตามที่ทุกท่านได้เห็นในหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ จีนยังพยายามเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจของตนเองผ่านการพัฒนาโครงการ Digital Currency Electronic Payment (DCEP) หรือที่เรียกกันว่า “หยวนดิจิทัล” จีนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งการค้าและการลงทุน โดยเงินหยวนได้กลายมาเป็นสกุลเงินสำหรับการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ (settlement currency) มากขึ้น โดยจีนมุ่งหวังที่จะพัฒนาหยวนดิจิทัลเพื่อให้นักลงทุนและผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ และลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ จีนยังคาดว่าการพัฒนาดังกล่าวจะทำให้เงินหยวนมีความเป็นสากลมากขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่าความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของจีนจะโดดเด่นและการใช้เงินหยวนจะเพิ่มมากขึ้น แต่การที่จะพัฒนาเงินหยวนให้เป็น “reserve currency” หลักของโลกแซงสหรัฐฯ ได้นั้นอาจใช้เวลานานพอควร โดยหากสังเกตจากข้อมูลในอดีตแล้ว จะเห็นว่า ในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนของเงินหยวนในฐานะ reserve currency ของโลกเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวก็จริง แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับส่วนแบ่งทางการค้าที่เพิ่มขึ้น และล่าสุดยังคงเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ (ภาพที่ 2)
สงครามการค้าเป็นเพียงเปลือกนอก แต่แก่นภายในคือการแข่งขันเพื่อเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีและความเป็นชาติมหาอำนาจเพื่อเป็นผู้กำหนดระเบียบโลก
ความขัดแย้งในปัจจุบันระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไม่ได้เป็นการแข่งขันกันเพื่อเป็นมหาอำนาจทางการค้า ดังเช่นกลยุทธ์ที่สหรัฐฯ ใช้ในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการกำหนดระเบียบโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หากแต่เป็นการแข่งขันเพื่อแย่งชิงความเป็นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ ประกอบกับปัจจัยการผลิตที่ลดลงโดยเฉพาะจำนวนประชากร ได้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด และบ่อยครั้งที่ผู้ที่พัฒนาและครอบครองเทคโนโลยีได้ก่อนมักมีความได้เปรียบกว่า และสามารถใช้กลยุทธ์นี้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจได้ ต่างจากสมัยก่อนที่แข่งกันที่ปริมาณของทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยการผลิตเป็นหลัก
สอดคล้องกับทฤษฎีหมูสามชั้นของ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ที่ได้กล่าวถึงปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังของสงครามการค้าในครั้งนี้ ซึ่งดูผิวเผินแล้วคือความขัดแย้งทางการค้า แต่หากมองลึกลงไปจะพบว่าเป็นการแข่งขันกันเพื่อเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ซึ่งจะโยงไปถึงชั้นในสุด คือ การแข่งขันกันเพื่อความเป็นชาติมหาอำนาจ จนสามารถเป็นผู้กำหนดระเบียบโลกได้นั่นเอง เหล่านี้สัมพันธ์โดยตรงกับประเด็นความมั่นคง เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงมาก โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่าย 5G และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เนื่องจากจะปลดล็อกให้สามารถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลผ่านโครงข่าย 5G จากทั้งโลกได้
เมื่อปลายปี ค.ศ. 2019 สหรัฐฯ ได้เริ่มทำสงครามโจมตีจีนด้านเทคโนโลยี ด้วยการแบนสินค้าของบริษัทหัวเว่ย (Huawei) ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี 5G และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาสหรัฐฯ เริ่มคว่ำบาตรบริษัท SMIC (Semiconductor Manufacturing International Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของจีน โดยการส่งออกซอฟต์แวร์และชิปจากสหรัฐฯ ไปยังบริษัท SMIC จะต้องได้รับใบอนุญาตจากทางการของสหรัฐฯ เหล่านี้ล้วนเป็นไปเพื่อตัดช่องทางของบริษัทจีนในกลุ่มห่วงโซ่อุปทาน รักษาส่วนแบ่งทางการตลาดและปกป้องความมั่นคงของสหรัฐฯ (ขณะที่จีนมีโอกาสที่จะตอบโต้สหรัฐฯ ผ่านการแบนสินค้าบริษัทสัญชาติอเมริกัน โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Apple เช่นกัน) การแบนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มประเทศอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งเป็นห่วงโซ่อุปทานในการผลิตชิ้นส่วนประกอบของเทคโนโลยีและอุปกรณ์ไอที เช่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ รวมถึงไทย
ผลกระทบต่อไทยและจุดเปลี่ยนสำคัญของสงครามระหว่างมหาอำนาจทั้งสอง
ดังที่ได้กล่าวข้างต้น การตอบโต้กันระหว่างสองยักษ์ใหญ่ผ่านการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศในกลุ่มห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดจีน โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจร และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันเป็นร้อยละ 10 ของการส่งออกสินค้าจากไทยไปจีน3
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา ไทยยังได้รับผลดีบ้างจากการส่งออกสินค้าทดแทนจีนในตลาดสหรัฐฯ และส่งออกสินค้าทดแทนสหรัฐฯ ในตลาดจีน สะท้อนจากการนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นของทั้งสหรัฐฯ และจีน (ภาพที่ 3) แต่ที่น่ากังวลมากกว่า คือ ในระยะยาวนั้น สงครามการค้าที่มีทีท่ายืดเยื้อ ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศต่างๆ แล้ว
อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมากนักเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเวียดนามที่มีข้อได้เปรียบเหนือไทยในหลายด้าน เช่น จำนวนประชากรและศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้นทุนแรงงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงจำนวนประเทศที่เวียดนามทำข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ที่มีมากกว่าไทยเกือบ 3 เท่า ซึ่งทำให้เวียดนามมีความน่าดึงดูดกว่าไทยในฐานะการเป็นฐานส่งออกสินค้าอีกด้วย
มองไปข้างหน้า ศึกการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ อันเป็นการแข่งขันนัดชี้ชะตาระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ และนายโจ ไบเดน อาจเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของสงครามการค้า เพราะทั้งสองคนต่างมีนโยบายหาเสียงที่แตกต่างกัน โดยการตอบโต้ของทรัมป์เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นได้ ขณะที่นายไบเดนจะเน้นนโยบาย “Buy American” ซึ่งสนับสนุนให้ประชาชนชาวอเมริกันซื้อสินค้าที่ผลิตโดยคนอเมริกัน เพื่อแข่งขันทางการค้ากับจีนมากกว่าที่จะโจมตีทางการค้าโดยตรงผ่านมาตรการกีดกันทางภาษี
หากนายไบเดนมีชัยชนะในการเลือกตั้ง อาจส่งผลดีต่อการส่งออกของจีนและประเทศในกลุ่มห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงไทย มากกว่าโดยเปรียบเทียบกับนายทรัมป์ เนื่องจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายมากกว่า อีกทั้งสหรัฐฯ อาจเริ่มต้นพิจารณาเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP) อีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทย หากเข้าร่วมในข้อตกลงดังกล่าว เพราะจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการค้ากับประเทศที่อยู่ในความตกลงดังกล่าวมากขึ้น แม้จะมีข้อพึงระวังที่จำเป็นต้องเจรจาต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของไทยอยู่มากเช่นกัน
กลยุทธ์ของประเทศไทย ทำอย่างไรให้อยู่รอดและยั่งยืน?
ไม่ว่าการตอบโต้ทางการค้าและเทคโนโลยีเพื่อความเป็นมหาอำนาจในการกำหนดระเบียบโลกใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน จะออกมาในรูปแบบใดก็ตาม กลยุทธ์สำหรับประเทศขนาดเล็ก เช่น ประเทศไทย นอกเหนือจากการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความผันผวนในตลาดการเงินโลกแล้ว ควรมุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันและกระจายความเสี่ยงในมิติของเศรษฐกิจเช่นกัน ผ่านทั้งการพัฒนาทักษะแรงงานให้เท่าทันโลก อันจะเป็นฐานรากของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้จากการบริโภคในประเทศ รวมถึงการสร้างห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค (regionalization) มากขึ้น เพื่อรองรับโอกาสใหม่ๆ ที่อาจเกิดจากความขัดแย้ง
ระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่ที่ขยายวงกว้างขึ้นอีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนใหม่หรือการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งนอกจากจะช่วยถ่ายโอนความสามารถทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศและพัฒนาผู้ประกอบการไทยแล้ว ยังช่วยพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ที่จะทำให้ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนอย่างเช่นมาเลเซียและเวียดนาม ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลดีจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงที่หลายประเทศต้องใช้นโยบายทำงานที่บ้าน (Work From Home: WFH) ผนวกกับแนวโน้มความต้องการของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น แม้ว่าในปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลายในหลายประเทศทั่วโลก ผนวกกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังเข้มข้นและใกล้ได้ผลตัดสินเข้ามาทุกที ทำให้ดูเหมือนว่าสงครามระหว่างสองมหาอำนาจจะพักยกและห่างหายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์ไปบ้าง แต่เราไม่ควรชะล่าใจ เพราะความขัดแย้งนี้ไม่น่าจะจบลงโดยง่าย และเราควรก้าวข้ามจากการเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจ มาเป็น “การฟื้นฟูและพัฒนาความสามารถให้แข่งขันได้” เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว ไม่ว่าใครจะก้าวมาเป็นคนกำหนดระเบียบโลกต่อไป…
หมายเหตุ
1.สัดส่วนการส่งออกของสหรัฐฯ เคยทะยานขึ้นสูงสุดในช่วงประมาณกลางทศวรรษ 1940 คิดเป็นประมาณร้อยละ 40-45 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของโลก (ข้อมูลจาก The Changing World Order โดย Ray Dalio)
2.สกุลเงินที่ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ ยอมรับและถือครองเพื่อเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศและหนุนหลังสำหรับการออกใช้ธนบัตร
3.การส่งออก ณ สิ้นปี 2019 (ข้อมูลจาก Trade map)
Source: ThaiPublica

คลิก

------------------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact

230424 icm 100x33

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

XM

FCA, ASIC,IFSC,
CySec
1000 : 1 1 pips – Micro
1 pips – Standard

0 pips - Ultra low
$5 0.01 lots View Profile
Visit Website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"