เปิดหน้าตักแบงก์รับมือ ‘หนี้เสีย’ ธปท.หนุน ‘ตั้งการ์ดสูง’ ป้องกันวิกฤต

ช่วงเย็นวันที่ 19 มิ.ย. 2563 หลังตลาดหุ้นปิดทำการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศเรื่อง การเสริมสร้างเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 คีย์เวิร์ดสำคัญคือ การแจ้งให้ธนาคารพาณิชย์

1.จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและศักยภาพของลูกหนี้ในการทำธุรกิจภายหลังโควิด-19 คลี่คลาย 2.ให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานปี 2563 และห้ามซื้อหุ้นคืน เพื่อให้รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

และเวลาต่อมา ธปท.ก็ออกประกาศมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 เนื่องจากความกังวลว่า เมื่อสิ้นสุดมาตรการ “พักหนี้” เฟสแรกในช่วงกลางปีนี้ ลูกหนี้จะยังไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ และอาจทำให้เกิดวิกฤต “หนี้เสีย” (NPLs) ท่วมประเทศได้ ซึ่งมาตรการเฟส 2 มีทั้ง “พักหนี้-ลดดอกเบี้ย-เพิ่มวงเงิน” และที่สำคัญก็คือ ให้แบงก์-น็อนแบงก์ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเป็นการทั่วไป ให้กับลูกหนี้ทุกรายที่มีความประสงค์

ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า การที่ ธปท.สั่งห้ามแบงก์พาณิชย์จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เป็นความต้องการของนายแบงก์ เพื่อเป็นเกราะช่วยลดกระแสความไม่พอใจนักลงทุน ขณะที่เป็นการช่วยลดภาระแบงก์ในภาวะที่จะต้องมาทุ่มช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการเฟส 2 ของ ธปท.
ธปท.หนุนแบงก์ “ตั้งการ์ดสูง”
ขณะเดียวกันก็มีการวิเคราะห์ว่า ธปท.กำลังส่งสัญญาณว่า ปัญหาหนี้เสียกำลังลุกลามเกินคาดหรือไม่ แบงก์ชาติถึงจะต้องมาสั่งงดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดย นายวิรไท สันติประภพผู้ว่าการ ธปท. ก็ได้ออกมาอธิบายถึงความจำเป็นว่า ต้องให้แบงก์ “สร้างภูมิคุ้มกัน” ไว้รับมือโควิดที่ไม่รู้จะจบเมื่อใด

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า การเสริมสร้างเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากโควิด-19 ถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ให้แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนภาวะเศรษฐกิจ ทั้งก่อนและหลังโควิด-19 ซึ่งเป็นกันชนที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ฝากเงิน นักลงทุน และรักษาความยั่งยืนของระบบการเงิน

“จากการหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และตัวแทนธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอยากเห็นนโยบายกลางที่กำหนดชัดเจน โดยในหลาย ๆ ประเทศได้ดำเนินการไปแล้ว เพราะหากให้แบงก์แต่ละแห่งดำเนินการกันเองจะมีคำถามเกิดขึ้น จึงเป็นที่มาของมาตรการเชิงป้องกัน ซึ่งช่วงปลายปี 2562 ก่อนเกิดโรคระบาด ธปท.ได้ให้แบงก์ทำแผนการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) และภายในเดือน ก.ค.นี้ ธนาคารจะรายงานแผน stress test ภายใต้สมมุติฐานต่าง ๆ เข้ามา” นายรณดลกล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า “เอ็นพีแอล” จะเพิ่มไปอยู่ที่เท่าใด แต่แบงก์จะต้องประเมินลูกหนี้ในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง การมีเงินกองทุนยิ่งสูงจะยิ่งมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งมาตรการที่ทำ ธปท.ต้องการป้องกันมากกว่าแก้ไข เป็นการให้แบงก์ “ตั้งการ์ดสูง” ไว้ เพราะสถาบันการเงินถือเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ยันไม่ปล่อยหนี้เสียสูงเหมือนปี”40
“เรามีบทเรียนมาแล้ว จะไม่ปล่อยให้เอ็นพีแอลไปถึง 50% เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2540 เพราะครั้งนั้นปล่อยให้เหตุการณ์ลุกลาม ครั้งนี้จึงออกมาตรการเชิงป้องกันเพื่อดูแลฐานะแบงก์ให้เข้มแข็ง เป็นกันชนในอนาคต” นายรณดลกล่าว

ณ สิ้นเดือน เม.ย. 2563 ระบบแบงก์มี BIS อยู่ระดับ 18.7% ถือว่าอยู่ในระดับสูง และรองรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง โดยกรอบที่ ธปท.และธนาคารพาณิชย์หารือร่วมกัน BIS ที่สามารถรองรับสถานการณ์ได้คือ ที่ระดับ 11.5-12.5%

“หาก BIS ลดลงไปต่ำกว่า 8.5% ธปท.ก็ต้องเข้าไปดูว่าธนาคารพาณิชย์จะเสริมสร้าง BIS รูปแบบไหน อย่างเช่น การที่ให้งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และงดซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพคล่องและเงินกองทุนของธนาคาร รวมถึงธนาคารยังสามารถเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 โดยการเพิ่มทุน และเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 โดยการออกหุ้นกู้ เป็นต้น”

ฐานะแบงก์รับมือ NPL พุ่งได้อีก 10%
ด้าน นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ประเมินว่า ระดับเงินกองทุนจะช่วยรองรับผลกระทบกรณีเกิดหนี้เสีย ที่เพิ่มขึ้นได้ โดยถึงสิ้นเดือน เม.ย. 2563 ระบบแบงก์มีเงินกองทุนกว่า 2.9 ล้านล้านบาท หรือ BIS ratio ราว 19% ขณะที่เอ็นพีแอลไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ 4.96 แสนล้านบาท หรือ 3.05% ของสินเชื่อรวม

“ถ้าเอ็นพีแอลเพิ่มจาก 3.05% ไปอยู่ที่ 13% หรือเพิ่มขึ้นราว 10% ถึงจะทำให้เงินกองทุนลดระดับมาอยู่ที่ขั้นต่ำ 8.5% ซึ่งจากแนวนโยบาย ธปท.ในการดูแลระบบสถาบันการเงิน คิดว่าเอ็นพีแอลไม่น่าจะเพิ่มไปถึงขนาดนั้น น่าจะบริหารจัดการได้ และวิกฤตรอบนี้ สถาบันการเงินมีความแข็งแกร่งต่างจากในอดีต”

สำหรับการจ่ายเงินปันผลของระบบแบงก์ในปี 2562 รวมอยู่ที่ 7.8 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ธปท.น่าจะต้องการให้แบงก์เก็บสภาพคล่องไว้ เพื่อนำมาลงบัญชีเป็นเงินกองทุน แทนการจ่ายปันผลระหว่างกาล หรือซื้อหุ้นคืน ที่อาจจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะทำในช่วงนี้มากกว่า

“หนี้เสีย” ปัญหาใต้พรมรอปะทุ
ด้าน นายภาสกร หวังวิวัฒน์เจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส กล่าวว่า ประกาศของ ธปท.แสดงถึงความกังวลเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า จึงต้องการเสริมความแข็งแกร่งของอัตราส่วนเงินกองทุน แม้ว่าปัจจุบันเงินกองทุนแต่ละแบงก์จะแข็งแกร่งอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่ายังมีความเสี่ยงจากไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน

โดยแนวโน้มกำไรสุทธิงวดไตรมาส 2/63 ของกลุ่มธนาคารจะชะลอตัวลงอีก และในระยะถัดไป หุ้นกลุ่มแบงก์ยังมีความเสี่ยงจากรายได้ที่ปรับลดลง หลังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย และต้องติดตามว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกหรือไม่

สำหรับสถานการณ์หนี้เสีย นายภาสกรกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าตัวเลขหนี้เสียจะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ แต่จากข้อมูลของธนาคารกรุงไทย (KTB) ในกรณีที่ไม่มีมาตรการช่วยลูกหนี้ระยะที่ 2 ของ ธปท. แนวโน้มเอ็นพีแอลของระบบธนาคารพาณิชย์ปีนี้มีโอกาสปรับขึ้นไปที่ระดับ 7-9% จาก ณ สิ้นไตรมาส 1/63 ที่เอ็นพีแอลทั้งระบบอยู่ที่ 3.4%

“ปัจจุบันก็ยังประเมินได้ยากว่า ตัวเลขเอ็นพีแอลทั้งปีจะขึ้นไปอยู่ที่เท่าไหร่ เพราะ ธปท.ก็เพิ่งออกมาตรการช่วยลูกหนี้เฟส 2 ต้องใช้เวลาประเมินข้อมูลอีกครั้ง แต่หากคาดการณ์เป็นตัวเลขกลม ๆ มองว่า เอ็นพีแอลทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 4-5%” นายภาสกรกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไปยังมีปัจจัยลบที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้แก่คุณภาพสินทรัพย์ นอกจากการพักชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยวแล้ว ผลกระทบของวิกฤตไวรัสส่งผลให้จำนวนผู้ตกงานเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้ตกงานมีความเสี่ยงจะเป็นเอ็นพีแอลในระยะถัดไป

นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท.ในปัจจุบัน ยังเน้นการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเป็นหลัก ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงสินเชื่อธุรกิจที่ยังต้องติดตามความเสี่ยงในกรณีที่เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้

Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คลิก

-----------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"