“ดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์”

มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ดาบสองคมกระตุ้นเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญ? Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย วิเคราะห์ “ดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์” และมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน…ดาบสองคมของการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญ?

โดยระบุว่าเป็นที่ทราบดีว่า สถานการณ์ COVID-19 ได้สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจไปทั่วโลก ทำให้หลายประเทศต้องงัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ และที่เห็นชัดเจนคือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งสัญญาณถึงทิศทางดอกเบี้ยที่อาจคงอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปเป็นเวลานาน

ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยมักถูกนำมาใช้ในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว โดยมีส่วนกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือน หนุนการลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ระยะเริ่มต้นของการฟื้นตัวหลังเพิ่งผ่านพ้นวิกฤติ

แม้อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่เครื่องมือดังกล่าวอาจกลายเป็น “ดาบสองคม” แก่ระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ Krungthai COMPASS ได้ประเมิน 5 ข้อสังเกตที่มีโอกาสเกิดขึ้นท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบางเช่นนี้

ข้อสังเกตที่ 1: ทั่วโลกเสี่ยงติดกับดัก“สภาพคล่องล้น-หนี้ท่วม-ดอกเบี้ยต่ำยาวนาน”

ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสำคัญปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดวิกฤติ COVID-19 ธนาคารกลางสำคัญๆ หลายแห่งดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินผ่านการปรับลดดอกเบี้ยมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ได้ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย (FFR) เหลือเพียง 0.00-0.25% พร้อมส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ยไปจนถึงปี 2022

ขณะที่ธนาคารกลางจีนก็ตั้งเป้าปรับลดอัตราส่วนเงินฝากขั้นต่ำที่ธนาคารพาณิชย์ต้องถือเก็บไว้เป็นเงินสำรอง (RRR) ลง 50-100 bps. แก่ธนาคารขนาดกลางและใหญ่ รวมถึงปรับลดเพิ่มเติมแก่ธนาคารที่ถือหุ้นร่วมกัน (Joint-stock Bank) รวมถึงลดดอกเบี้ยแก่เงินสำรองส่วนเกิน ด้านธนาคารกลางเกาหลีใต้ก็ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับ 0.50% เช่นเดียวกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ได้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 3 ครั้งในปีนี้สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ส่วนสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นที่ไม่ได้ใช้การปรับลดดอกเบี้ยก็เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมาก

มาตรการทางการเงินที่ไม่ได้ใช้ในช่วงเวลาปกติ (Unconventional monetary policy) ถูกนำมาใช้เพื่อส่งผ่านกลไกนโยบายการทางเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (รูปที่ 1) โดยเฉพาะการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ หรือที่เรียกว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหลักทรัพย์อื่นแบบไม่จำกัดวงเงิน และสนับสนุนสภาพคล่องด้านเครดิตภายใต้กฎหมาย CARES Act.

ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปก็ได้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินภายใต้เงื่อนไขโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (TLTRO3) โครงการเงินกู้พิเศษ (PELTRO) และโครงการช่วยเหลือฉุกเฉินเยียวยาการระบาดของโรค (PEPP)

สำหรับธนาคารกลางญี่ปุ่นก็เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบไม่จำกัดวงเงินนับตั้งแต่เกิดวิกฤติ เพิ่มวงเงินชั่วคราวในการเข้าซื้อกองทุนรวมดัชนี (ETF) กองทุนอสังหาฯ (J-REITs) และตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นอื่นๆ เช่นเดียวกับ ธปท. ที่เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท รวมถึงจัดสรรเงินกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ผ่านสถาบันการเงิน

ทั่วโลกเสี่ยงติดกับดัก “สภาพคล่องล้น-หนี้ท่วม-ดอกเบี้ยต่ำยาวนาน” โดยการปรับลดดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ทำให้ทั่วโลกตกอยู่ในภาวะที่สภาพคล่องล้นตลาดจากความไม่สมดุลระหว่างดีมานด์และซัพพลายของปริมาณเงินในระบบ และเกิดการเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง

ทั้งนี้ ภายหลังจากใช้มาตรการ QE ครั้งแรกช่วงวิกฤติ Subprime ปี 2008 ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญกับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอย่างมหาศาลนับแต่นั้นเป็นต้นมา เช่น ญี่ปุ่น 237.13% สหรัฐฯ 106.91% และยุโรป 80.40% 1 นอกจากนี้ ยังพบว่า ทั้งยุโรปและญี่ปุ่นต้องใช้อัตราดอกเบี้ยที่ระดับศูนย์จนถึงติดลบต่อไป และยังไม่สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เลยจนถึงทุกวันนี้

ข้อสังเกตที่ 2: ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของสถาบันการเงินลดลง

ธนาคารพาณิชย์สูญเสียศักยภาพในการทำกำไรจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่น้อยลงเป็นหลัก สะท้อนจากรูปที่ 2 ซึ่งการลดลงของส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin: NIM) มักเกิดจากรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้ปรับตัวลดลงมากกว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจากดอกเบี้ยเงินฝาก กล่าวคือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำจนเข้าใกล้ศูนย์หรือแตะระดับติดลบ ย่อมส่งผลต่อรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่ารายจ่ายจากดอกเบี้ยเงินฝาก

ในขณะเดียวกัน ธนาคารกลับไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เนื่องจากต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการระยะเวลาครบกำหนด (Maturity Transformation) ระหว่างสินทรัพย์ (สินเชื่อและหนี้สิน) และหนี้สิน (เงินฝาก) จึงเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สมดุลของอายุระหว่างสินทรัพย์และหนี้สิน (Maturity Mismatch) สูงขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจะมีส่วนช่วยลดการกันสำรองหนี้สูญจากการบรรเทาภาระหนี้ให้แก่ผู้กู้ แต่อาจไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ในส่วนที่ขาดหายไป ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ต่อไป

ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สําคัญที่สุดของธนาคารพาณิชย์ จากการที่นักลงทุนประเมินความเสี่ยงของสินทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง (Underpricing of risk) จึงมักแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Search for Yields) จนทำให้มีแนวโน้มที่จะนําสินเชื่อที่ได้ไปลงทุนในโครงการที่เสี่ยงมากเกินไป หรือที่เรียกว่า Moral Hazard เช่นเดียวกับบริบทของธนาคารพาณิชย์ที่มีแรงจูงใจเพิ่มขึ้นที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ที่เคยมีประวัติผิดนัดชำระหนี้มาก่อน2 ซึ่งก็ยิ่งทำให้ความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย สะท้อนจากการเติบโตของ NPLs กลุ่มนี้สูงกว่า NPLs ทั้งระบบ (รูปที่ 3)

ข้อสังเกตที่ 3: ตลาดการเงินผันผวนรุนแรงขึ้น

ตลาดการเงินผันผวนมากขึ้นเมื่อผลตอบแทนในอนาคตยากที่จะคาดเดา การอุบัติของ COVID-19 รวมถึงประเด็นอื่นๆ อย่างสงครามราคาน้ำมัน และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทำให้ “ความไม่แน่นอน” เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนจากตลาดการเงินผันผวนอย่างหนักในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. ที่ผ่านมา ที่ดัชนีความผันผวนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (รูปที่ 4: ซ้าย) จากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรุนแรงทั่วโลก โดยเฉพาะดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั่วโลกที่ผันผวนและปรับตัวลดลงมากกว่า 10% YTD ขณะที่เงินทุนบางส่วนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ ซึ่งก็ทำให้ราคาทองคำ (Gold Spot) ดีดตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปีหรือทะลุ 1,700 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ และยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง

นักลงทุนมีโอกาสเผชิญผลขาดทุนจากพฤติกรรม Search for Yields ภาพรวมอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (รูปที่ 4: ขวา) โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2020 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 2 ปี และ 10 ปี ปรับตัวลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าอยู่ที่ 0.83% และ 1.28% เช่นเดียวกับหุ้นกู้ภาคเอกชนระดับ BBB+ ขึ้นไปที่ 2.33% ส่งผลให้เกิดการแสวงหาการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือเลือกเข้าลงทุนผิดจังหวะในยามที่ตลาดผันผวนอย่างหนัก ดังเช่นการลงทุนในตลาดหุ้น SET Index หลังการฟื้นตัวจากวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ในปี 2016 อัตราผลตอบแทนจากราคา (Price Return Index) ทั้งปีสูงถึงเกือบ 20% แต่หากเลือกเข้าลงทุนผิดจังหวะในช่วงเดือน ก.ย. 2016 กลับให้อัตราผลตอบแทนพลิกกลับมาติดลบได้ถึง 4.21%

ข้อสังเกตที่ 4: เงินทุนไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ หนุนเงินบาทผันผวนไปในทิศทางแข็งค่า

เม็ดเงินจากต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสินทรัพย์มีบทบาทต่อทิศทางฟันด์โฟลว์มากขึ้นในระยะหลัง เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยนับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา จาก 2% ของจีดีพีเป็นมากกว่า 6% ของจีดีพี โดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่ำที่อาจมีสัดส่วนสูงถึง 10% ของจีดีพี ทั้งนี้ การลงทุนระยะยาวอย่างเม็ดเงินจากการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) ของไทยกลับมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2012 เนื่องจากโครงสร้างการลงทุนของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากภาคการผลิตเป็นภาคบริการมากขึ้น3 รวมถึงศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนลดลงเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันกับที่สัดส่วนการลงทุนระยะสั้นอย่างการลงทุนในสินทรัพย์ (Portfolio Investment) กลับมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวในส่วนของเงินทุนจากต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็หมายรวมถึงบริบทของเสถียรภาพการเงินของไทยอย่างค่าเงินบาท

มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนจึงกลายเป็นเครื่องมือป้องกันความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยทั่วโลกทรงตัวในระดับต่ำเป็นเวลานาน การลงทุนในประเทศเกิดใหม่จึงกลายเป็นโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนสูงแก่นักลงทุน สะท้อนจากความผันผวนของผลตอบแทนในดัชนี MSCI Emerging Market Index และ JP Morgan Emerging Markets Bond Index ที่พุ่งสูงสุดในรอบหลายปีถึง 40.40% และ 29.55% ตามลำดับ4 (รูปที่ 5)

ในขณะเดียวกันกับที่สภาพคล่องส่วนเกินอย่างมหาศาลจากเม็ดเงินไหลเข้าจากต่างประเทศที่เข้ามายังตลาดเกิดใหม่ ก็ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตาม

นอกจากนี้ จากข้อมูล IMF (2011) ที่ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง (REER) และเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflows) ทั้งสิ้น 42 ประเทศ ยังพบว่า Portfolio Investment ซึ่งมีความผันผวนสูง ทำให้เกิดผลของอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่ามากที่สุด รองลงมาคือ Direct Investment และยังมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยต่ออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตลาดเกิดใหม่เทียบดอลลาร์ฯ5

จากรูปที่ 6 ได้ชี้ให้เห็นว่า ดัชนีอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างมีความผันผวน และบางส่วนมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ธนาคารกลางของประเทศเกิดใหม่หลายๆ แห่ง อาทิ จีน เกาหลีใต้ และไทย ต้องงัดมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเข้มงวด เพื่อลดความผันผวนในตลาดการเงินและชะลอการไหลออกของเงินทุนจากการเก็งกำไร

ข้อสังเกตที่ 5: ยิ่งดอกเบี้ยถูก ยิ่งทำให้ตลาดอสังหาฯ เสี่ยงเกิดภาวะฟองสบู่แตก

อัตราผลตอบแทนในตลาดอสังหาฯ มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะยามที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ แม้ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจจะชะลอตัวจนเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ตลาดเช่ายังถือว่าให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยการลงทุนในอสังหาฯ สามารถให้ผลตอบแทนในรูปแบบของค่าเช่าในระยะยาว (Rental Yield) ที่อยู่ที่ราว 5.00-5.80% ต่อปี6 เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.10-1.35%7 ยิ่งกว่านั้น ผู้ลงทุนยังมีโอกาสขายต่อสินทรัพย์ (Re-sale) เพื่อทำกำไรได้ในอนาคต (Capital Gain) ซึ่งให้ผลตอบแทนได้มากถึง 5.70-7.30% ต่อปี ก็ยิ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญให้นักลงทุนพุ่งเข้าหาตลาดอสังหาฯ เพื่อเข้าเก็งกำไรมากกว่าความต้องการที่อยู่อาศัยที่แท้จริง (Real Demand)

นอกจากนี้ ต้นทุนการกู้เงินจากสถาบันการเงินที่มักต่ำกว่าภาวะปกติ เช่น โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำคงที่ (Fixed rate) 3 ปีแรกของอายุสัญญา หรือแม้แต่กรณีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate) ก็ได้รับอานิสงส์จากการปรับลดดอกเบี้ยลงเช่นกัน โดยทุกการปรับลดดอกเบี้ยลง 1% จะทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนลดลงถึง 9% 8 ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายไปได้ค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ดี ธปท. ออกมาตรการ LTV เพื่อลดความร้อนแรงจากการเก็งกำไรของดีมานด์เทียม ที่ผ่านมา ธปท. ได้ออกมาตรการกำหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan-to-value: LTV) ในภาคอสังหาฯ มาแล้วถึง 5 ครั้ง เพื่อสกัดกั้นปัญหาฟองสบู่จากการเก็งกำไรและเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการมีบ้านหลังแรกสามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม โดยข้อมูลเผยแพร่ของ ธปท. ชี้ให้เห็นว่า ก่อนใช้มาตรการ LTV นับตั้งแต่ปี 2013 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2019 ราคาอสังหาฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาบ้านเดี่ยวพร้อมที่ดินเพิ่มขึ้น 3.90% ทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดิน 5.80% และอาคารชุด 5.80% แต่หลังบังคับใช้มาตรการ LTV ในช่วงไตรมาส 2-3 ของปี 2019 ก็พบว่าราคาที่อยู่อาศัยเติบโตชะลอลงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมที่กลับหดตัวถึง 0.50% ขณะเดียวกันกับที่จำนวนสัญญาที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระของสัญญาที่ 2 ขึ้นไปก็มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยในทุกระดับรายได้ (รูปที่ 8)

บทส่งท้าย

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปพร้อมกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินอื่นๆ ช่วยบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 โดยปกติแล้ว เมื่อเศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัว การปรับลดดอกเบี้ยจึงเปรียบเหมือนการ “ลดต้นทุน” แก่ภาคครัวเรือนและธุรกิจ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ

แต่ในส่วนของสถานการณ์ COVID-19 นั้น ได้ทำให้ดีมานด์โดยรวมอ่อนแอลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (Secular Stagnation) หรือเป็นเหมือนการ “แช่แข็ง” ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้หยุดลงชั่วขณะ กดดันให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งหลังการแพร่ระบาดนอกประเทศจีนไม่นาน ทำให้การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบด้าน จึงทำหน้าที่เสมือนการ “เติมเงิน” เข้าสู่ระบบและ “เสริมประสิทธิภาพ” ในการส่งผ่านเชิงนโยบายให้มีประสิทธิผลมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงจากเศรษฐกิจซบเซาระยะยาว จากอัตราเงินเฟ้อของไทยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำมายาวนาน ทำให้ต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการบริโภคและลงทุนเพิ่มขึ้น การลงทุนและการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง และท้ายที่สุดก็จะทำให้ผลผลิตมวลรวมในประเทศหดตัวและกลายเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อติดลบอย่างยาวนาน ซึ่งจะกลายเป็นประเด็นที่ยากจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาได้เช่นเดิม

ดังนั้น ธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องใช้การผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมรอบด้าน เพื่อส่งผ่านกลไกด้านนโยบาย ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมสภาพคล่องโดยรวม ทั้งยังเป็นการลดช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ หนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ในระยะต่อไป

“ดาบสองคม” ที่แท้จริงของการใช้นโยบายและมาตรการผ่อนคลายทางการเงินจึงอยู่ในรูปของความเสี่ยงเชิงระบบที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางบริบทของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ รวมถึงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินแบบ Unconventional อย่างการเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างดีมานด์และซัพพลายของปริมาณเงินในระบบอย่างมหาศาล ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนอย่างรุนแรงจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูงขึ้น และรับรู้ความเสี่ยงน้อยกว่าความเป็นจริง ซึ่งได้กลายเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ยังกลไกเสถียรภาพการเงินทั่วโลก ลุกลามไปยังภาคอสังหาฯ และอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจในที่สุด

อย่างไรก็ดี นโยบายและมาตรการทางการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษดังกล่าวก็ยังมีความจำเป็นในยามที่เศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงและเสถียรภาพการเงินเปราะบาง จนกว่าจะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนและแข็งแกร่ง

โดย พิมฉัตร เอกฉันท์

Source: ThaiPublica

คลิก

----------------------------------------
Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"