ภาวะเงินฝืดไทย...วันนี้มีไหม? เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ได้อ้างอิงนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อดังนี้ 1.อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period) 2.อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายๆ หมวดสินค้าและบริการ

3.การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย และ

4.อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบและอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

ทางแบงก์ชาติประเมินว่าหากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าวพบว่าอัตราเงินเฟ้อไทยติดลบมาเพียง 3 เดือน แม้ประมาณการล่าสุดของ ธปท.จะให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ติดลบ แต่ยังมองว่าปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ อีกทั้งเป็นการติดลบจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 5 ปีอยู่ที่ 1.8% ต่อปี ถือว่าใกล้เคียงกับกึ่งกลางของช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท.ที่ 1-3% ต่อปี จึงยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงินอย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึกหรือฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก

ผมขอแชร์ความเห็นในมุมมองวิชาการล้วนๆ สำหรับประเด็นภาวะเงินฝืดของไทย ดังนี้

โดยนอกเหนือจากอีซีบีที่เคยให้นิยามของภาวะเงินฝืดแบบชัดเจน ยังมีธนาคารกลางอีกน่าจะเพียงแห่งเดียวที่เคยให้นิยามว่าด้วยภาวะเงินฝืดแบบชัดเจน ได้แก่ ธนาคารกลางของไอซ์แลนด์ที่ต่อยอดงานศึกษาของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งศึกษาเรื่องภาวะอัตราเงินฝืดแบบละเอียดกว่า 35 ประเทศที่ครอบคลุมจีดีพีรวมกว่า 90% ของโลก อีกทั้งศึกษากลไกการส่งผ่านของภาวะเงินฝืดในเศรษฐกิจจีนอีกด้วย

ทั้งนี้ งานศึกษาของไอเอ็มเอฟนั้น สะท้อนภาวะเงินฝืดทั้งในมิติของระดับราคาโดยรวม ระดับผลผลิต อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ตัวแปรทางการเงินต่างๆ รวมถึงภาวะตลาดหุ้น และได้นิยามของภาวะอัตราเงินฝืดโดยแบ่งเป็น 11 ดัชนี ไว้ดังนี้

1.อัตราเงินเฟ้อแบบรายปี ซึ่งวัดโดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี CPI ต่ำกว่า 0.5% หรือไม่?

2.อัตราเงินเฟ้อแบบรายปี ซึ่งวัดโดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี GDP deflator ต่ำกว่า 0.5% หรือไม่?

3.อัตราเงินเฟ้อแบบรายปี ซึ่งวัดโดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนี Core CPI (ไม่รวมราคาพลังงาน) ต่ำกว่า 0.5% หรือไม่?

4.ผลต่างระหว่างอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบที่เกิดขึ้นจริงๆ กับอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบเต็มศักยภาพ (Potential GDP) ได้ถ่างกว้างขึ้นเกินกว่า 2% ในรอบ 4 ไตรมาสที่ผ่านมาหรือไม่?

5.ผลต่างระหว่างอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบที่เกิดขึ้นจริงๆ กับอัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบเต็มศักยภาพ (Potential GDP) ในขณะนี้ กว้างกว่า -2% หรือไม่?

6.อัตราการเติบโตของจีดีพีของเศรษฐกิจแบบที่ไม่คิดผลจากอัตราเงินเฟ้อ (Real GDP Growth) ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ Real GDP Growth ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาหรือไม่?

7.ดัชนีตลาดหุ้นของไทยในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ลดลงเกินกว่า 30% หรือไม่?

8.อัตราการแลกเปลี่ยนที่คำนึงถึงระดับราคาเฉลี่ยสินค้าของต่างประเทศและไทย (Real Effective Exchange Rate) แข็งค่ามากกว่า 4% ในรอบ 4 ไตรมาสที่ผ่านมาหรือไม่?

9.อัตราการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนต่ำกว่าอัตราการเติบโตของจีดีพี ในรอบ 4 ไตรมาสที่ผ่านมาหรือไม่?

10.อัตราการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนเมื่อคิดสะสมในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา เติบโตต่ำกว่า 10% หรือไม่?

11.อัตราการเติบโตของมาตรวัดปริมาณเงินแบบ M3 (เงินสดนอกแบงก์รวมกับเงินฝากทุกประเภท) เติบโตช้ากว่าปริมาณฐานเงิน base money (เงินสดนอกแบงก์รวมกับสำรองที่แบงก์พาณิชย์ฝากไว้ที่ธนาคารกลาง) เมื่อคิดแบบรายปี มากกว่า 2% หรือไม่เมื่อคิดย้อนหลังไป 8 ไตรมาสที่ผ่านมา? ทั้งนี้เมื่อได้วิเคราะห์ตัวเลขของประเทศไทยพบว่าเป็นดังนี้ (ตาราง)

โดยทางธนาคารไอซ์แลนด์และไอเอ็มเอฟได้นิยามว่า หากตัวเลขของเศรษฐกิจใดก็ตามที่ตอบคำถามข้างต้นว่า "ใช่" ตั้งแต่ 6 ข้อเป็นต้นไปเข้าข่ายว่าเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งของประเทศไทยตอบว่า "ใช่" อยู่ 7 ข้อ ซึ่งผมขอบอกว่าข้อที่ 6 นั้นตัวเลขที่คำนวณออกมาถือว่าใกล้เคียงกันมากระหว่างจะตอบว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" กระนั้นก็ดี ก็ยังต้องถือว่าหากอ้างอิงตามนิยามของธนาคารไอซ์แลนด์และไอเอ็มเอฟได้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้นแล้วในเศรษฐกิจไทย แต่ก็ต้องบอกว่าเกิดแบบเฉียดฉิว ทีนี้มาดูว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกสมัยที่นิยามนี้เกิดขึ้นมาใหม่ๆ ว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

ซึ่งผลปรากฏว่าประเทศไทยก็เฉียดๆ จะเกิดภาวะเงินฝืดเมื่อปี 2003 อยู่เหมือนกัน สำหรับการที่จะคิดกันต่อสำหรับมุมมองของนโยบายการเงินของไทยในอนาคตนั้น เมื่อมีบางนิยามที่ชี้ชัดออกมาว่าเมืองไทยก็น่าจะเสี่ยงเกิดภาวะเงินฝืดอยู่เหมือนกันคงอาจต้องมีการเตรียมการเผื่อนโยบายการเงินแบบที่เป็นยาแรงไว้กระตุ้นเอาไว้ใน Menu List สักหน่อยก็ถือว่าน่าจะไม่เลวเหมือนกันครับ

โดย ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ
มุมคิดธนกิจ

Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

คลิก

Cr.Bank of Thailand Scholarship Students

เพิ่มเพื่อนรับข่าวสารตลาดหุ้น Forex และบทความดีๆ ด้านการเงิน การลงทุน ฟรี !!
http://line.me/ti/p/%40zhq5011b 

Line ID:@fxhanuman
Web : https://www.fxhanuman.com
Web : https://www.eluforex.com/
FB:https://www.facebook.com/review.forex.broker/

เยี่ยมชม partner ของเราที่ Eluforex รีวิวโบรกเกอร์ Forex

#forex #ลงทุน #peppers #xm #fbs #exness #uag #icmarkets #avatrade #fxtm #tickmill #fxpro #fxopen #fxcl #forex3d #forex4you

170225DGS 5208 FX Hanuman Media Buying Banners 843150 TH    

Broker Name Regulation Max Leverage Lowest Spreads Minimum Deposit Minimal Lot Contact
221124 trive logo 100x33px

Trive

FCA, ASIC, FSC 2000:1

0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard

$20 0.01 lot

View Profile

Visits website

121224 ebc forex logo 100x33EBC

FCA ,ASIC, CYAMAN 1000 : 1 1.1 pips - STD
0 pips - Pro
$50 0.01 lots View Profile
Visit Website
020125 eightcap 100x33eightcap  ASIC, FCA, SCB, CySec  500 : 1
1.0 Pips -STD
0.0 Pips - Raw
1.0 Pips - TradingView
$20   0.01 lots

View Profile

Visits website

 

180225 logo fpmarkets 100x33

Fpmarkets

ASIC, CySec  500 : 1

ECN 0.0 Pips
Standard 1.0 Pips

$100 0.01 lots

View Profile

Visits website

http://forex4you.com

Forex4you

FSC of BVI 1000 : 1

0.1 pips - Cent
0.1 pips - Classic
0.1 pips - STP

$1 

0.0001 lot Cent
0.01 lot Classic
0.01 lot STP

Visit website
View Profile

Doo Prime

SEC, FINRA, FCA, ASIC, FSA, FSC 500 : 1 0.1 pips $100 0.01 lots View Profile
Visit Website

 Exness 

CySEC, FCA Unli : 1  Stand
Unli : 1 Raw   
Unli : Zero
0.3 pips – Stand
0 pips – Raw
0 pips – Zero
$1 0.01 lot  Stand
0.01 lot  Raw
0.01 lot  Zero
View Profile
Visit Website

HFMarkets

SV, CySEC, DFSA, FCA, FSCA, FSA, CMA 2000 : 1  0.0 pips $5 0.01 lot View Profile
Visit Website

GMIEDGE

 FCA, VFSC 2000:1 0.1 Pips  $2.5  0.01 lot View Profile
Visit Website

150702 icmarkets logo

IC Markets

ASIC, FSA, CYSEC 1000:1 0.0 pips -ECN
0.5 pips - Standard
$10 0.01 lot

View Profile

Visit website

BDSwiss

FSC, FSA 1000 : 1 1.5 pips - Classic
1.1 pips - VIP
0.0 pips - RAW
$10 0.01 lots View Profile
Visit Website

Pepperstone

ASIC,SCB,CYSEC,DFSA,

FCA, BaFIN, CMA,

200 : 1 1 pips - Stand
0.1 pips - Razor
1 pips - No Swap
0 Pips - Active Trade
0 0.01 lot View Profile
Visit Website

TICKMILL

FCA 500:1 1.6 pips $25 0.01 lot View Profile
Visit website
290318 atfx logoATFX FCA, CySEC 200 : 1 1.8 pips $100 0.01 lot View Profile
Visit Website
170803 roboforex logoRoboForex CySEC, IFSC 2000:1 0.4 pips $10 0.01 lot View Profile
Visit Websit

www.fxclearing.com
FXCL Markets

IFSC 500 : 1

1 pips - Micro
1 pips - Mini
0.6 pips - ECN Li
0.8 pips - ECN Inta
1 pips - ECN Sca

$1 0.01 lot View Profile
Visit website

 

AxiTrader

FCA, ASIC, FSP, DFSA 400 : 1  0.0 pips $1 0.01 lot all View Profile
Visit website

http://www.fxprimus.com

FXPRIMUS

CySEC 500 : 1 2 pips - Mini
0.8 pips - Stand
0 pips - ECN
$100 0.01 lot all View Profile
Visit Website

FXTM

CySec ,FCA,IFSC 1000 : 1

0.0 pips - ECN

0.1 pips -Stan

$1 0.01 lot View Profile
Visit Website

AETOS.COM

AETOS

FCA, ASIC, VFSC, CIMA up to 800

Genneral 1.8 pip
Advance 1.2 pip
Pro 0.0 pip

$50
$50
$20,000

0.01 lot View Profile
Visit website

EIGHTCAP

ASIC 500 : 1 0.0 pips  $100 0.01 lot

View Profile

Visit website

 

Fullerton

SFP, NZBN 200 : 1 0.5 pips - Live $200 0.01 lot View Profile
Visit Website

FxPro

CySEC, FCA
FSB, MiFID
500 : 1
Max
0.6 pips  $100 0.01 lot View Profile
Visit Website

INFINOX

 FCA, SCB 400 : 1 0.0 pips $10 0.01 lot  View Profila
Visit Website

VT markets

CIMA, ASIC 500 : 1 0.0 pips $200 0.01 lot  View Profila
Visit Website

TMGM

ASIC 500 : 1 0.0 pips $100 0.01 lot  View Profila
Visit Website

020422 zfx logo

ZFX

FCA, FSA 2000 : 1 0.0 pips

$15

0.01 lot  View Profila
Visit Website

 

ดูตารางเปรียบเทียบโบรกเกอร์ทั้งหมด คลิก

 

 

 

 

 

"การแจ้งเตือนเรื่องความเสี่ยง: การเทรด Forex หรือ CFD และตราสารอนุพันธ์อื่นๆ นั้นผันผวนสูงและมีความเสี่ยงสูง คุณควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวัตถุประสงค์การซื้อขาย ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ความสูญเสียจะสูงเกินกว่าเงินลงทุนของคุณ คุณควรลงทุนในระดับที่สามารถรับความสูญเสียได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดและใช้ความระมัดระวังในการจัดการความเสี่ยงของคุณ"